อิทธิพลล้นเหลือ สื่อสารดิจิทัล


ทางเข้าเล็ก แต่พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล

       ปัจจุบัน กระแส “นวัตกรรม” (Innovation) นับเป็นกระแสหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงคลื่นลูกที่สามอย่างสะบั้นหั่นแหลก นวัตกรรม อาจจะไม่ใช่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของคนเสมอไป แต่ยังอาจจะหมายถึง การนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นวัตกรรมจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจในทุกวงการ

      Social Network หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ พื้นที่เปิดกว้างสำหรับผู้คนให้สามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทนี้ที่เป็น Social Network กำลังมาแรง คือ Facebook Hi5 หรือ Gotoknow เป็นต้น

 

        Social Network อาจจะถือได้ว่าเป็น นวัตกรรมการสื่อสารยุคใหม่ หรือ การสื่อสารดิจิทัลที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน ยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเฟื่องฟู เติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด เป็นสื่อที่มีบทบาทต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือาจจะเรียกว่ารอบด้านก็เป็นได้ และยังถือเป็นเรื่องใหม่ของการถามหาจรรยาบรรณในการแสดงออกทางคิดอย่างอิสระเสรี โดยปราศจากการตรวจสอบ คัดกรอง แม้ว่า ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2550 ประกาศใช้แล้วก็ตาม

        ดังจะเห็นได้จากมุมมองสะท้องถึงการแสดงออกผ่านชุมชนเครือข่ายออนไลน์ในทางการเมืองอย่างกลุ่มต่อต้านการยุบสภาใน Facebook

        สัญญาณที่บ่งชี้ถึงความเฟื่องฟุ้งของสื่อดิจิทัล ปรากฎอย่างแจ่มชัดจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคมและสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2553 ที่แสดงออกถึงพลังอำนาจและบทบาทของสื่อดิจิทัลอย่างชัดเจน นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผ่าน Twitter และ Facebook หรือถ้อยแถลงการณ์ต่างของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่มีต่อสถานการณืบ้านเมือง และบรรดานักการเมืองในสังกัดต่างอาศัยช่องทางดังกล่าวเป็นกระบอกเสียงสู่ชนชั้นกลางที่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

        หากจะวัดความเติบโตของสื่อดิจิทัล 2010 สามารถวัดได้จากเหตุการณ์ทางการเมืองได้เป็นอย่างดี เมื่อปี พ.ศ.2552 เดือนเมษายน เสื้อแดงชุมนุมประท้วง ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านที่มาจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ อีนผิดแผกจากปี พ.ศ.2553 เวลาผ่านไปเพียง 365 วัน เดือนเมษายน 2553 กลับปรากฏขึ้นของกลุ่มต่อต้านเสื้อแดงที่ชื่อ กลุ่ม Facebook ต่อต้านการยุบสภา หรือแม้แต่การติดตามบทพูดสุนทรพจน์อันกิจใจของพงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง ผ่านทาง Youtube หรือแม้แต่การต่อต้านเด็กหญิง นามว่า “ก้านธูป”เด็กน้อยที่บังอาจจาบจ้วง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายอาญาแผ่นดิน จนนำไปสู่การหมดอนาคตในการศึกษา ณ สองมหาวิทยาลัชื่อดังที่ปฏิเสธจะรับเธอเข้าเรียน

         เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง นวัตกรรมการสื่อสารที่ผันแปรตามสภาวการณ์ของโลก อิทธิพลของการสื่อสารที่เป็นจะต้องใช้ดุลยพินิจส่วนตัว วิจารณญาณ การยับยั่งชั่งใจ ความคิดเพื่อพิจารณาถึงความแน่นอน ความน่าเชื่อถือของสารที่แต่ละท่านจะได้รับ

         แม้แต่บทความนี้ ท่านยังต้องใช้วิจารณญาณในการเชื่อว่า จริงหรือไม่จริง เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตท่านเอง

หมายเลขบันทึก: 361294เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของคนใช้สื่อค่ะว่าจะใช้ให้มีคุณหรือมีโทษ เหมือนมีด จะใช้ทำอาหารให้คนกิน หรือเอามีดไปฆ่าคนอื่น

ทุกอย่างมีคุณและโทษในตัวของมันเอง

เราต้องใช้ดุลยพินิจในการบริโภคค่ะ

แต่สำหรับ G2K เป็นสังคมออนไลท์ที่ดีมากทำให้เราได้มิตรภาพจากเพื่อนแดนไกลเพิ่มขึ้นอีกหลายคนดีใจที่ทำให้บี๋ได้รู้จักคุณสุดปฐพีและครอบครัวค่ะ :-)

สวัสดีค่ะคุณสุดปฐพี นั่นซินะ จริง หรือ ไม่จริง ก็ ไม่อาจทราบได้ แล้วแต่ใครจะคิดไปทางไหน คิดไปทางดีก็ดีไป คิดไปทางร้ายกร้ายไป แล้วแต่บุญหรือกรรมของแต่ละคน

Social Network จะช่วยสังคมไม่ให้ล่มสลาย ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท