ภาพวาดแห่งความหวัง (4) KM ดาวกระจายขององค์กร


   ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาของปี 2553 มีชิ้นงานหลายชิ้นที่ได้ดำเนินการแล้วนำกลับมาทบทวนผลที่เกิดขึ้น มีข้อคิดหลายอย่างให้ต้องนำมาขบคิด มาค้นหาคำตอบของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น การเคลื่อนไหวของ "การจัดการความรู้ ของกรมส่งเสริมการเกษตร" เวลานี้นั้นอยู่ตรงจุดไหนกันแน่?

   ก็ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า "ตัวเราเอง...จะเกิดความฉุกคิดของเนื้อความตรงนี้ได้" เพราะที่ผ่านมาเราคงต้องวิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการมาเกี่ยวกับ 1) วิธีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้เครื่องมือ KM ในการทำงานของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อดูผลงานที่เกิดขึ้น และ 2) ความต้องการที่แท้จริงของการทำงานส่งเสริมการเกษตร กับการใช้เครื่องมือ KM นั้นต้องการผลอะไรบ้าง

   จาก 2 สิ่งดังกล่าวจึงเป็นองค์ประกอบที่ต้องคิดหนัก เก็บข้อมูลรายละเอียดมาวิเคราะห์เชิงลึกถึงเหตุและผล สุดท้ายจึงออกมาเป็นคำตอบของ "การกระจายวิธีการปฏิบัติงาน" ให้กับหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้องานนั้น ๆ คือ

   เรื่องที่ 1 เนื้องานที่นำมาเป็นกิจกรรมขององค์ความรู้ ให้หน่วยงานเจ้าของภารกิจเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดบมอบผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้ทั้งหมด

   เรื่องที่ 2 เวทีการเรียนรู้ที่ใช้ดูแลกลุ่มลูกค้าหลักในการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ก็ให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 6 เขต เป็นผู้ดูแลสำนักงานเกษตรจังหวัดภายในเขตของตนเอง

   เรื่องที่ 3 การจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ก็ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นผู้จัดเก็บและใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

   เรื่องที่ 4 การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานในการใช้เครื่องมือ KM ของทุกหน่วยงานย่อยในกรมส่งเสริมการเกษตร ก็จัดแบ่งคณะทำงานการบริหารองค์ความรู้ ออกเป็นชุดย่อย ๆ ตามความสนใจและความชำนาญการ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์

   เรื่องที่ 5 การประสาน เชื่อมโยงงานกับแต่ละหน่วยงาน ก็นำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาใช้ให้มากขึ้น โดยคนแรกที่ต้องรู้งาน และเข้าใจการปฏิบัติก็คือ คณะทำงานการบริหารองค์ความรู้ และเจ้าหน้าที่ผูรับผิดชอบ KM ของหน่วยงานย่อย

   การจับตามองความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจึงกระจายไปสู่กลุ่มบุคคลเป้าหมายกลุ่มแรกก็คือ เจ้าหน้าที่ที่เข้าใจ KM เพื่อจะได้ช่วยสื่อสารและอธิบายเครื่องมือดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆได้ชัดเจนขึ้น และเป้าหมายที่สองก็คือ การเรียนรู้ทักษะการใช้เครื่องมือ KM กับการทำงาน ก็ให้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มคือ

     1) ปรึกษาหารือ/สนทนา

     2) นำกลับไปปฏิบัติ(แยกย้ายกันทำงาน)

     3) แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองทำ

     4) สรุปและบันทึกผล 

   ดังนั้น ความหวังของการจัดการความรู้ ที่นึกไว้และคงจะได้เห็นก็คือ 1) มีการรวมพล...คน KM เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร  2) มีตัวอย่างผลงานของเจ้าหน้าที่และตัวอย่างผลงานของเกษตรกรที่ได้รับการบันทึก เพื่อพร้อมสำหรับนำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ได้ชัดเจน  และ 3) มีการกระจายผลการจัดเก็บผลงานส่งเสริมการเกษตร ที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานที่จัดเก็บเป็นเจ้าของผลงานนั้น ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 361257เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท