หน้าที่ของคนดี (คฤหัสถ์ - ผู้ครองเรือน)


ธรรมะสำหรับคฤหัสถ์ 10 ประการ

คฤหัสน์ หมายถึง คนทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งเรียกว่าฆราวาสเป็นผู้ครองเรือน จะมีคู่หรือไม่มีคู่ก็ดี และเรียกว่า กุลบุตร กุลธิดา เป็นลูกชายลูกสาวของตระกูลก็ดี หรือกำหนดง่าย ๆ ว่าคนไม่ใช่นักบวช ล้วนอยู่ในความหมายของคำว่า " คฤหัสถ์ " ทั้งสิ้น

    คฤหัสน์ต้องบำเพ็ญคุณธรรมเป็นการสร้างตนให้เป็นหลักเป็นฐาน ด้วยธรรมะสำหรับคฤหัสน์ 10  ประการ

    1. สัจจะ  ความจริง ได้แก่ จริงต่อหน้าที่การงาน จริงต่อวาจา จริงต่อเวลา และจริงต่อบุคคล

    2. ทมะ  รู้จักข่มใจ บังคับฝืนใจตนเองให้ทำแต่ความดีตลอดไป ไม่ให้ใจคิดเบื่อหน่ายท้อถอยออกนอกทาง

    3. ขันติ   อดทนต่อสู้อุปสรรคทุกอย่างที่เกิดขึ้นขัดขวางการงานนั้น ๆ

    4. จาคะ   สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่จิตใจ

    5. พยายามแสวงหาพัสดุที่หายไป   เพราะเมื่อสิ่งใดหายไป เราเพิกเฉยเสียไม่ติดตามแสวงหากลับมา สิ่งนั้นและสิ่งอื่นก็จะหายไปจนหมด

    6. หมั่นบูรณะซ่อมแซมของเก่า เช่น เรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้สอยใด ๆ ที่ทรุดโทรมคร่ำคร่าไป ต้องคอยบูรณะและเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเสมอ

    7. ต้องรู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ  ต้องรู้จักกิน รู้จักใช้แต่พอควร ถ้าคฤหัสน์ไม่รู้จักกินไม่รู้จักใช้แล้ว จะถึงความพินาศฉิบหายโดยง่าย

    8. พยายามรักษาศีลห้าเป็นประจำตลอดชีวิต เมื่อรักษาศีลได้เป็นประจำ ก็เหมือนหนึ่งมีความสวัสดิมงคลอยู่กับตัวตลอดชีวิต

    9. คฤหัสถ์จะต้องปฏิบัติต่อนักบวช  สมณพราหมณ์ นักบวชสมณพราหมณ์นี้ เป็นอุดมเพศ เป็นเพศที่สูงและประเสริฐ เราผู้เป็นคฤหัสถ์จึงควรบำรุงท่าน

    10. พระราชาก็ดี ข้าราชการ ผู้กระทำงานแทนต่าง พระเนตรพระกรรณก็ดี เป็นผู้มีบุญคุณต่อประชาชนพลเมืองเป็นอันมาก คฤหัสถ์จึงควรจะตอบแทนบุญคุณของท่าน

ที่มา: หนังสือที่เป็นเข็มทิศชีวิตเพื่อความสำเร็จ หน้าที่ของคน โดย พระสุธรรมเมธี (เขมกะ ผู้ก่อตั้งธรรมสภา)   

หมายเลขบันทึก: 360633เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท