สภามหาวิทยาลัย 32 : หน้าที่รังสรรค์ (Generative)


สภามหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่กำกับดูแล 3 แนวไปพร้อม ๆ กันคือ แนวที่ 1 (Type I Governance) เน้นการสร้างความไว้วางใจต่อสังคม แนวที่ 2 (Type II Governance) เน้นยุทธศาสตร์และแนวที่ 3 (Type III Governance) เน้นการคิดเชิงรังสรรค์ สร้างสรรค์ (Generative Thinking)

- สภามหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่กำกับดูแล 3 แนวไปพร้อม ๆ กันคือ  แนวที่ 1 (Type I Governance) เน้นการสร้างความไว้วางใจต่อสังคม   แนวที่ 2 (Type II Governance) เน้นยุทธศาสตร์และแนวที่ 3 (Type III Governance) เน้นการคิดเชิงรังสรรค์  สร้างสรรค์ (Generative Thinking)
- เปรียบเทียบการทำหน้าที่บอร์ดทั้ง 3 แนวได้ดังนี้

ลำดับ                                                    แนวที่ 1 (Fiduciary)
ธรรมชาติขององค์กร                             Bureaucratic
ธรรมชาติของภาวะผู้นำ                        เป็นลำดับชั้น
ปณิธานหลักของบอร์ด           stewardship ต่อสินทรัพย์ที่จับต้องได้
ภารกิจหลักของบอร์ด             ทางเทคนิค : กำกับการดำเนินการ, 

                                                สร้างความมั่นใจว่ามีการตรวจสอบ
บทบาทหลักของบอร์ด                           การ์ด
คำถามหลัก                                    มีอะไรผิดพลาดบ้าง
ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้อง                                 ค้นหา
วิธีการประชุม                           แบบสภา  เน้นความมีระเบียบ
วิธีตัดสินใจ                                          มีการลงมติ
วิธีรู้                                                         มีเหตุผล
การสื่อสารกับวงการ                จำกัด  มีพิธีรีตอง  เป็นไปตามกติกา
ตัววัดสมรรถนะ                              ตัวเลข,  การเงิน,  รายงาน


                                                      แนวที่ 2 (Strategic)
ธรรมชาติขององค์กร                      Open System
ธรรมชาติของภาวะผู้นำ                วิเคราะห์มองการณ์ไกล
ปณิธานหลักของบอร์ด          เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับฝ่ายบริหาร
ภารกิจหลักของบอร์ด                  วิเคราะห์ : พัฒนายุทธศาสตร์, 

                                                     ประเมินสมรรถนะ
บทบาทหลักของบอร์ด                     นักยุทธศาสตร์
คำถามหลัก                                        แผนคืออะไร
ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้อง                                 แก้ไข
วิธีการประชุม                                มีหลักฐาน  มีเหตุผล
วิธีตัดสินใจ                                            มีฉันทามติ
วิธีรู้                                              ทุกชิ้นส่วนเข้าที่เข้าทาง
การสื่อสารกับวงการ        สองทาง,  เป็นครั้งคราวเพื่อสร้างการยอมรับ
ตัววัดสมรรถนะ                    ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์,  การวิเคราะห์

                                                  ความสามารถในการแข่งขัน

                                                   แนวที่ 3 (Generative)
ธรรมชาติขององค์กร                     Nonrational
ธรรมชาติของภาวะผู้นำ                ทบทวน  เรียนรู้
ปณิธานหลักของบอร์ด              เป็นแหล่งภาวะผู้นำขององค์กร
ภารกิจหลักของบอร์ด      สร้างสรรค์ : ทำความเข้าใจปัญหา,  เน้นการ

                                        สร้างความหมาย
บทบาทหลักของบอร์ด                 นักสร้างความหมาย
คำถามหลัก                                     คำถามคืออะไร
ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้อง                                ตีกรอบ
วิธีการประชุม                       เอาจริงเอาจัง  และบางครั้งสนุกสนาน
วิธีตัดสินใจ                                       ดิ้นรนและฉวย
วิธีรู้                                                    มีความหมาย
การสื่อสารกับวงการ                หลายทาง,  ต่อเนื่องเพื่อเรียนรู้
ตัววัดสมรรถนะ                  สัญญาณของการเรียนรู้และความสามารถ

                                          ในการแยกแยะ

- หน้าที่รังสรรค์ (Generative Mode) สรุปได้ดังนี้
(1) มีมุมมองต่อองค์กรแตกต่างออกไปจากมุมมองทั่วไป   องค์กรไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงและตามเหตุผลเสมอไป   ไม่ได้เดินตามขั้นตอนจากวิสัยทัศน์สู่พันธกิจ  สู่เป้าหมาย  สู่ยุทธศาสตร์  สู่การดำเนินการ
(2) นิยามของคำว่า "ภาวะผู้นำ" แตกต่างจากมุมมองทั่วไป   ผุ้นำทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถเผชิญปัญหาที่ซับซ้อน   และเกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงคุณค่าที่กำหนดคำตอบและการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
(3) มี "ทิฐิ" (mindset) ที่แตกต่าง   คือก้าวข้ามการทำหน้าที่เชิงสร้างความไว้วางใจต่อสังคมและหน้าที่เชิงยุทธศาสตร์ไปสู่การทำหน้าที่เชิงภาวะผู้นำ
(4) แสดงบทบาทที่แตกต่าง   บอร์ดเป็นสินทรัพย์เชิงเพิ่มคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร
(5) มีวิธีคิดที่แตกต่าง   บอร์ดมีบรรยากาศที่สนุกสนานทางปัญญา   มีการคิดสิ่งใหม่ ๆ และในขณะเดียวกันก็มีเหตุผล   และคิดเชิงเส้นตรง   กล่าวง่าย ๆ บอร์ดคิดแบบไม่เป็นเส้นตรงและคิดแบบเป็นเส้นตรงในเวลาเดียวกัน
(6) มีมุมมองต่องานที่แตกต่าง   บอร์ดจับประเด็นที่เป็น "higher order",  ประเมินงานเชิงเทคนิค,  และถามคำถามเชิงยั่วยุมากกว่าคำถามเชิงดำเนินการ
(7) มีวิธีปฏิบัติงานที่แตกต่าง   บอร์ดประชุมในรูปแบบคล้าย ๆ retreat,  ประชุมทีม,  ประชุมถกเถียงกันมากกว่าการประชุมอย่างเป็นทางการ   บอร์ดทำงาน ณ ชายขอบขององค์กร   ทำหน้าที่อันหลากหลายเกี่ยวกับการเรียนรู้ขององค์กร

         ผมมีข้อสงสัยตลอดมาว่า   สภามหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ครอบคลุมทั้ง 3 แนวไปสู่การเป็น Generative Governance นั้นจะแบ่งหน้าที่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับฝ่ายบริหารอย่างไร   ผมได้คำตอบว่าฝ่ายบริหารโดยเฉพาะอธิการบดีนั้นเสมือนนั่งอยู่ที่ศูนย์กลางขององค์กร   แต่สภามหาวิทยาลัยแนว Generative Governance ต้องนั่งอยู่ที่ขอบขององค์กร   เป็น "คนชายขอบ" ที่ไม่ใช่ถูกผลักออกไปที่ชายขอบ   แต่จงใจนั่งอยู่ตรงนั้นเพื่อระวังระไวองค์กร   ทำหน้าที่คล้ายยามบนเชิงเทิน   มองเข้ามาข้างในองค์กรว่าอยู่กันอย่างมีสติหรือเปล่าว่าอันตรายมีอยู่รอบด้าน   และมองออกไปนอกองค์กรเพื่อดูว่าสถานการณ์ภายนอกที่เป็นโอกาสและเป็นอันตรายต่อองค์กรมีอะไรบ้าง

         แล้วตีความหมายของสิ่งที่เห็น   และส่งเสียงเตือน   เป็นบอร์ดที่ทำงานไม่ใช่แค่ประชุม

วิจารณ์  พานิช
 20 มิ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 36056เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น
นายประสิทธิ์ ตันมี

รูปแบบการพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้ SBM ควรมีรูแบบอย่างไร ได้บ้าง ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท