ต้นธารแห่งศรัธทา
นิติกรชำนาญการ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ (ปัจจุบัน) อรอนงค์ ต้นธารแห่งศรัธทา นิลธจิตรัตน์

อนุสัญญาแฟ็กเตอริ่งระหว่างประเทศ UNIDROIT Conventions International Factoring (Ottawa, 28 May 1988


แฟ็กเตอริ่ง UNIDROIT Conventions International Factoring

อนุสัญญาแฟ็กเตอริ่งระหว่างประเทศ

UNIDROIT Conventions International Factoring (Ottawa, 28 May 1988)[1]

เกี่ยวพันกับ ปพพ.เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องและร่าง พรบ.แฟ็กเตอริ่ง พ.ศ. ...

ตอน 1

เรียบเรียงและศึกษาโดยนางสาวอรอนงค์ นิลธจิตรัตน์

 

1.ภูมิหลัง

          UNIDROIT ย่อมาจาก INTERNATIONAL INSTITUTE FOR THE UNIFICATION OF PRIVATE LAW หรือ INSTITUT INTERNATIONAL POUR L'UNIFICATION DU DROIT PRIVE เป็นองค์การหนึ่งขององค์การ ปฏิรูปกฎหมาย[2] ระหว่างประเทศ เรียกว่า สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความเป็นเอกภาพของกฎหมายเอกชนซึ่งมีบทบาทในการจัดทำและพัฒนากฎหมายเอกชนให้เป็น เอกภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหลักการอ้างอิง ในการใช้กฎหมายที่ชัดเจนและทันสมัยว่า จะยึดกฎหมายของประเทศใดเป็นหลักในกรณีที่เกี่ยวกับกฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเกี่ยวพันระหว่างประเทศ จึงต้องมีการศึกษาพัฒนากฎหมายเอกชนของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องทันสมัยเป็นเอกภาพเดียวกันโดยเฉพาะกฎหมายการค้าการพาณิชย์ระหว่างประเทศทั้งนี้เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของกฎหมายในของแต่ละประเทศ There are currently 61 Members of UNIDROIT which represent various legal, economic, and political systems and cultural backgrounds. ขณะนี้ UNIDROIT มีสมาชิก 63 ประเทศแล้ว ไทยยังมิได้เป็นสมาชิก [3]

 

 2. ความเป็นมา

          อนุสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อขึ้นมาเพื่อรองรับหลักของการประกอบธุรกิจแฟ็คเตอริ่งระหว่างประเทศเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคด้านกฎหมายเพื่อให้การทำธุรกิจแฟ็กเตอริ่งสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นเพราะยังมีความแตกต่างเรื่องการบังคับใช้กฎหมายของแต่ละประเทศในหลักการโอนสิทธิเรียกร้องในการดำเนินธุรกรรมฉบับนี้อนุสัญญาฉบับนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีหลักการเดียวกันโดยอนุสัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือต้องมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือแก่ลูกหนี้จึงถือว่ามีผลเป็นการให้ความสำคัญแก่หลักการคุ้มครองลูกหนี้เช่นเดียวกันกับอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ แต่หลักในอนุสัญญาฯดังกล่าวมีนิยามที่กว้างขวางกว่าอนุสัญญาแฟกเตอริ่งในทางกลับกันอนุสัญญาแฟกเตอริ่งจะซับซ้อนกว่าอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินฯ และ ปพพ.

 

3. ความหมายของคำว่า สัญญาแฟ็กเตอริ่ง

ตาม Article 1 -2 ได้ให้ความหมายของสัญญาแฟ็กเตอริ่งไว้ว่า เพื่อวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ “สัญญาแฟ็กเตอริ่ง” หมายถึง สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ขายบัญชี”(the supplier)และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “แฟ็กเตอร์” (the factor)[4]

4. ขอบเขตการบังคับใช้

 

                พิจารณาจาก CHAPTER I - SPHERE OF APPLICATION AND GENERAL PROVISIONS

Article 1 -2  (a) และ (b) แล้ว สามารถทราบได้ว่า อนุสัญญาได้กล่าวถึงขอบเขตการใช้บังคับไว้ดังนี้

(1)..ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญา “ผู้ขายบัญชี” (the supplier) และ “แฟ็กเตอร์” (the factor)โดยผู้ขายบัญชีอาจโอนหรือจะโอนบัญชีลูกหนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายบัญชีกับลูกหนี้ซึ่งไม่รวมถึงการซื้อขายสินค้าสำหรับใช้สอยส่วนตัวภายในครอบครัวหรือครัวเรือนให้แก่แฟ็กเตอร์ [5]

(2.) ใช้บังคับแก่แฟ็กเตอร์ให้ต้องปฎิบัติอย่างน้อยสองประการดังต่อไปนี้ [6]

2.1 .การให้บริการทางด้านการเงินแก่ผู้ขายบัญชี รวมถึงการให้กูยืมและการชำระเงินให้ล่วงหน้า

-          การจัดการบริหารบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีลูกหนี้

-          การเรียกเก็บบัญชีลูกหนี้

-          การป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ และ

2.2  ให้แจ้งการโอนบัญชีลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ทราบ[7]

         *เห็นได้ว่าขอบเขตการบังคับใช้อนุสัญญาในย่อหน้านี้ ใช้บังคับกับแฟคเตอร์ ให้ต้องปฏิบัติอย่างน้อยสองอย่าง ซึ่งผู้เขียนขอสรุปคือ 1.ให้ดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับบัญชีที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ อาทิเช่น การบริหารบัญชีลูกหนี้ การติดตามเรียกเก็บหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระ และหนี้ที่เกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ตาม (2.1) และ 2 การแจ้งการโอนบัญชีลูกหนี้ให้กับลูกหนี้ทราบ ซึ่งการแจ้งการบอกกล่าวลูกหนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของอนุสัญญานี้เพราะได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯนี้*

(3 ) อนุสัญญานี้ให้ใช้แก่กรณีการซี้อขายบริการ และรวมถึงการให้บริการด้วย[8]

 

5ข้อยกเว้นสิทธิการโอนและการโอนสิทธิการขายบัญชีบางประเภทที่ไม่อยู่ภายในบังคับของอนุสัญญา

      Article 1- 2 (a) กล่าวไว้ตอนท้ายชัดเจนว่า wother than those for the sale of goods bought primarily for their personal, family or household use; นั้นก็หมายความว่า อนุสัญญาฉบับนี้ไม่รวมถึงการซื้อขายสินค้าสำหรับใช้สอยส่วนตัวภายในครอบครัวหรือครัวเรือนให้แก่แฟ็กเตอร์ [9]

**สรุป**

1.อนุสัญญานี้มีขอบเขตการใช้บังคับขอบเขตของการบังคับใช้ (Scope of Application) ดังต่อไปนี้

           1.ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย คือ 1“ผู้ขายบัญชี” (the supplier)  และ 2“แฟ็กเตอร์” (the factor)

          2. ใช้บังคับการโอนซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายบัญชีกับลูกหนี้ กรณีต้องเป็นการโอนระหว่างประเทศเท่านั้น

          3.ใช้บังคับกับแฟ็คเตอร์ให้ต้องปฏิบัติ 2 กรณีคือ 1 ให้แฟ๊คเตอร์ดำเนินการบริหารจัดการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ทั้งหมดตั้งแต่กระบวนการให้กู้ยืม จนกระทั่งกรณีเรียกเก็บหนี้รวมถึงหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ด้วย และ 2 บังคับให้แฟ๊คเตอร์ต้องแจ้งและ/หรือบอกกล่าวการโอนบัญชีของลูกหนี้ให้ลูกทราบ

          4 ใช้บังคับถึงกรณีการซื้อขายสินค้าบริการและการให้บริการ

อนุสัญญานี้ยกเว้นสิทธิและสิทธิโอนขายบัญชีบางประเภท

2. อนุสัญญานี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีการขายโอนบัญชีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ส่วนตัว ในครอบครัวหรือในครัวเรือน โดยผู้เขียนเห็นว่าเหตุที่ไม่รวมถึงสิทธิประเภทนี้เป็นเหตุผลเดียวกันกับอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่า เนื่องจากการโอนในลักษณะนี้มีความสำคัญในเชิงธุรกิจ

 

6. วัตถุประสงค์ของอนุสัญญา

วัตถุประสงค์ของการจัดทำอนุสัญญาฯ ฉบับนี้  Article 4[10] กล่าวไว้ว่า เพื่อวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญานี้

                   1 การแจ้งการบอกกล่าวเป็นหนังสือนั้นไม่จำต้องมีการลงลายมือชื่อแต่ต้องระบุชื่อผู้แจ้ง

                   2 การแจ้งการบอกล่าวเป็นหนังสือให้รวมถึง โทรพิมพ์(โทรสาร) โทรเลข และการสื่อสารอื่นใดในรูปแบบที่ทำซ้ำซึ่งสามารถสัมผัสจับต้องได้

                   3.การบอกกล่าวนี้จะมีผลเมื่อผู้รับ ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว

พิจารณาจากวัตถุประสงค์แล้วจะเห็นได้ว่า หัวใจหลักของอนุสัญญาฉบับนี้ ต้องแจ้งการบอกกล่าวการโอนขายบัญชีลูกหนี้ให้กับลูกหนี้ทราบ และการแจ้งการบอกกล่าวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่จำต้องลงลายมือชื่อ แต่ต้องระบุชื่อผู้แจ้งให้ชัด นั้นหมายความว่า อนุสัญญากำหนดให้มีแบบแจ้งว่าต้องทำเป็นหนังสือ และให้ระบุชื่อผู้แจ้ง การแจ้งจึงจะมีผล  ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อรูปแบบการแจ้งการโอน การโอนและผลของการโอน

           **ผู้ศึกษาต้องบอกก่อนว่าส่วนใหญ่ผู้ศึกษาเขียนจากการแปลตัวบทอนุสัญญาและศึกษาควบคู่กับทีสีทที่เพื่อนของผู้ศึกษาทำบางคำอาจจะไม่ตรงกับที่คนอื่นได้ทำการศึกษาไว้ แต่ศึกษาโดยการแปลตัวบทเป็นหลัก ***

       ไว้คราวต่อไปจะนำหลักกฎหมายที่สำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้มาแบ่งปันพี่ๆน้อง ๆอีกนะคะ

ขอขอบคุณ แหล่งที่มาของข้อมูล ดังต่อไปนี้

  1. ในส่วนของภูมิหลัง ค้นหาจาก www.google.com  และเว็บไซด์วิกกะพีเดีย หน้าภาษาอังกฤษ
  2. ในส่วน หัวข้อที่ 2-6 ใช้ www.UNIDROIT.org เป็นหลัก โดยการแปลจาก Article และสรุปเป็นภาษาเขียนตนเอง
  3.  ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ของเพื่อนไก่ นางสาววัชรโรบล ช่วงชิง ตอนนี้เป็นอาจารย์ม.อุบลแล้ว

  


[1] ณ ขณะนี้อนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้วและมีประเทศที่ลงนามและให้สัตยาบันแล้วหลายประเทศดูรายละเอียดได้www.unidroit

[2] องค์การปฏิรูปกฎหมาย ระหว่าง ประเทศที่ มีบทบาทสำคัญ และมีความเป็นมายาวนานได้แก่

1.สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความเป็นเอกภาพของกฎหมายเอกชนซึ่งมีบทบาทใน การ จัดทำและพัฒนากฎหมายเอกชนให้เป็นเอกภาพ UNIDROIT

2.ที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล(Hague onference) ซึ่งมีบทบาทในการจัดทำและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลให้เป็น เอกภาพ

3.คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ(UNCITRAL)ซึ่งมีบทบาทในการจัดทำและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศให้เป็นเอกภาพ

 4.ประชาคมยุโรป (EC) ซึ่งต่อมากลายเป็นสหภาพ ยุโรป (EU) มี บทบาทในการสร้างระบบ กฎหมาย ยุโรป ที่ มี ผล ใช้ บังคับ ในประเทศ สมาชิกภายใต้แนวคิดการทำให้เป็นยุโรป (Europeanization)

[3]  สามารถดู PURPOSE และ membershipได้ที่ www.unidroit .org ในหัวข้อ Overview

[4] Article 1- 2 For the purposes of this Convention, "factoring contract" means a contract concluded between one party (the supplier) and another party (the factor) pursuant to which:

      Article 1- 2 (a) the supplier may or will assign to the factor receivables arising from contracts of sale of goods m ade between the supplier and its customers (debtors) other than those for the sale of goods bought primarily for their personal, family or household use;

[5] Article 1- 2 For the purposes of this Convention, "factoring contract" means a contract concluded between one party (the supplier) and another party (the factor) pursuant to which:

      Article 1- 2 (a) the supplier may or will assign to the factor receivables arising from contracts of sale of goods m ade between the supplier and its customers (debtors) other than those for the sale of goods bought primarily for their personal, family or household use;

[6] Article 1- 2  (b) the factor is to perform at least two of the following functions:

- finance for the supplier, including loans and advance payments;

- maintenance of accounts (ledgering) relating to the receivables;

- collection of receivables;

- protection against default in payment by debtors;

[7] Article 1- 2 (c) notice of the assignment of the receivables is to be given to debtors

[8] Article 1- 3 . - In this Convention references to "goods" and "sale of goods" shall include services and the supply of services

[9] Article 1- 2 For the purposes of this Convention, "factoring contract" means a contract concluded between one party (the supplier) and another party (the factor) pursuant to which:

      Article 1- 2 (a) the supplier may or will assign to the factor receivables arising from contracts of sale of goods m ade between the supplier and its customers (debtors) other than those for the sale of goods bought primarily for their personal, family or household use;

[10] . - For the purposes of this Convention:

(a) a notice in writing need not be signed but must identify the person by whom or in whose name it is given;

(b) "notice in writing" includes, but is not limited to, telegrams, telex and any other telecommunication capable of being reproduced in tangible form;

(c) a notice in writing is given when it is received by the addressee.

 

หมายเลขบันทึก: 360535เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 06:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท