การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก


การบริหารงาน โรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นโรงเรียน คุณภาพ“จิ๋วแต่แจ๋ว”

 เมื่อกล่าวถึงโรงเรียนขนาดเล็ก ก็จะเห็นภาพโรงเรียนที่มีขนาดพื้นที่ไม่มาก   มีนักเรียนไม่ถึง 120 คน  มีครูเพียง  2-3   คน  เป็นเหตุให้เข้าใจว่าการบริหารงานใน โรงเรียนขนาดเล็ก ย่อมง่ายกว่าโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่ในความเป็นจริง โรงเรียนขนาดเล็กจะมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งในงบประมาณ ด้านบุคลากร และในบางแห่งอาจมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ ทำให้การบริหารงานมีลักษณะแตกต่างจากโรงเรียนขนาดใหญ่ 

 แต่ในข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารอย่างยิ่ง  ผู้บริหารที่มีความสามารถพลิกให้วิกฤติเป็นโอกาส  ทำจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งของโรงเรียน ซึ่งจะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น โรงเรียนวัดบ้านโพธิ์(มิตรภาพที่ 132) อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่น้อย มีนักเรียนไม่มาก ก็ต้องพยายามบริหารพื้นที่ของโรงเรียนในทุกซอก ทุกมุม ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด และโดยเฉพาะสำคัญอย่างยิ่งในด้านงานวิชาการ   ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อเร่งพัฒนาคุณภาพนักเรียน   ในกรณีที่โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนน้อยก็จะเห็นความได้เปรียบของโรงเรียน ที่ทำให้ครูสามารถดูแลเอาใจ ใส่นักเรียนได้อย่างทั่วถึงใกล้ชิด หากมีปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที และในด้านบุคลากร กรณีที่บุคลากรน้อย ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจกับบุคลากรได้ง่ายกว่าโรงเรียนที่มีบุคลากรมากๆ 

              อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ผู้บริหารทุกคน ควรคิดและเลือกเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่อคนก่อน และเมื่อคนสร้างงานได้ก็จะเกิดระบบงานที่มีคุณภาพตามมา   เมื่อองค์กรมีคุณภาพแล้วก็จะทำให้คนในองค์กรมีคุณภาพตามไปด้วย  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีบุคลากรจำนวนไม่มาก  หากผู้บริหารสามารถบริหารงานบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทุกคนพึงพอใจในการทำงาน รักองค์กร ทำงานด้วยความสบายใจ มีความสุข และมี สิ่งกระตุ้นยั่วยุให้เกิดความต้องการในการพัฒนางานก็จะทำให้องค์กรเกิดการพัฒนา และส่งผลถึงคุณภาพของนักเรียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานได้อย่างดียิ่ง

          สรุปว่า โรงเรียนขนาดเล็ก ไม่ว่าจะมีข้อจำกัดเพียงใดก็ตาม ผู้บริหารที่มีความสามารถในการ บริหารงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารงานบุคลากร ย่อมจะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 360484เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยครับ

เยี่มมากที่ว่า "จิ๋วแต่แจ๋ว"

ดีจังเลยครับ กับแนวนี้..

แวะมาเยี่ยมทักทายครับ..

การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นแบบหมาหางด้วนหรือเปล่าครับ ???

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท