KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 99. เครือข่าย
- ในวันนี้จะคุยกันเรื่องการจัดการเครือข่าย หรือขับเคลื่อนเครือข่าย
- การจัดการเครือข่ายต่างจากการจัดการองค์กรอย่างไร
- องค์กรมีโครงสร้างและความสัมพันธ์เป็น heierarchy เป็นหลัก มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ผู้บริหารจะบริหารงานแบบ “เอื้ออำนาจ” (empowerment) ก็ตาม
- แต่เครือข่ายมีธรรมชาติที่องค์ประกอบ/ชิ้นส่วน มีความสัมพันธ์แบบกึ่งอิสระ (independent) กึ่งพึ่งพาอาศัย (interdependent) หรือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน
- สมาชิกของเครือข่ายมาเชื่อมโยงกันเพราะมีเป้าหมาย / อุดมการณ์ ร่วมกัน และเชื่อมั่นว่าการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายจะเกิดพลังทวีคูณ (synergy) ระหว่างกัน เกิดผลรวมที่มากกว่าผลบวก และเกิดผลเสริมพลังต่อสมาชิกแต่ละองค์กร
- การจัดการเครือข่าย ทำโดย “จับภาพ” ความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่เป็น micro success หยิบยกมาเผยแพร่ ชื่นชมยินดี และขับเคลื่อนการ ลปรร. วิธีการบรรลุความสำเร็จนั้น - เดินเครือข่ายด้วยความสำเร็จ
- การจัดการเครือข่าย ต้อง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ยอมรับความแตกต่างหลากหลายของสมาชิกเครือข่าย
- จัดการเครือข่ายบนฐานของความเคารพ เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน เคารพในความแตกต่าง
- จัดการเครือข่ายโดยยกตัวตนของสมาชิกเครือข่าย ในส่วนที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเครือข่าย ขึ้นมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ยกเอาผลงานของสมาชิกออกหน้า เอาผลงานและตัวตนของผู้จัดการเครือข่ายไปไว้ข้างหลัง – lead from behind
- จัดการให้เกิดการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า (value add) ในภาพรวม และต่อสมาชิกแต่ละองค์กร
วิจารณ์ พานิช
๓ เมย. ๔๙
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
ขอบคุณอาจารย์มากครับชัดเจนดี คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะทำโครงการ SML นะครับ