การสอนอ่านแบบมีส่วนร่วม


อ่านอย่างไรให้เข้าใจ

การพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม

การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้ และพัฒนาชีวิต ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความรู้แล้วยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต การอ่านจึงเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับ และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เรื่องต่างๆ

          การพัฒนาบุคคลใดก็ตามให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อตนเองพร้อมที่จะเรียนรู้ แน่นอนว่าย่อมไม่มีสิ่งใดมากีดขวางความพยายามใฝ่เรียนรู้ เปรียบได้เช่นกับการอ่านหนังสือ ถ้าเราอ่านมากเราก็รู้มาก เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะการอ่านนั้นไซร้ให้ประโยชน์กับเรานานัปการ อีกทั้งถ้าได้อ่านแล้วมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ประโยชน์ทีเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา คือบุคคลนั้นสามารถนำความรู้นั้นไปพัฒนาผู้อื่นได้อีกด้วย แต่การอ่านที่ดีนั้นจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาให้ลึกซึ้งก่อน เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้อ่านให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาความสามารถในการอ่านให้ทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมต้องอ่านแบบมีส่วนร่วม ?

          จากลักษณะสำคัญและความเป็นมาที่น่าสนใจของรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผู้เขียนมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการอ่านด้วยวิธีนี้ อันได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการอ่านและคิดไตร่ตรองในเรื่องที่จะอ่าน ทำให้ผู้อ่านนั้นกระตือรือร้น มีความสนใจและรู้สึกสนุกกับการอ่านก่อน แล้วจึงเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่จะอ่าน ผู้เขียนได้ศึกษาทำความเข้าใจถึงวิธีการอ่านทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาตนเองเป็นสำคัญ รองลงมาคือบริบทของเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาศัยตัวผู้เรียนเป็นหลักในการทำกิจกรรม ส่วนผู้สอนเป็นที่ปรึกษาและจัดเตรียมเนื้อหาในการอ่านเพื่อให้ชัดเจนตรงตามจุดมุ่งหมาย อีกทั้งต้องมีความสอดคล้องตรงกับความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เขียนได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เนื่องจากความสำคัญของการอ่านนั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่ดีนั้นก็ต้องควบคู่กับการอ่าน เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ตนถนัด สนใจแล้วนั้น จะทำให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ได้ดี และจากหลักฐานงานวิชาการของนักการศึกษาชาวอเมริกาก็ได้ชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมการอ่านนั้น จะทำให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนทัศนะในการอ่านได้ดี เมื่อได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนอ่าน เพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกท้าทายเมื่อได้สนทนากับเพื่อนในเรื่องเดียวกันแต่มีมุมมองที่แตกต่างกัน ส่งเสริมให้ตนเองอยากรู้และอยากอ่านมากขึ้นอีกด้วย

          Guthrie  นักการศึกษาชาวอเมริกาจากมหาวิทยาลัย แมรี่แลนด์ ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเรื่องของการอ่านแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้อ่านสิ่งที่ตนสนใจและนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการพัฒนาการอ่านของผู้เรียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากมีความเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน โดยวิธีการเชื่อมโยงความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีอยู่สัมพันธ์กับชีวิตจริง และมีการเสริมแรงจูงใจในการอ่านโดยใช้คำสำคัญในการสื่อความหมายให้เห็นเด่นชัด เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพทางด้านการอ่านในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปดังที่แสดงให้เห็น ดังนี้

                                รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม

 

Interesting text

1.Strategy  

instruction   

 

Autonomy

support

Real world

Instruction

Learning and

knowledge Goals

    Evaluation

 

Rewards

and praise

Teacher involvement

 

Achievement

knowledge

practices

    Collaboration

Social  interactions

Motivations

ConceptualKnowledge

Strategy  Use

                      The engagement model of reading development

Strategy

instruction

 

 

Autonomy

support

Real world

Instruction

Learning and

knowledge Goals

    Evaluation

 

Rewards

and praise

Teacher involvement

 

Achievement

knowledge

practices

    Collaboration

Social  interactions

Motivations

ConceptualKnowledge

Strategy  Use

ที่มา  :  www.readingonline.org/articles/handbook/guthrie/index.html

หลักการส่งเสริมการอ่านแบบมีส่วนร่วม     

              การสอนโดยรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมนั้น ผู้เขียนได้มองภาพรวมถึงคุณประโยชน์ที่จะนำไปสู่ผู้เรียน โดยมีหลักการส่งเสริมความสามารถในการอ่านได้อย่างมีจุดหมายและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีในการอ่าน รวมทั้งเสริมศักยภาพในด้านการอ่านให้เป็นไปตามความถนัดและสนใจในเนื้อหาที่ผู้เรียนเลือกเอง เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนะในการอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ (Learning and knowledge goals) โดยครูและ

นักเรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ เริ่มจากการใช้คำถาม   การสนทนา ประเด็นสำคัญหลักในการอ่าน เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน

2. การจัดประสบการณ์และเลือกเนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง (Real-world interaction)   

โดยการเลือกเนื้อหาที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน นั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เนื่องจากได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวก่อน แล้วค่อยปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆต่อไป

3. การสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการอยากร่วมเรียนรู้ด้วยตนเอง (Autonomy & Support)   

โดยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะอ่านเนื้อหานั้นๆ ครูชี้แนะเกี่ยวกับการเลือกเนื้อหาในการอ่านที่เหมาะสม และวิธีการอ่านที่เหมาะสมส่งเสริมทักษะการอ่านให้ง่ายต่อความเข้าใจ

4. การเลือกเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน (Interesting texts for instruction)    

โดยเลือกเนื้อหาที่ใหม่ น่าสนใจมีคุณค่าและความสำคัญสอดคล้องกับผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ จากการแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่น่าสนใจระหว่างผู้เรียนและการหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

5. การใช้ยุทธศาสตร์การสอนที่เหมาะสม (Strategy instruction) โดยเลือกวิธีการสอนอ่าน

ที่หลากหลายตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ที่อ่าน บอกเป็นขั้นตอนชัดเจน และนำมาจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เสริมสร้างความรู้และทักษะการอ่าน ได้ความรู้ที่ต้องการและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

6. การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้ (Collaboration) โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า

การอ่านจากบริบทที่มีอยู่ทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพทางด้านการอ่านในมุมมองที่แตกต่างกัน

7. การมีส่วนร่วมของครูในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Teacher- involvement)

ครูจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นใกล้ชิด และมีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อผู้เรียนทำให้การสอนได้ผลดียิ่งขึ้นส่งผลโดยตรงต่อจิตใจของผู้เรียน

8. การให้รางวัลและการยกย่อง (Praise and rewards) โดยให้รางวัล และกำลังใจจากการ

ชมเชยอย่างถูกต้องเหมาะสม มีเหตุผล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

9. การประเมินผลตามสภาพจริง (Evaluation) โดยการประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมก่อนและหลังการอ่าน เปรียบเทียบพัฒนาการอ่าน และความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียน

              สรุปได้ว่า เมื่อผู้เรียนได้ศึกษารูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม ตามความเหมาะสมในด้านการกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ ได้ตรงกับศักยภาพของตนเอง ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นในขณะที่อ่าน เมื่อตนเองได้อ่านอย่างเข้าใจแล้วนั้น ก็ทำให้ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากเพื่อนๆ และครูในการเลือกเนื้อหาที่จะอ่านครั้งต่อไปได้หลากหลายขึ้น โดยครูเป็นที่ปรึกษา จัดกิจกรรมในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม นำพาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งในและนอกห้องเรียน เข้าใจเรื่องที่อ่านอย่างถ่องแท้แล้วได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีความใกล้ชิดและเกิดสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน ได้รับกำลังใจทั้งจากเพื่อนและครูก็ส่งผลทางด้านจิตใจของผู้เรียน ทำให้เห็นคุณค่าของการอ่านแบบมีส่วนร่วม มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนะต่างๆในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

         

 

หมายเลขบันทึก: 360232เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาอ่านเรื่องการสอนอ่าน มาเขียนอีกนะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท