การเขียนคำประพันธ์ประเภทกาพท์


ให้นักเรียน ม ๔ เข้าศึกษา

กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ 

กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก
คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง

กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น

กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ

๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์

๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า "คำฉันท์" เหมือนกัน

กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ

๑. กาพย์ยานี

๒. กาพย์ฉบัง

๓. กาพย์สุรางคนางค์

๔. กาพย์ห่อโคลง

๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง

กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย

กาพย์ฉบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาพย์ฉบังเป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้น กระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี

กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16 เฉยๆ ก็มี

 คณะ

กาพย์ฉบังบทหนึ่ง มี 1บาท บาทหนึ่งมี 3 วรรค คือ

  • วรรคต้น จาน(รับ) มี 6 คำ
  • วรรคกลางตาย (รอง) มี 4 คำ
  • วรรคตาย (ส่ง) มี 6 คำ

บทหนึ่งจึงมีทั้งหมด 16

สัมผัส

กาพย์ฉบังมีลักษณะสัมผัสคล้ายกับกาพย์ยานี เพียงแต่มี 3 วรรค การรับส่งสัมผัส เป็นดังนี้

  • คำท้ายวรรคต้น สัมผัสคำท้ายวรรคกลาง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
  • คำท้ายของวรรคกลาง อาจส่งสัมผัสไปยังคำแรกหรือคำที่สอง ของวรรคท้ายก็ได้ แทนด้วยอักษร ก และ ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
  • คำท้ายวรรคท้าย ส่งสัมผัสไปยังทำท้ายวรรคต้น ของบทต่อไป แทนด้วยอักษร ค ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง

กาพย์ฉบังอาจเขียนร้อยต่อไป ยาวเท่าใดก็ได้ ไม่จำกัด

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ก   ๐ ๐ ๐ ก
ข ๐ ๐ ๐ ๐ ค    
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ค   ๐ ๐ ๐ ค
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ง
 
ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
คำสำคัญ (Tags): #การเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 359991เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับความรู้  เพราะกำลังหัดแต่งกลอนและกาพย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท