Nina
นางสาวอภิญญา อุดมพรเกิดผล

คำพยากรณ์งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี2553


พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2553
  • นี้ "พระยาแรก" นาเสี่ยงหยิบผ้า 6 คืบ พยากรณ์ น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี  "พระโค" กินหญ้า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี...เมื่อวันที่ 13 พ.ค. เวลา 07.30 น. ที่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ มายังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จ
  •  
  •                            
  • สำหรับพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวณุทนาถ โคตรพรหม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ และนางสาวสุนีลา รู้สุกิจกุล นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ สำนักบริหารกองทุน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส่วนเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวสรชนก วงศ์พรม นายช่างโยธาชำนาญงาน ฝ่ายโยธา ส่วนวิศวกรรมประมง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง และนางสาวเดือนเพ็ญ ใจคง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กองแผนงานและวิชาการ กรมวิชาการเกษตร คู่เคียง จำนวน 16 ราย และผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย พระโค แรกนา ได้แก่ พระโคฟ้า และพระโคใส พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเทิด และพระโคทูน
  • จากนั้น เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและไถ จากนั้นจะมีการไถดะ โดยรี 3 รอบ โดยขวาง 3 รอบ หว่านธัญพืช ลั่นฆ้องชัย จากนั้นจะไถกลบอีก 3 รอบ เจ้าพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีกลับไปที่โรงพิธีพราหมณ์ จากนั้นพระโคจะเสี่ยงของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยง ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า และจะมีการทำนายถวายคำพยากรณ์
  • น.ส.สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอพระราชทานพระราชวโรกาส กราบบังคมทูล ผลการเสี่ยงทายของพระยาแรกนา เนื่องในงาน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2553 โหรหลวงได้ให้คำพยากรณ์ว่า พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้าสำหรับนุ่ง ได้ผ้าลาย 6 คืบ ไปประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่ การเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง ปีนี้พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี.
  • แหล่งข่าว : ไทยรัฐออนไลน์
  •  http://www.oknation.net/blog/jinnie061/2010/05/13/entry-1
  • พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
  • พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น
  • ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา 
  • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  • พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น   
  • การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2479 แล้วก็ว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด
  • กิจกรรมในงาน
    พระราชพิธีอันสืบทอดมาช้านาน เพื่อส่งเสริมสิริมงคลแก่พืชพรรณ ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกร และเพื่อทำนายถึงสภาพดินฟ้า อากาศและผลผลิตที่จะงอกเงยในฤดูเก็บเกี่ยวที่กำลังจะเริ่มขึ้น
  • วันพืชมงคลปีนี้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอยู่หัวมากๆค่ะ
  • เลยนำข้อมูลดีๆมาฝากค่ะ
  • รักมากมาย รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • .....................................
คำสำคัญ (Tags): #วันพืชมงคล53
หมายเลขบันทึก: 358235เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ..

  • เมล็ดข้าว..ถั่ว..งา..ชาวนานำเป็นขวัญ..
  • แม้ได้เมล็ดข้าวในพิธีเพียงหนึ่งสองเมล็ดก็ดีใจสุด ๆ
  • เป็นขวัญนาข้าวของชาวนา
  • เป็นกำลังใจให้กันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท