สภามหาวิทยาลัย 29 : หน้าที่สร้างความไว้วางใจต่อสังคม (2)


Type I Governing มีการทำหน้าที่ 3 ด้าน

         หนังสือ Governing as Leadership เรียกหน้าที่นี้ว่าเป็น Type I Governing   มีการทำหน้าที่ 3 ด้าน
(1) คอยดูแลสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ที่จัดต้องได้ขององค์กร  ว่าได้มีการนำมาใช้ตรงตามเป้าหมายหลักขององค์กร
(2) คอยดูแลว่ามีการใช้ทรัพยากรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล
(3) ส่งเสริมการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม

         สไตล์ของการทำหน้าที่มี 2 ขั้ว   คือขั้วกำกับดูแล (oversight) กับขั้วเสริมคุณค่าเชิงภาวะผู้นำ (leadership value)  โดยทำความเข้าใจได้จากคำถามดังนี้

 

คำถามเชิงกำกับดูแล     

- จะรับภาระค่าใช้จ่ายไหวไหม

- ผลการตรวจสอบ (audit) ถูกต้องไหม

- งบประมาณสมดุลไหม

- ควรเพิ่มงบประมาณของแผนกขึ้นสัก 2 - 3 % หรือไม่

- โปรแกรมที่มีแผนจะเปิด  จะดึงดูดลูกค้าเพียงพอหรือไม่

- การควบรวมกิจการจะมีผลต่อการเงินอย่างไร

- ถูกกฎหมายหรือไม่

- ต้องการระดมเงินเท่าไร

- ทำอย่างไรจึงจะมีผู้บริจาค

- การหมุนเวียน (ลาออก-รับใหม่) ของเจ้าหน้าที่เหมาะสมหรือไม่

 

คำถามเชิงเสริมสร้างคุณค่า
- ถ้าไม่จ่ายเรื่องนี้จะมีค่าสูญเสียโอกาสไปเพียงใด
- เราจะเรียนรู้อะไรบ้างได้จากผลการตรวจสอบ
- รายการงบประมาณสะท้อนลำดับความสำคัญของภารกิจหรือไม่
- ควรย้ายงบประมาณจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งหรือไม่
- โปรแกรมที่จะเปิดจะช่วยขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรอย่างไร
- การควบรวมกิจการจะมีผลต่อพันธกิจขององค์กรอย่างไร
- ถูกจริยธรรมหรือไม่
- เป้าหมายของการระดมเงินคืออะไร
- การบริจาคจะช่วยขับเคลื่อนพันธกิจอย่างไร  ผู้บริจาคจะเข้ามาควบคุมกิจการมากเกินไปหรือไม่
- เราดูแลเจ้าหน้าที่อย่างยุติธรรมและให้เกียรติหรือไม่

 


Type I Board
         ทำหน้าที่ตามกฎระเบียบและโครงสร้างอย่างเคร่งครัดและมักตกหลุมพราง 4 ประการคือ
(1) คิดว่าแม้องค์กรจะมีลักษณะแบบ bureaucratic  แต่เนื่องจากไม่ค้ากำไร  จึงไม่ถือว่าเป็น bureaucracy
(2) แทนที่ board กับ CEO จะทำหน้าที่ "ผู้นำร่วม" ในลักษณะของความสัมพันธ์แบบ principal - agent  แต่ในความเป็นจริง CEO กลับเป็นผู้ควบคุมบอร์ด
(3) บอร์ดไม่ได้ทำหน้าที่ควบคุมดูแล  ไม่ได้มีลักษณะการทำงานแบบ plural leadership
(4) เน้นกิจการภายในขององค์กร   ละเลยกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับภายนอก

 


Type I Governance เป็นสิ่งจำเป็น  แต่ Type I Board เป็นปัญหา
ปัญหาของ Type I Board มี 3 ประการ
(1) เรื่องด่วนเข้ามาแทนที่เรื่องสำคัญ   ประสิทธิภาพอยู่เหนือประสิทธิผล
(2) เน้นกิจกรรมเชิงเทคนิค  ละเลยกิจกรรมด้าน core purpose
(3) บอร์ดทำงานประจำ   งานควบคุมกฎระเบียบทำให้น่าเบื่อ  และไม่มองภาพใหญ่ขององค์กร

 


ประเด็นสำคัญในการสร้างความไว้วางใจต่อสังคม
- สร้างความน่าเชื่อถือด้านใดบ้าง  ต่อใคร
- บทบาทสร้างความน่าเชื่อถือส่วนที่ไม่ใช่เรื่องเงินมีอะไรบ้าง
- รู้ได้อย่างไรว่าองค์กรได้ทำตามพันธกิจหลัก
- การริเริ่มใหม่ ๆ ช่วยขับเคลื่อนพันธกิจอย่างไร
- จงป้องกันไม่ให้เกิดช่องโหว่ในการทำหน้าที่นี้  ที่เป็นปัญหาที่พบบ่อย ๆ ได้อย่างไร
- เมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีขององค์กร   บอร์ดจะรายงานผลการทำหน้าที่สร้างความไว้วางใจต่อสังคมอย่างไร   และจะรายงานผลการทำหน้าที่ stewardship อย่างไร
- มีหลักฐานอะไรที่บอกว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ  ยกตัวอย่างกรณี
- จุดอ่อนทางการเงินขององค์กรคืออะไร   ได้หาทางปิดจุดอ่อนนั้นอย่างไร
- มีกฎหมายใดบ้างที่แม้องค์กไม่ค้ากำไรจะไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม   แต่เพื่อความน่าเชื่อถือ  องค์กรควรถือตามนั้น

วิจารณ์  พานิช
 14 มิ.ย.49

 

หมายเลขบันทึก: 35789เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท