ก้าวสู่อาชีพผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร(ภาคปฏิบัติ)


ก้าวสู่อาชีพผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร(ภาคปฏิบัติ)

                การที่จะดำรงตำแหน่งในสายงานผู้ดูแลระบบเครือข่ายภายในองค์กร  มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะแต่ละองค์กรล้วนมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนสถาบันการ

ศึกษาทั้งเอกชนและราชการ  แต่ละองค์กรจะต้องมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ แต่การที่จะก้าวไปสู่ผู้ดูและระบบที่มีความเชี่ยวชาญนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่จบการศึกษาใหม่ๆโดยแตละองค์กรหากจะรับพนักงานเข้าทำงานจะต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานโดยจะมีการพิจารณาอยู่หลายๆส่วนด้วยกัน  ทั้งความรับผิดชอบ ทั้งด้านเทคนิค การทำงานร่วมกันภายในองค์กร

                เดิมการเรียนรู้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นหากจะเรียนรู้ให้เข้าใจถ่องแท้นั้นเป็นเรื่องยากจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในหลายๆส่วน และเป็นเรื่องที่ท้าทาย พร้อมทั้งการที่จะทำงานในด้านดูแลในด้านระบบเครือข่ายแล้วนั้นอาจจะประกอบไปด้วย

                ตำแหน่งในสายงานผู้ดูแลระบบเครือข่าย  ตำแหน่งนี้แต่ละองค์กรจะเรียกชื่อไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละองค์กรกำหนด เช่น นักวิศวกรระบบ (System Engineer) นักวิศวกรเครือข่าย (Network Engineer) นักบริหารระบบปฏิบัติการ ( System Administrator) นักบริหารเครือข่าย (Network Administrator)

                หน้าที่ของผู้ดูแลระบบเครือข่าย  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือองค์กรนั้นเล็กหรือใหญ่  โดยส่วนมากคนที่ทำงานในด้านนี้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านฮาร์ดแวร์ ด้านซอฟต์แวร์ ด้านอุปกรณ์เครือข่าย  ด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างหน้าที่  ติดตั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เข้าสู่ระบบ , ออกแบบเครือข่ายภายในองค์กร,  บริหารบัญชีผู้ใช้ระบบเครือข่ายภายในองค์กร  เช่น ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to- Peer และระบบเครือข่ายแบบ Client/Server   ,ให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ , ออกกฎหรือนโยบายในการใช้ระบบเครือข่าย , ติดตั้งระบบ Intranet/Internet Server ,สำรองข้อมูล  การที่จะก้าวสู้ผู้ดูแลระบบแบบมืออาชีพแบบภาคปฏิบัตินั้นจะต้องประกอบไปด้วย 10 ขั้นตอน  อาทิ เช่น   ขั้นที่ 1 ศึกษาภาพรวมระบบเครือข่าย (Network Overview) กล่าวถึงต้องรู้ภาพกว้างของระบบเครือข่ายประกอบไปด้วยอะไรบ้างและแต่ละส่วนประกอบมีรายละเอียดอย่างไร

                ขั้นที่ 2 รู้จักอุปกรณ์บนระบบเครือข่าย (Network Device) กล่าวถึงอุปกรณ์และวิธีใช้งานอย่างไรบ้าง

                ขั้นที่ 3 ลงมือออกแบบระบบเครือข่าย (Network Planning & Design)

                ขั้นที่ 4 การเลือกระบบปฏิบัติการเครือข่าย NOS ที่เหมาะสม (Windows/Linux/FeeBSD)

                ขั้นที่ 5 รวมคำสั่งในการตรวจสอบระบบเครือข่าย (Windows Command)

                ขั้นที่ 6 การแชร์ข้อมูลบนระบบเครือข่ายแบบมืออาชีพ( Resource Sharing)

                ขั้นที่ 7 การแชร์อินเตอร์เน็ตด้วย Internet Connect Sharing (ICS) และการทำ NAT

                ขั้นที 8 วิธีการทำระบบ Intranet/Internet Server ใช้งานภายในองค์กร

                ขั้นที่ 9 เครื่องมือที่เฝ้าติดตามระบบเครือข่าย (Network Monitoring)

                ขั้นที่ 10 การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายขององค์กร (Network Security/Firewall)

                                นอกเหนือจากการศึกษาเพิ่มเติมครบทั้ง 10 ขั้นตอนแล้วยังต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้อีกจึงจะทำให้สามารถทำงานแบบมืออาชีพได้ 

จากหนังสือ

ก้าวสู่อาชีพผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร(ภาคปฏิบัติ)

โดยอาณัติ  รัตนถิรกุล

คำสำคัญ (Tags): #kmanw3
หมายเลขบันทึก: 357413เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท