มองข้างหลังภาพ (ตอนที่ 3 : KM กับภาษาวัฒนธรรม)


แรงบันดาลใจที่ทำ ให้ผู้เขียน เลือกใช้ความหมายลึกของภาษาไทย ในการพัฒนาเขียน เพราะ มีอาจารย์จาก ปูนซิเมนต์ไทยฯ ท่านหนึ่ง ปรารภว่า "ในงานมหกรรมหนังสือ ไม่สามารถหาหนังสือสักเล่มที่ประเทืองปัญญา"

ตอนที่ 3 : KM กับภาษาวัฒนธรรม

บทสนทนาโดยที่ไม่สนใจว่าใครเป็นใคร แต่หัวข้อที่น่าสนใจตรงกันก็นับว่าได้อรรถรสแบบหนึ่ง...


• ทำไมเด็กบ้านนอกอยากเข้ากรุง? ทำไมคนบ้านนอกอยากเข้ากรุง?


• ก็เพราะเขาต้องการหาความเจริญทางวัตถุ และคาดหวังความเจริญทางจิตใจ ที่คิดว่า ตอนนี้ครอบครัวไม่สามารถให้เขาได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า ในกรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมภัยทางสังคม ที่ฉาบไว้ด้วยความเจริญ แต่หาน้ำใจได้ยากยิ่ง เพราะถูกตึกราม รถรา หมอกควัน มลพิษอื่นๆ กลบพื้นดิน พื้นน้ำ แม้แต่ ต้นไม้ เกือบหมดแล้ว จึงขาดพลังทางธรรมชาติ ที่สามารถฟื้นฟูจิตใจคนได้อย่างแท้จริง


• เด็กนักเรียนในเมืองหลวง ก็เข้าใกล้วัฒนธรรมตะวันตกจนแยกไม่ออกแล้ว ไม่ต้องไปอเมริกาให้เสียเวลา เพราะสังคมเมือง และทุนนิยม ก่อให้เกิดการแก่งแย่ง เอาตัวรอด ไม่สนใจคนอื่น มิต้องสงสัยว่า การใช้เทคโนโลยีของเด็กส่วนมาก จะเป็นไปในทางตกเป็นทาส ของความเสื่อมทางวัฒนธรรม ก็อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อระบบทุนนิยมเจริญถึงจุดสูงสุด ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามไปด้วย คนตะวันออกอย่างเราคงพากันปิดใจเปิดกายมุ่งเน้นเทคโนโลยี ให้ถึงที่สุด แต่คนตะวันตกก็คงพากันเปิดใจปิดกายมุ่งหาธรรมชาติ เพราะเคยผ่านเทคโนโลยีสูงสุดมาแล้ว ผู้เขียนเฝ้า มอง ดู การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ ปลายปีที่แล้ว เพื่อนชาวเยอรมัน ที่เดินทางมาเมืองไทย (อาชีพพยาบาล แต่เรียนจิตวิทยาระดับปริญญาเอกด้วย) ก็ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงนี้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผู้เขียนจึงยินดี ที่ชาวครอบครัวเข้มแข็งอาจจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เพื่อนชาวต่างประเทศ ในอนาคต เนื่องเพราะ ทางแถบแอฟริกา นั้นก็ถูกกดไว้ด้วยทุนนิยม มาช้านาน ในรูปแบบต่างๆ และตั้งข้อสงสัยว่า ระบอบปกครองแบบใดกันแน่ ที่เหมาะกับพวกเขา ถ้าเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระดับลึก ถึงลึกมาก อาจจะพบคำตอบก็ได้ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้เหล่านักปราชญ์ชาวไทย


• อย่างไรเสียเมืองไทยเรายังมีของดีอีกมากมาย ที่หลายคนพากันละเลยมองข้าม เช่น ที่พวกท่านเอ่ยกันในเวทีนี้ เป็นต้น ดีพอที่จะเป็นพลังทางจิตใจให้กับผู้ที่กอรปกรรมดี ได้รอดพันจากภัย ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ได้แก่ โรคภัยใหม่ๆ ภัยทางธรรมชาติ ภัยจากเทคโนโลยี ฯลฯ และอาจเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในกฎธรรมชาติ แม้จะเป็นคนส่วนน้อย หรือ บางส่วน แต่ผู้เขียนก็ดีใจไม่น้อย จนต้องเปล่งเสียงออกมาหลายๆครั้ง ว่า “มีคนรอดแล้ว มีคนรอดแล้ว”


• ของดี....ที่รอการสูญสลายตามกาลเวลา ในเมื่อเจ้าของไม่เห็นคุณค่า ก็ย่อมเหี่ยวเฉา หมดอายุขัย มลายหายไป มีสิ่งอื่นมาทดแทน เวลามีจุดจบเสมอ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องจริง


• ถ้าคนเมืองส่งเงิน และเทคโนโลยี ที่จำเป็น ให้ชนบท แลกเปลี่ยนกับอาหาร พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ทรัพยากรอื่น ที่สดใหม่ มีคุณภาพ คนเมืองก็อาจมีอายุยืนยาวได้บ้าง บางครั้งผู้เขียนก็สงสัยว่า คุณภาพของประโยชน์ของอาหารในเมืองหลวงที่เรารับประทานกัน ไม่ว่าจะเป็นข้างถนน หรือ ในร้านหรูหรา โรงแรมชื่อดัง เป็นอย่างไร? มันผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง? แลกกับความสะดวกสบายของคนเมือง ในขณะที่ชนบท เราสัมผัสรสชาติความสดใหม่ อร่อยติดลิ้นเราเองแท้ๆ...


• น่าแปลกที่ทรัพยากรธรรมชาติเกรดดี คุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นไม้สัก ข้าว ผลไม้ เป็นต้น ถูกส่งออกต่างประเทศให้เขาบริโภคกัน ทำไมคนเมืองหลวงไม่แลกเงินกับของดีเหล่านั้นของชาวบ้านเสียเอง ให้ชาวบ้านพอมีเงินใช้จ่ายบ้าง เพราะเขามีอาหารกินอยู่แล้วจากการแลกเปลี่ยนกันในหมู่บ้าน หรือของตนเอง ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าใครน่าสงสารกันแน่ ระหว่างชาวเมือง กับชาวบ้าน หรือตัวผู้เขียนเอง...


• เรื่องของน้ำใจ น้ำมิตร ผู้เขียนได้รับฟังจาก เวทีครอบครัวเข้มแข็งฯ ที่ผู้เขียนขอสรุปเอาเองว่า ท่านใดที่นำกลยุทธ์น้ำใจมาใช้กับคนไทยนับว่าถูกทางอย่างยิ่ง เพราะโดยรากฐานความเจริญทางศิลปะ วัฒนธรรม หลายร้อยปี สิ่งนี้ย่อมก่อเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของการอยู่ดีมีสุข ...มาจนบัดนี้ จะแปรเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองส่วนหนึ่ง แต่จะปฏิเสธสิ่งที่อยู่ก้นบึ้งส่วนลึกในถิ่นที่เกิด "มาตุภูมิ" ได้อย่างไร ? คนที่พยายามปฏิเสธก็ย่อมมิค้นพบตนเองได้ เปรียบกับประเทศร้อยพ่อพันแม่ ก่อเกิดขึ้นด้วยสงคราม จะมีรากฐานความเจริญทางศิลปะ วัฒนธรรมได้อย่างไร ? สิ่งที่มากับสงคราม คือการแก่งแย่ง ความเห็นแก่ตัว เพื่อเอาตัวรอด …. ท่านเห็นควรว่าอย่างไรดีกว่า ก็สุดแท้แต่ตัวท่านเอง ท่านเห็นควรว่า ควรปฏิบัติตัวเช่นไร? ก็จงทำเถิด…


• ในยุคนี้ถ้าท่านมีความสามารถ มองเป็น อ่านเป็น ก็นับว่าใช้ได้แล้ว ท่านรู้ว่าอะไร คือของจริง อะไร คือของปลอม ข่าวใดเท็จ ข่าวใดจริง เครื่องบ่งชี้ เครื่องแต่งกาย ฐานะ ตำแหน่ง ล้วน ไม่สามารถ ชี้บ่งสถานภาพจริง หรือความเป็นจริง ได้อีกต่อไป มีปลอมปนไปเสมอ นี่คือ วัฏจักรแห่งการเปลี่ยนแปลง อย่างหนึ่ง ลองย้อนกลับไปดู ยุคการเปลี่ยนแปลงจาก ธรรมชาติสู่เทคโนโลยี เปรียบเปรยกัน ก็พอจะเข้าใจได้


ภาษาที่ผู้เขียนใช้ พยายามใช้ภาษาไทย เพราะรากฐาน คำไทย มีความหมายลึกซึ้งทุกคำ “มอง” “ดู” “เห็น” มีความหมายแตกต่างกัน ภาษาก็เป็นตัวสื่อความเจริญทางวัฒนธรรม ถ้าคนตะวันตก จะเข้าใจภาษาไทยดีกว่าคนไทย ในอนาคต ผู้เขียนก็ยอมรับได้ การใช้ภาษาไทยก็เกิดปรัชญาตะวันออก แบบไทยๆ สำหรับใช้พัฒนาการนึก ความคิด ของคนที่เข้าใจภาษาไทย


• ภาษาที่สละสลวย นับเป็นอาวุธ ป้องกันการขโมยความคิด แบบมิทำร้ายผู้ใด


• แรงบันดาลใจที่ทำ ให้ผู้เขียน เลือกใช้ความหมายลึกของภาษาไทย ในการพัฒนาการเขียน เพราะ มีอาจารย์จาก ปูนซิเมนต์ไทยฯ ท่านหนึ่ง ปรารภว่า "ในงานมหกรรมหนังสือ ไม่สามารถหาหนังสือสักเล่มที่ประเทืองปัญญา" ในความคิดคำนึงของผู้เขียนก่อเกิดจินตนาการ จะเขียนอย่างไร? ให้ผู้อ่านทำความเข้าใจได้หลากหลายระดับ หลายแง่ หลายมุม เพราะการสื่อสารระดับบริหารก็ต้องลึก ระดับเตรียมบริหารก็ค่อน ระดับปฏิบัติ ก็ต้องเป็นตัวอย่าง ผู้เขียนเลือกแนวการผสมผสาน และให้ข้อคิด ตาม พื้นฐานที่แต่ละคนมีมากกว่า อาจจะอ่านแล้วไม่ได้อะไรเลย ก็ได้ ผู้เขียนเคยอ่านการเขียนแบบแยกแยะละเอียด ความหมายของคำไทย น่าแปลกที่เรา อาจใช้คำว่าไม่รู้เรื่องเลย และอาจบ้าได้ ถ้าพยายามจะทำความเข้าใจ แต่เมื่อเราพัฒนาการนึกคิดแล้ว เราสามารถจะอ่านทำความเข้าใจได้อย่างไม่ซ้ำความลึก หรือแง่มุม ของความหมายที่แฝงอยู่ ในหลายๆครั้ง ที่หยิบบันทึกแบบนี้มาอ่าน มิใช่การเล่นคำ แต่เป็นความพิสดารจริงๆ ที่ผู้เขียนพิสูจน์กับตัวเองมาแล้ว บางทีผู้เขียนก็เรียกบันทึกแบบนี้ว่า "ปรัชญา" บางทีผู้เขียนก็ใช้บันทึกแบบนี้ เช็คระดับการพัฒนาการนึกคิดของตนเอง ตอนผู้เขียนอายุ 25 ปี มีความเข้าใจผิดหลายเรื่อง เรื่องหนึ่ง คือ ปรัชญา เป็นเรื่องน่าเบื่อ เป็นวิชา ของคณะศึกษาศาสตร์ ผู้เขียนเรียนวิทยาศาสตร์ คงจะไม่มีทางเข้าใจเรื่องง่ายแบบนั้น แต่เมื่อทำงาน ผู้เขียนกลับพบว่า เราต้องใช้ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ในการทำงานให้มีความสุขร่วมกับคน ไม่ใช่วิชาวิทยาศาสตร์ โมเดลต่างๆ ที่ผู้เขียนเคยจัดอันดับเสียสูงส่ง แต่จะหาคนที่รู้จักสอน เข้าใจสอน เรื่องเหล่านี้ ให้เราเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การพิสูจน์เพื่อให้เราเชื่อ คือสื่งที่ผู้เขียน นำความรู้จากวิทยาศาสตร์มาใช้บ่อยๆ


• หลายครั้ง ในปัจจุบัน คำไทย 1 คำ ที่ผู้เขียนเอ่ยออกไป แฝงความหมายพื้นฐานมากมายที่ไม่ใช่ความนัย แต่ผู้เขียน รู้ว่า คนฟังไม่เข้าใจ หรือ อาจตีความไปตามความเข้าใจเดิมของตนเอง เหมือนที่ผู้เขียนเคยเป็นมาแล้ว เราคุ้นเคยกับการเปิด Dictionary มากกว่า พจนานุกรมไทย ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของพวกบรรณารักษ์เท่านั้น...


“ทางเบี่ยง คือ ทางตรงเบื้องหน้า แสงแห่งปัญญาอยู่ในตัวเราเอง อยู่ที่ จะค้นพบ ค้นหา เจอหรือไม่.....”

หมายเลขบันทึก: 35687เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2015 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าสนใจมากครับ
  • ผมพลาดที่จะได้อ่านเรื่องดีมากเหลือเกิน
  • เขียนมาอีกนะครับ ผมจะอ่านทุกบันทึกเลยครับ

ขอบคุณมากค่ะ

         น่าแปลกที่ทุกครั้ง คุณลิขิตได้สัมผัสกับคนทางด้านชุมชน ที่สัมผัสพื้นสัมผัสดิน สัมผัสปัญหา แล้วใช้จิต ใช้ใจ ที่ไม่ใช่วัตถุ เข้ามาพูดคุย สื่อสารด้วย แสดงออกถึง ความรัก ความห่วงใย ในชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์    ...มันปลุกเร้าอุดมการณ์ในตัว  จนเกิดจินตนาการ ต้องระบายออกมาเป็นข้อเขียน เพราะมันช่างมีมากมายเหลือเกินค่ะ   ในเวทีนี้ก็เป็นหนึ่งตัวอย่าง  ตอนเขียนก็มีน้ำตาซึมบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท