โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

การดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้น (ต่อ)


ดื่มมาตรฐาน (standard drink)

การดื่มแบบเสี่ยง : Hazardous/Risky Drinking หมายถึง การดื่มตั้งแต่ 5 ดื่มมาตรฐานขึ้นไปในผู้ชาย และตั้งแต่ 4 ดื่มมาตรฐานขึ้นไปในผู้หญิง หรือเทียบโดยปริมาณเหล้า(35 ดีกรี) ครึ่งแบน ไวน์ (12%) 3/4 ขวด หรือเบียร์ (5%) 4 กระป๋อง หรือ 2 ขวดใหญ่

การดื่มแบบอันตราย : Harmful Drinking/Alcohol abuse หมายถึง การดื่มแอลกอฮอล์จนได้รับผลเสียตามมา

     : ผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

     : ผลเสียทางสังคม ; การทำงาน สัมพันธภาพกับคนอื่น

ผู้ดื่มในกลุ่มนี้

- เคยประสบปัญหาทางร่างกายและจิตใจเนื่องจากการดื่มสุราเกินเกณฑ์มาตรฐานเป็น

   ประจำมาแล้ว และ / หรือ

- ได้รับบาดเจ็บ เกิดความรุนแรง มีปัญหาทางกฎหมาย บกพร่องในสมรรถภาพการทำงานหรือเกิดปัญหาสังคมเนื่องมาจากการเมาบ่อยๆ

     : ต้องดื่มสุราติดต่อกันนานอย่างน้อยหนึ่งเดือนหรือหลายครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ

     : ต้องไม่เข้ากับหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับ Alcohol Dependence

การติดสุรา : Alcohol Dependence ลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ใน 7 อย่างต่อไปนี้

1 Tolerance : ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้นจึงจะได้ฤทธิ์เท่าเดิม

2 Withdrawal : มีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม

3 Impiared control : ควบคุมการดื่มไม่ได้

4 Cut down : มีความต้องการอยู่เสมอที่จะเลิกดื่มหรือพยายามหลายครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ

5 Time spent drinking : หมกมุ่นกับการดื่มหรือการหาสุรามาสำหรับดื่ม

6 Neglect of activity : มีความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม อาชีพการงานหรือการพักผ่อนหย่อนใจ

7 Drinking despite problems : ยังคงดื่มอยู่ทั้งๆที่มีผลเสียเกิดขึ้นเร็ว

ภาวะเมาสุรา : Alcohol Intoxication ภายหลังการดื่มเหล้าแล้วมีอาการพฤติกรรมและจิตเปลี่ยนแปลงดังนี้

A. หลังดื่มสุราไม่นาน

B. แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม ก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ตัดสินใจไม่ดี หน้าที่การงานและสังคมบกพร่อง อาการเกิดระหว่างหรือหลังดื่มสุรา

C. ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ

   1 Slur speech : พูดไม่ชัด

   2 Incoordination : การทรงตัวไม่ดี 

   3 Unsteady gait :เดินไม่ตรงทาง

   4 Nystagmus : กล้ามเนื้อตากระตุก

   5 Impairment in attention or memory : ความจำและสมาธิเสีย

   6 Stupor or coma :

D. อาการดังกล่าวไม่ได้เป็นผลจากโรคทางกาย หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วการดื่มจนมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood Alcohol Concentration ; BAC) มากกว่า 50 mg% (หมายถึงระดับแอลกอฮอล์ (มิลลิกรัม) ในเลือด 100 ซีซี) ซึ่งหมายถึงการดื่มเพียง 1-3 ดื่มมาตรฐานจะส่งผลต่อสมองทำให้การรับรู้ช้าลง การประสานงานของสมองและกล้ามเนื้อเสียไป มีผลต่อการขับขี่ยานพาหนะและการทำงานกับเครื่องจักร และเมื่อดื่มปริมาณเพิ่มขึ้น ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจะยิ่งมีผลให้ความสามารถในการควบคุมตัวเองลดลง คลื่นไส้อาเจียน กดการหายใจจนถึงเสียชีวิตได้

ภาวะถอนพิษสุรา : Alcohol Withdrawal ภายหลังการหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มสุราหลังจากมีการใช้อย่างมากและเป็นเวลานาน แล้วมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 2 ข้อ

1 ความดันสูง ชีพจรเร็ว ไข้ หายใจเร็ว มีเหงื่อออก

2 มือสั่น

3 นอนไม่หลับ ฝันร้าย

4 คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

5 กระสับกระส่าย อยู่ไม่ติดที่

6 ประสาทหลอน-หูแว่ว ภาพหลอน เหมือนมีแมลงไต่

7 วิตกกังวล กลัว 

8 ชักทั้งตัว ( Grandmal seizure)

ภาวะชักจากการถอนพิษสุรา : Alcohol Withdrawal Seizure หรือ Rumfits

- พบได้ประมาณ 3-10% ของ alcohol withdrawal

- มีอาการชักแบบ tonic-clonic (grandmal)

- 95% พบได้ภายใน 48 ชม. หลังหยุดดื่ม

- อาจชักซ้ำภายใน 12-48 ชม. หลังจากชักครั้งแรก

- หาสาเหตุอื่นๆของการชัก เช่น Head injuries, CNS infection,other cerebrovascular diseases, และ Metabolic disturbance เช่น hypoglycemia, hyponatremia, hypomegnesemia

Alcohol Withdrawal Delirium / DTs  จะเล่าให้ฟังครั้งต่อไปนะคะ............

สุปราณี คอยดอน , หนึ่งฤทัย นิ่มกระโทก

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 356083เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แม้ว่าชีวิตประจำวันจะไม่มีโอกาสได้ใกล้สุรา
  • แต่ก็เป็นความรู้ที่น่าสนใจ นำไปขยายให้ผู้อื่นได้ทราบ
  • ขอบพระคุณและขออนุญาตเลยนะคะ.

สวัสดีค่ะ

ที่ทำงานมีผู้ป่วยติดสุรามารักษาบ่อยๆค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ ได้ความรู้ดีค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ผลกระทบที่เห็นโดยทั่วไปจากการดื่มสุราไม่ว่าจะต่อผู้อื่นและตนเองสร้างความเสียหาย ความเสียใจ...
  • ผู้ที่ดูแลรักษาและสร้างแรงใจให้พวกเขาสามารถ ลด ละ เลิกได้ เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งช่วยสร้างเสริมสังคมที่ดีจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท