ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

การประชุมกับโรงแรมในอยุธยาเพื่อร่วมต้อนรับชาวพุทธทั่วโลกวันวิสาขบูชาโลก ๕๓


     เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ คณะทำงานประสานงานด้านการโรงแรม ได้ประสานงานกับโรงแรมต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมประชุมและชี้แจ้งแนวทางในการทำงาน เพื่อตกลงและหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดเตรียมที่พักในโรงแรมต่างๆ คือ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อู่ทองอินน์ แคนทารี วรบุรี อโยทยา ริเวอร์วิว เอมโป ทีเอ็มแลนด์ และอาคารหอพักอาคันตุกะของมหาจุฬาฯ

     บทสรุปเบื้องต้นที่ชัดเจนคือ โรงแรมต่างๆ  ชาวพุทธทั่วโลกจะเข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น ๑,๖๕๐ รูป/คน  และจะเข้าพักตั้งแต่วันที่ ๒๐-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งจะกระจายไปตามโรงแรมต่างๆ ทั้ง ๙ แห่ง

     โรงแรมต่างๆ เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดบรรยากาศให้สอดรับกับการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ที่จะจัดขึ้น ณ เมือง มรดกโลก  ประเด็นคือ วิสาขบูชาโลกได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติให้เป็น "วันสำคัญสากลของโลก" ส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโกให้เป็น "เมืองมรดกโลก"  ฉะนั้น การจัดงานนี้จึงสะท้อนความสำคัญของความเป็นงาน "ระดับโลก" เพื่อชาวพุทธทั่วโลก

     โรงแรมต่างยินดีและพร้อมใจที่ประดับด้านหน้าและด้านในของโรงแรมตัวเองเพื่อให้ร่วมประชาสัมพันธ์และแสดงสัญลักษณ์ของการจัดงานและร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้

 

 

 

     ขออนุโมทนาทีมงานทุกท่าน  นำโดย ท่านผู้อำนวยการกองวิชาการ พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที ในฐานะเป็นคนอยุธยาโดยกำเนิด  โยมเอื้อมอร ชลวร พร้อมทั้งทีมงาน ได้จัดเตรียมและประสานงานกับโรงแรมต่างๆ มาเป็นระยะเกือบเจ็ดเดือน  และทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชาวพุทธทั่วโลกจะได้รับความสะดวกสบายตามสมควรแต่อัตภาพ และมีกำลังกายกำลังใจที่จะเข้าร่วมประชุม และร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๗ โดยมีชาวพุทธทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอยุธยาร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้


ด้วยธรรมะ พร และเมตตา
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 355928เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการครับ

น่ายินดีกับอยุธยาครับกับเมืองมรดกโลกและได้เป็นสถานที่จัดงานระดับโลก

ถือเป็นโอกาสที่ดีมากแล้วครับ

การต้อนรับแขกเมืองเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าที่สร้างภาพจน์ที่ดีให้กับประเทศไทยมานานแล้วครับ

สิ่งสำคัญก็คือ ไม่เฉพาะเพียงผู้จัด หรือผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีส่วนรับแขกบ้านแขกเมือง

แต่ประชาชนทุกคน มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกันครับ

ที่อินเดีย ผมชอบใจวัฒนธรรมการเจิมหน้าผากที่เรียกว่า ตีลัก ถือเป็นประเพณีที่ดีมาก ใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองได้

อันที่จริงแล้ว ไทยเราก็ได้นำการเจิมหน้าผากนี้มาใช้เหมือนกัน แต่ลดลงเหลือเพียงในงานมงคลไม่กี่งาน เช่นงานมงคลสมรส การเจิมสถานที่ต่างๆ

ที่อินเดีย เวลาแขกมาถึงโรงแรม จะมีการทำพิธีต้อนรับโดยการแต้มติลักนี้เพื่อเป็นการต้อนรับสู่ที่พักเสทือนเป็นบ้าน

ผมมองเห็นว่าการเจิมหน้าผากนี้ ลึกๆ แล้วมีความหมายที่ดีมาก ไม่เฉพาะการต้อนรับ หรือแสดงความเป็นฮินดู แต่มีความหมายต่อจิตใจและจิตวิญญานด้วย

สมควรที่คนไทยจะนำกลับมาใช้กันอีกที

ขอชื่นชมการทำงานที่แข็งขันครับ

นมัสการ

นมัสการครับ

เข้ามาต่อจากความเห็นแรกครับ

ประเพณีของไทย เวลาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ถ้าเป็นระดับรัฐ ก็จะมีพิธีรับที่สนามบิน และมอบกุญแจเมือง

ระดับทั่วไป ก็คงรับกันตรงทางออกผู้โดยสารขาเข้า จะมอบพวงมาลัยหรืออะไรก็ทำได้

เวลาเข้าโรงแรม ก็จะมีการต้อนรับอีกครั้ง ตามหลัก ผจ.โรงแรมก้ต้องมารอต้อนรับ มอบพวงมาลัยหรืออื่นๆ ก็สุดแต่

สังเกตุว่า อินเดียฮินดูใช้การเจิมหน้าผากต้อนรับบวกกับการคล้องพวงดอกไม้ ของไทยเราใช้มอบที่มือ

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ใช้วิธีต้อนรับโดยการคล้องผ้าพื้นเมืองที่คอผู้มาเยือน

ก็ล้วนเป็นการต้อนรับที่จะทำให้ผู้มาเยือนประทับใจได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท