โครงการจัดทำสื่อ-นวัตกรรม


  บทเรียนสำเร็จรูป
  เรื่อง ระบบนิเวศ

ผู้จัดทำ  นายเสถียรพงศ์  ใจเย็น รหัส 52741215  sec.02

หลักการและเหตุผล
           เนื่องจากปัญหาในการศึกษาเรื่อง ระบบนิเวศวิทยา ซึ่งเป็นเป็นเนื้อหาที่มีความซับซ้อน เนื่องจากเป็น เนื้อหาที่ต้องมีการแสดงลำดับขั้นตอน และวัฎจักรต่าง ๆ ดังนั้นผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ยาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการนำสื่อใช้ในการประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้จากแผนภาพพร้อมคำบรรยาย ซึ่งจากการเรียนจากแผนภาพจะช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่เป็นลำดับ รวมทั้งง่ายต่อการจดจำและทำความเข้าใจอีกด้วย
           ดังนั้นจึงได้จึดทำ สื่อการเรียนรู้ เป็น บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบนิเวศขึ้นมา โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแผนภาพที่เป็นผังความคิดรวบยอด บทสรุป กิจกรรม และแบบทดสอบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์
           การจัดทำสื่อนวัตกรรม บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบนิเวศ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เข้าใจ และสามารถอธิบายความหมายของระบบนิเวศและโซ่อาหาร การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ และสามารถจำแนกองค์ประกอบของโซ่อาหาร รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตใน โซ่อาหารประเภทต่าง ๆ ได้

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรม
           - บทเรียนสำเร็จรูปนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอน ในวิชา วิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่อง ระบบนิเวศ
           - สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และผู้ที่มีความสนใจศึกษาเรื่อง ระบนิเวศ
           - เนื้อหาของ ระบบนิเวศ ครอบคลุม เนื้อหาเรื่องความหมาย และองค์ประกอบของระบบนิเวศ
           - เนื้อหาของ โซ่อาหาร ครอบคลุม เนื้อหาความหมายโซ่อาหาร, องค์ประกอบของโซ่อาหาร และประเภทของโซ่อาหาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
           - ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบนิเวศ (ฉบับสมบูรณ์) จำนวน 1 เล่ม
           - บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบนิเวศและโซ่อาหาร ฉบับสมบูรณ์
    เมื่อผู้เรียน ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป เล่มนี้จบแล้ว
           - ผู้เรียนสามารถเข้าใจ และอธิบายความหมาย และองค์ประกอบของระบบ นิเวศได้
           - ผู้เรียนสามารถบอกความหมาย และองค์ประกอบของโซ่อาหารได้
           - ผู้เรียนสามารถจำแนกประเภทของโซ่อาหารได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน
        1. วิเคราะห์ปัญหา ของผู้เรียน กับ เนื้อหากำหนดวัตถุประสงค์ การจัดทำสื่อนวัตกรรม
        2. รวบรวมข้อมูลเนื้อหา และกำหนด กรอบการเรียนรู้ และแนวทางในการวัดผลประเมินผล
        3. แบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบการเรียนรู้
            3.1 แบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบการเรียนรู้ ทั้งหมดเป็น 5 กรอบสาระ
                  -  กรอบที่ 1 ระบนิเวศ
                  -  กรอบที่ 2 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
                  -  กรอบที่ 3 โซ่อาหาร
                  -  กรอบที่ 4 สายใยอาหาร
                  -  กรอบที่ 5 ภาวะสมดุลของระบบนิเวศ
            3.2 การเรียนรู้ จะเป็นแบบ เส้นตรง โดยให้ผู้เรียนศึกษาตามกรอบโดยเรียงลำดับตามกรอบ
           การจัดการเรียนรู้
                  -   ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับ คำชี้แจงการใช้บทเรียนสำเร็จรูปสำหรับผู้เรียน
                  -   ให้ผู้เรียนปฎิบัติตามคำชี้แจงอย่างเคร่งครัด
                  -   ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                  -   จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนตามกรอบอย่างเป็นลำดับ โดยภายในแต่ละกรอบจะประกอบไปด้วย เนื้อหา และกิจกรรมท้ายกรอบ
                  -   เมื่อศึกษาเนื้อหาในกรอบเรียบร้อยแล้ว ให้ทำกิจกรรมต่อ เพื่อเสริมความเข้าใจกับเนื้อหาของแต่ละกรอบ
                  -   ผู้สอนจะเป็นผู้ควบคุม และให้คำแนะนำ ในส่วนของการใช้บทเรียน และส่วนของเนื้อหาด้วย (ผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษาเนื้อหา ตามสาระที่ระบุไว้ และศึกษาคู่มือครู อย่างละเอียดก่อนทำการจัดกิจกรรม)
                  -   เมื่อผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้สอนสรุปความคิดรวบยอด
           3.3 การวัดผลประเมินผล
                 -   การประเมินทางด้านพุทธพิสัย
                         - แบบทดสอบก่อนเรียน
                         - กิจกรรมท้ายกรอบ ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80  
                         - แบบทดสอบหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
                 -   การประเมินทางด้านจิตพิสัย
                         -  การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน ความมีวินัยต่อตนเอง
                         -  การมีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา
        4. เรียบเรียง และเขียนโครงร่าง บทเรียนสำเร็จรูป
        5. จัดทำ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบนิเวศและโซ่อาหาร (ฉบับร่าง) แล้วให้ผู้ชำนาญการประเมินความสอดคล้อง และทดลองใช้บทเรียนกับกลุ่มเป้าหมาย
        6. ตรวจทาน และแก้ไขข้อผิดพลาด ของบทเรียน แล้วจัดทำฉบับสมบูรณ์

ระยะเวลาในการจัดทำ

        1 - 25 พฤษภาคม 2553

งบประมาณที่ใช้
         - กระดาษ                        50 บาท
         - ดินสอสี                         25 บาท
         - อุปกรณ์จัดทำรูปเล่ม     100 บาท                                               
         - หมึกพิมพ์                    250 บาท
                                   รวม    425 บาท

บรรณานุกรม
         - หนังสือเรียน หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
         - หนังสือเรียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
         - ข้อมูลเพิ่มเติมจาก website

หมายเลขบันทึก: 355616เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โครงการนี้...ใช้เนื้อหาระดับชั้นใดครับ ?

โครงการนี้...อ้างอิงจากหลักสูตรใดครับ ?

บทเรียนสำเร็จรูปมีการวางกระบวนการเรียนอย่างไรบ้างครับ ?

กระบวนการเรียนภายในบทเรียน ?

สวัสดีครับอาจารย์

ผมได้ทำการแก้ไขและเพิ่มเติม ส่วนที่ขาดไปแล้วนะครับ

ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำนะครับ

 

ปล. เนื่องจากที่บ้านไม่มีเน็ต ทำให้การส่งงานติดขัดไปบ้าง ต้องขอโทษ

      อาจารย์ด้วยนะครับ ที่ไม่สามารถทำตามแผนงานที่อาจารย์กำหนดไว้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท