เหตุใดผู้เสนอตนเป็นตัวกลางเจรจาจึงไม่ควรประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง?


“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ชี้ประเด็นการละเมิดสิทธิและเรียกร้องให้ผู้ละเมิดยุติการกระทำดังกล่าวนั้นดีครับ แต่เมื่อได้เสนอตนในบทบาทเป็นตัวกลาง การ "ประณาม" ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทำให้สูญเสียสถานะความเป็นกลาง”

ขออภัยที่ผมลบข้อความในบันทึก เรื่อง เหตุใดผู้เสนอตนเป็นตัวกลางเจรจาจึงไม่ควรประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง? ออกไปทั้งหมดแล้ว

ผมตัดสินใจลบข้อความในบันทึกนี้ออกเพราะมีกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง
กรุณาให้ความเห็นว่ามีข้อความที่อาจทำให้มีคนเข้าใจว่าเป็นการตำหนิหรือกระทั่งประณามองค์กรที่ผมเขียนถึง ทำให้ผมได้คิดและรู้สึกเสียใจ จึงขอขอบพระคุณกัลยาณมิตรท่านนี้

จริงๆ แล้วผมไม่มีเจตนาประณามใคร (หรือแม้แต่การตำหนิผมก็ไม่ทำ ทำไปแล้วก็รู้สึกเสียใจภายหลังทุกครั้ง พยายามให้เป็นการเตือนการสอนการขอความกรุณาด้วยความจริงใจมากกว่า) เบื้องหลังจริงๆ ของคำว่า "วุฒิภาวะทางธรรม" ในกรณีนี้ที่คนอ่านอาจไม่เข้าใจว่าคืออะไร คำอธิบายของผมคือ ผมคิดว่ามนุษย์เราไม่ว่าระดับปัจเจก กลุ่ม หรือสังคม ไม่ควรมีใครถูกประณาม ไม่ว่าด้วยเรื่องอะไรทั้งสิ้น โดยเป็นการตีความเรื่องพรหมวิหารธรรม (เมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขา) ของผมเอง และผมจึงไม่ทำเช่นนั้นอีก (แม้ในอดีตเคยทำ)

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
๔ พ.ค.๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 355591เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

แวะมาอ่านบันทึกดีๆครับ ใช่ครับความเป็นกลางต้องเป็นกลาง ดำเนินการอย่างโปร่งใสครับ ขอบคุณครับ

ผมเคยร่วมกิจกรรมโต้วาที เขาจะมีคนกลาง ควบคุมให้แต่ละฝ่ายแสดงเหตุผล โดยไม่แสดงความคิดเห็น

ให้ทุกฝ่ายได้พูดตามหลักการที่เขามีข้อมูล ในกรณีเด็กทะเลาะกัน ผมจะให้แต่ละคนพูดเหตุผลของตน

พร้อมทั้งให้เขาหาทางออกให้กับตนเอง วินิจฉัยการกระทำของตนเอง

อ่านข้อคิดอาจารย์ที่ไรทำให้มีความหวังกับสังคมไทยครับ

ขอบคุณคุณเดชาและอาจารย์พรชัยที่แสดงความเห็นครับ

รังสรรค์ เรืองสมบูรณ์

คณะกรรมการควรประนามพฤติกรรมที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นใคร และมีชื่อเสียงเรียงนามว่ากระไร

นั้นเป็นการแสดงออกถึงความเป็นกลางตรับ ที่ควรสนับสนุนให้กระทำครับ

การที่ไม่ประนาม พฤติกรรมที่ผิดเพราะว่า คณะกรรมการสิทธิฯ กำลังจะเข้าไปเจารจานั้น เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย

เราประนามพฤติกรรมที่ผิด แต่เราไม่ได้บอกว่าผู้กระทำเป็นมนุษย์เลวนะครับ ขอให้แยกประเด็นพฤติกรรม ออกจากตัวของตัว หรืออัตตาแล้ว ทุกคนจะได้เห็นว่าพฤติกรรมสามารถเปลี่ยนได้ แต่อัตตามันไม่ยอมเปลี่ยนครับ หรือเปลี่ยนยากครับ

เราอยู่ในสังคมที่มีกติกา ที่กำหนดพฤติกรรมที่ส่วนใหญ่ยอมรับ ก็ต้องคงไว้รักษาไว้ครับ อย่าไปเปลี่ยนกติกา เพราะว่าคณะกรรมการฯ กำลังจะทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง

ดูคณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญ ในอดีตเป็นตัวอย่างซิครับ ที่ตัดสินคดีซุกหุ้นภาคที่หนึ่ง ที่เปลี่ยนบทบาทของตัวเอง โดยไปเอาเกณฑ์ที่ประชาชนเลือกอตีดนายกว่ามีจำนวนมาก เลยเปลี่ยนบทบาทตัวเองไปเป็นอะไรก็ไม่รู้ แล้วตัดสินคดีอยู่บนพื้นฐานอื่นนอกเหนือจากการใช้บรรทัดฐานความถูกต้องและหน้าที่ในฐานะศาล จนประเทศไทยต้องบรรญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ว่า "เป็การกระทำทุจริตโดยสุจริตใจ"

หากคณะกรรมการสิทธฺฯ ไม่ทำหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมา ที่เรามักผูดกันว่า "ผิดก็ว่าไปตามผิด และถูกก็ว่าไปตามถูก" แล้วละก็ ผมคนหนึ่งที่จะประนามการทำหน้าที่และพฤติกรรมที่ไม่เหมาสมนี้

ดังนั้นขออย่าให้เพื่อนหลงประเด็น ว่าการจะไปเป็นคนกลางแล้วต้องลืมบทบาทหน้าที่ของตนเองครับ

รังสรรค์ หมี เรืองสมบูรณ์

ดิฉันมีความเห็นอย่างนี้ค่ะ

  • การชุมนุมที่ไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่ยอมรับได้
  • การชุมนุมที่ละเมิดกฎหมาย เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และควรใช้กฎหมายจัดการ
  • การชุมนุมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ สมควรใช้ฉันทามติทางสังคมจัดการ 
  • "การประณาม" เป็น การแสดงฉันทามติทางสังคม  ดังนั้นดิฉันรับได้และเห็นด้วยที่ผู้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลสมควรถูกประณามอย่างรุนแรงจากทุกภาคส่วนในสังคม  โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
  • การที่แกนนำบางคนสำนึกผิด และออกมาขอโทษ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขายังมีความเป็นมนุษย์อยู่  และยังใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้อื่นในสังคม  ถือเป็นนิมิตรที่ดี
  • การแก้ไขความขัดแย้งก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้  และสิ่งที่อาจารย์เสนอมาก็เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ
  • สุดท้าย ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาเขียนหนังสือดีชื่อ “โลกสดใสเมื่อคนไข้กับหมอปฏิบัติต่อกันฉันมนุษย์”

ขอบคุณ รังสรรค์ เรืองสมบูรณ์ [IP: 203.130.131.242]

เมื่อ จ. 03 พฤษภาคม 2553 @ 14:38

เห็นด้วยกับเพื่อนว่า เราควรแยก "พฤติกรรม" กับ "ตัวตน" ของบุคคลครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเองรู้สึกไม่สบายใจหากจะต้องร่วมกับใครประณามใคร แม้จะรู้สึกว่าใครทำอะไรไม่สมควรอย่างรุนแรงก็ตาม และก็รู้สึกไม่ดีที่ไปว่ากล่าวคนที่ประณามคนอื่นด้วย จึงได้ลบข้อความเดิมในบันทึกนี้ไปแล้ว

รักเพื่อนเสมอ

'เชษฐ 4 เมษา 53

ขอบคุณ P nui เมื่อ จ. 03 พฤษภาคม 2553 @ 15:04 ที่แสดงความเห็นที่ให้ข้อคิดมาก

หนังสือโลกสดใสนำมาจากบันทึกในบล็อกแรงบันดาลใจนี้ครับ ที่บันทึกไว้ขณะและหลังผ่าตัดแล้วเกิดแรงบันดาลใจครับ

สุรเชษฐ

เห็นด้วยกับ คุณ รังสรรค์ เรืองสมบูรณ์ และ คุณ nui

แต่ไม่เห็นด้ยกับ สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์ นะครับ

หากการประณามทำไม่ได้ จะยกย่องสนับสนุนกันไปทำไม?

คนเราเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างดีและชั่วได้(ในชีวิตหนึ่ง) ถ้าไม่แน่จิรง

ขอบคุณ คุณ P เอกชน ครับ สำหรับความเห็นที่น่าคิด

ผมอ่านแล้วเกิดสงสัยขึ้นมาว่า เมื่อคนเราเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างดีและชั่วได้

การประณามจะช่วยเหลือหรือช่วยอนุเคราะห์คนชั่วให้เปลี่ยนเป็นคนดีได้หรือไม่?

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท