เรียนรู้ร่วมกับ QRT ราชบุรีครั้งที่ 1


การพัฒนาคือการเรียนรู้ รู้จักตัวเอง และรู้หนทางแก้ปัญหาจากทุกคนในองค์กร

สองวันที่ผ่านมาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมพัฒนาคุณภาพของจังหวัดราชบุรี  ในโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ Provincial Learning network โดยการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสสจ.ราชบุรี โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพทั้งจังหวัดให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันตามมาตรฐาน HA ซึ่งมีรพ.ในจังหวัดที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ รพ.สวนผึ้ง รพ.ปากท่อ รพ.เจ็ดเสมียน บางแพ วัดเพลง รวม 5 รพ. ค่ะ

กระบวนการเรียนรู้ของเราเริ่มต้นที่รพ.สวนผึ้ง รับอาสาเป็นพื้นที่ เป็นโรงเรียนให้นักเรียนอย่างพวกเราได้ร่วมเรียนรู้ และเชื่อว่าผลแห่งการเรียนรู้ น่าจะเกิดประโยชน์ทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่โรงพยาบาล ทีม QRT และสรพ. มีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนาเพื่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ผู้รับบริการของเรา

หลักการเรียนรู้ ของเราที่สำคัญคือ การพัฒนาทักษะของการ Coach การนำ Appreciative Inquiry เป็นตัวเดินเรื่อง โดยเราเริ่มจากเรื่องราวดีๆ ของรพ. เรื่องที่เขาภาคภูมิใจ และสืบค้นต่อไปว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังนั้นคืออะไร

บริบทของรพ.นี้เป็นอย่างไร และสุดท้าย

มองเห็นผลของเรื่องนั้นหรือไม่ อย่างไร

การเรียนรู้ของพอลล่าสรุปได้ดังนี้ สำหรับของทีมกำลังดำเนินการให้ทีมได้สรุปและเรียนรู้กันอยู่

  • การเริ่มงานวันแรกรู้สึกเกร็งๆ ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะเป็นครั้งแรก ยังไม่รู้เขา รู้เรา เป็นครั้งแรกที่ได้ทำหน้าที่เป็น Coach ให้กับพี่ๆทีม QRT จังหวัด จะทำอย่างไรให้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย แต่ด้วยความตั้งใจและคิดดีของเราทั้งสองฝ่ายทำให้การพัฒนาของเราเป็นไปด้วยดี ราบรื่น บรรยากาศการเรียนรู้แบบผ่อนคลาย เชิงบวกมากกว่า และยิ่งรู้สึกว่าดีขึ้นเมือได้ทดลองในรพ.ที่สอง เนื่องจากเพราะพี่ๆ มีประสบการณ์จากรพ.แรกแล้ว วันแรกเราเรียนรู้ Unit Optimization วันที่สองเรียนรู้เรื่อง Patient Safety
  • การเรียนรู้โดยอิงบริบท อิงข้อมูลพื้นฐานจากรพ. เป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องที่ยังเป็นปัญหาของรพ.ได่ชัดเจนมากขึ้น เช่นปัญหา ทารกพร่องออกซิเจน Birth Asphyxia ทีมไดมีการพัฒนาจนผลงานดีขึ้นแต่ยังพบว่า กลับมาสูงขึ้นอีกในปีนี้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องนำบริบทคนไข้มาวิเคราะห์ให้เห็นภาพชัดเจน ว่าเป็นคนไทย คนพื้นที่สูง คนต่างด้าว คนที่ฝากครรภ์ครบกำหนด หรือคนพม่าที่ไม่ได้ฝากครรภ์แล้วมาคลอดที่รพ. หากเราวิเคราะห์ได้ชัดเจน จะสามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็นมากขึ้น และรู้ว่าควรจะแก้ปัญหา ณ จุดใดก่อนด้วยค่ะ
  • การเริ่มจาก AI และต่อยอดให้เห็นโอกาสพัฒนานั้นต้องเริ่มจากการเรียนรู้วิธีการทำงานของเขาจริงๆ เริ่มจากงานของเขาก่อน หากเริ่มจากการตรวจสอบ อาจจะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ไม่ราบรื่น ซึ่งประเด็นของการ Check list นี้ทำง่ายกว่าการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เพราะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ น่าจะเริ่มจากคนทำงานมองผลงานของเขาอบย่างไร รู้สึกอย่างไร แล้วจึงลงไปที่การวัด หมายถึงต้องดู ระดับของการพัฒนาร่วมด้วยนั่นเอง คำถามที่ sensitive คือคำถามเรื่องตัวชี้วัด ซึ่งไม่ได้ประโยชน์มากนัก หากรพ.ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นการพัฒนา การพัฒนาตามทางไปสู่เป้าหมายนั้นสำคัญกว่า ว่าทีมงานได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร คุณค่าที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ตรงไหน

  • แนวคิดพื้นฐานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังก้สำคัญไม่แพ้กัน หรือที่เราเรียกว่า core value ค่านิยมขององค์กร ฐานคิดของคนนั้นที่จัดการเรื่องนั้น มีฐานคิดมาจากอะไร ตัวอย่างเช่น ในทีมเราคุยกันว่าคนไข้รอคลอด เมื่อคลอดเสร็จแล้ว รพ.มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่จึงจำเป็นต้องนำคนไข้มาสังเกตอาการที่ห้องรอคลอด 2 ชม. จำเป็น ต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือไม่ เพราทะนำมานอนเตียงเดิมก่อนย้ายคนไข้ อ่ะ ..ตอบคำถามทางวิชาการก็คือจริงๆแล้ว เกิดการปนเปื้อนแน่นอน และถ้าฐานคิดที่จะช่วยเรื่องนี้คือ หากเป็นท่านท่านต้องการที่จะนอนที่นอนแบบไหน นอนที่นอนที่มีผ้าปูที่นอนเดิมก่อนคลอดซึ่ง แน่นอนย่อมมีมูกเลือดเปรอะเปื้อนแน่นอน หากเรามองที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เราจะจัดการอย่างไร ซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่ยากเลยที่จะสามารถจัดการได้

  • บริบทรพ. ที่มีการผ่าตัดน้อยมากๆ ไม่มีแม้แต่ทำหมัน แต่หัตถการที่สำคัญคือการทำฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด รักษารากฟันและหัตถการในช่องปากมากมาย แต่วธีการแก้ปัญหาของรพ.คือการจัดการหน่วยจ่ายกลางแบบรวมศูนย์ แต่ที่ทันตกรรมมีการดำเนินการ ล้าง ห่อ นึ่ง เองทั้งหมดในห้องทันตกรรม ถ้ามองบริบทที่ชัดเจนแบบนี้ คงได้คำตอบในการทำงานไม่ยากนะคะ ว่าควรให้ความสำคัญกับหน่วยทันตกรรมในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อให้มากขึ้น

  • การพัฒนา HA หรือการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอื่นๆ สามารถบูรณาการเข้าหากันได้ หากเราเข้าใจ ว่าทำเรื่องนั้นไปเพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไร ไม่ใช่ทำเพราะเขาสั่งให้ทำ สั่งให้มี จะรู้สึกว่าเป็นภาระ ทำอย่างไรให้นำปัญหาจากคนทำงานหน้างานจริงๆ มาออกแบบระบบ มาแก้ไขปัญหาในการทำงานของเขา เพราะการพัฒนาคุณภาพไม่ใช่การประชุม ประชุมไปก็อาจจะไม่เกิดประโยชน์ เพราะเรายังไม่รู้ตัวตน ไม่รู้ปัญหาจริงๆของคนทำงาน การพูดคุยกันโดยไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริง และไม่มองภาพรวมของการพัฒนาทั้งองค์กร ไม่มองเชิงระบบทำเป็นเรื่องๆ ย่อมทำให้เกิดภาระและเหนื่อยล้า HA ไม่ได้บอกว่าต้องทำทุกเรื่องให้ดีหมด แต่ต้องรู้ว่าที่ทำอยู่นั้นใช่ปัญหาสำคัญของเราจริงๆหรือไม่ จะกำหนดเป้าหมายของเราในแต่ละช่วงเวลาเพื่อพัฒนาเรื่องของเราให้บรรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างไร
  • การใช้ทักษะทางวิชาชีพร่วมกับความเห็นของสหสาขาวิชาชีพ จะช่วยทำให้ระบบแข็งตัวที่วางไว้นำสู่การปฏิบัติหน้างานมากขึ้น การปรับแนวทางของการติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์จากยาเสี่ยงสูง แพทย์สนใจตัวไหน และจะต้องรายงานเมื่อใด โดยประเมินจากคนไข้แต่ละรายจะได้ประโยชน์มากมายมหาศาล จริงๆ ค่ะ

อยากบอกว่าได้เรียนรู้มากมายจริงๆ กับการพัฒนาคุณภาพตามแบบฉบับราชบุรี ขอเรียกว่า Ratchaburi ‘s Model แล้วกันนะคะ หวังว่าพี่ๆ QRT และรพ.ที่สนใจคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ha#qrt ราชบุรี
หมายเลขบันทึก: 355378เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พยายามอ่านอย่างช้าๆเพื่อทำความเข้าใจ

คงจะมาติดตามอย่างต่อเนื่องค่ะ

งานคุณภาพต้องเรียนรู้เรื่อยๆ

ขอบคุณบันทึกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจค่ะ
  • ไม่กี่วันก็จะได้เจอกันที่หนองคายแล้วนะคะ
  • วันนี้จะเตรียมซื้อของมาปรุงน้ำพริกไปฝากค่ะ
P
สวัสดีคะพี่นาง
ไม่เข้าใจตรงไหนคะ
พอลล่าอธิบายให้ฟังคะ
ขอบคุณคะ
P
พี่กาแฟคะ
ไม่จองก็ไม่ทันสิคะ อิอิ

สวัสดีครับคุณน้อง... รอต้ังนานนึกว่าจะมา ที่แท้แค่ถามเล่น ๆ (ฮิ ฮิ...)

P
พี่ครูคิมเจ้าคะ
พอลล่าไม่ได้ชิม น้ำพริก ฝีมือพี่ครูคิมเลยเจ้าค่ะ อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท