มันขี้หนู


อย่าลืมมาอุดหนุนมันที่ชื่อเล็กแต่ประโยชน์ใหญ่

อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทำการเกษตร 97,578ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล) แต่มีพืชล้มลุกที่แทรกอยู่ในพืชเศรษฐกิจซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่นิยมปลูกในช่วงฤดูฝนถึงปีละกว่า 2,000ไร่ ปลูกในเขตพื้นที่ที่เป็นดินทราย ทางใต้เรียกพืชชนิดนี้ว่า มันขี้หนู เพราะว่ามีหัวใต้ดินเล็กๆที่เกิดจากรากที่สามารถรับประทานได้ ทำได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา

มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายมากโดยเฉพาะกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย และในมันขี้หนูมีส่วนประกอบของน้ำ คาร์โบไฮเครต โปรตีน ไขมันและที่สำคัญแคลเซียม วิตามินซี เบต้าแคโรทีน

การปลูกมันขี้หนูทำได้ง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกระหว่างแถวของยางพารา (อก) ที่อายุไม่เกิน 3 ปี ใช้ยอดในการปลูก เช่นเดียวกับมันเทศ อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน การใส่ปุ๋ยเกษตรกรใช้ปุ๋ยหมัก พด2 ซึ่งให้ทั้งปุ๋ยและป้องกันหนอนกินใบ ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 15 - 20 บาท

อย่าลืมมาอุดหนุนมันที่ชื่อเล็กแต่ประโยชน์ใหญ่

หมายเลขบันทึก: 355210เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2010 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • ปีนี้ จะลองไปขุดดูเองถึงในแปลงปลูกเลย
  • ถ้าถึงฤดูที่ออกมากๆ อย่าลืมส่งข่าวให้ทราบด้วยนะ

มีที่ว่างอยู่ อยากลงมันขี้หนู  แต่หาพันธุ์ได้ที่ไหน ใครมีช่วยด้วย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท