บันทึกจากเวทีถอดบทเรียน "การบริหารจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง"


ช่วยเล่า ช่วยอธิบาย จากผู้มีประสบการณ์ แล้วจะจับประเด็นและบันทึกกันอย่างไรกับการสนทนากลุ่ม 14 คน

   เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ดิฉันและทีมงาน (กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร และสำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร) ได้ไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อถอดบทเรียนที่ได้ผลจากการบริหารจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง กับเกษตรอำเภอและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 14 คน ได้ใช้เทคนิคสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ได้ข้อมูลภาพรวมของการบริหารจัดการงานดังกล่าว

  การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือหลักที่ได้นำเข้ามาใช้ค้นหาเทคโนโลยีที่ได้ผล แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี และจัดเก็บองค์ความรู้ ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีวิชาการเพื่อควบคุม กำจัด และป้องกันเพลี้ยแป้งฯ และ 2) ภูมิปัญญาของเกษตรกร

   ซึ่ง สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกันปฏิบัติการแก้ปัญหารายได้ลดลงของเกษตรกร จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

   องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานก็คือ 1) ใช้วิธีการชุมชนควบคุมชุมชนคือ "กฎบ้าน" 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรใช้วิธีการ "นำทำ และ พาทำ" 3) ปฏิบัติการแก้ปัญหาเพลี้ยแป้งฯ คือ สร้างความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ สร้างความรู้ให้กับเกษตรกร และค้นหาองค์ความรู้มาใช้ทำงานเชิงรุก "ศึกษาพื้นที่ โดยใช้ RRA" และ 4) ผลที่เกิดขึ้นก็คือ การจัดการเพลี้ยแป้งฯ ใช้กลยุทธ์ "ค้นหา ให้ และสร้างเทคโนโลยี"

   ดังนั้น การบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการเล่าประสบการณ์ตามประเด็นของผู้นำสนทนากลุ่ม ได้จับประเด็นและเขียนโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มข้อมูล ลำดับเนื้อหา และเชื่อมโยงเหตุและผลที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อสรุปและสะท้อนข้อมูลให้กับกลุ่มได้รับทราบ

 

หมายเลขบันทึก: 355090เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2010 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท