เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

พิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาสของลานกระบือ


         ความเป็นมาของการกวนข้าวทิพย์อําเภอลานกระบือ เริ่มดําเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ระหว่างกรรมการวัดแก้วสุริย์ฉายร่วมกับสํานักงานเทศบาลตําบลลานกระบือ  โดยสํานักงานเทศบาลตําบลลานกระบือได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนปีละ ๒๐,๐๐๐.-บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน
         การกวนข้าวทิพย์ในปัจจุบัน พิธีกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส ของชาวลานกระบือ จะทํากันในวันวิสาขบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖)  ณ บริเวณวัดแก้วสุริย์ฉาย ตําบลลานกระบือ ซึ่งตามความหมายที่เล่าสืบต่อกันมา ข้าวทิพย์ จะมีส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงมากกว่าข้าวมธุปายาส แต่ชาวอําเภอลานกระบือ ได้นําเอาส่วนประกอบและพิธีการทั้งสองอย่างมารวมกัน โดยเข้าใจว่า ข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาสก็คือข้าวชนิดเดียวกัน
 
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้
๒. เพื่อให้ประชาชนเกิดความรัก และความสามัคคีที่ได้มาทํากิจกรรมร่วมกัน
๓. เพื่อให้ประชาชนเห็นคุณค่า และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม อันถือเป็นมรดกของชนชาติไทย และได้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
 ขั้นตอนในการด าเนินการกวนข้าวทิพย์  สรุปได้ดังนี้
 ขั้นเตรียมการ
         ก่อนถึงวันวิสาขบูชา (วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ประมาณ ๑๐ – ๑๕ วัน จะทำการประชาสัมพันธ์ให้ทราบทางหอกระจ่ายข่าว และเครื่องขยายเสียงของวัดแก้วสุริย์ฉาย เชิญชวนชาวบ้านในเขตตําบลลานกระบือ หรือผู้มีจิตศรัทธาบริเวณใกล้เคียงรวมกันบริจาคเครื่องปรุงสําหรับกวนข้าวทิพย์  เพื่อนํามาสมทบกับงบประมาณของสํานักงานเทศบาลตําบลลานกระบือที่ให้การสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องปรุง ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาจะเครื่องปรุงมารวมกันที่วัดแก้วสุริย์ฉาย ตามแต่ศรัทธา อาทิเช่น  มะพร้าวมีผู้มาบอกให้ทางวัดจะจัดหาบุคคลไปขึ้นมะพร้าว และมาช่วยกันเพื่อมาจัดเตรียมอุปกรณ์ในการประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์  จัดสถานที่ และจัดเตรียมเครื่องปรุง  
สถานที่ในการประกอบพิธี ประกอบด้วย
- ราชวัตรฉัตรธงทั้ง ๔ ทิศ
- ก้านใบมะพร้าว หรือทางมะพร้าวใช้สําหรับตกแต่งให้สวยงาม
- สายสิญจน์ ใช้ผูกระหว่างเสาไม้ ไขว้ไปมา

 

อุปกรณ์ในการกวน ประกอบด้วย
-  เตา ทําจากถังน้ำมันขนาด ๕๐๐ ลิตร    นํามาตัดให้มีความสูงประมาณ ๒ ฟุต
- กระทะใบบัว
- พายไม้

อุปกรณ์ในการปรุง ประกอบด้วย 
- ข้าว ใช้แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเจ้า   ถั่วลิสง งาดํา งาขาว  น้ำผึ้ง  น้ำตาลทราย  นมข้นหวาน  มะพร้าว คั้นเอาแต่กะทิ เนย

 

ส่วนผสมที่ต้องเตรียมก่อนวันประกอบพิธีในกวนข้าวทิพย์
       ๑.  ถั่วลิสง  คั่วให้เหลือง มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นนําทําการ กะเทาะเปลือกทิ้ง นําไปเข้าเครื่องบด
       ๒.  งาขาวและงาดํา คั่วให้เหลือง มีกลิ่นหอม ทิ้งไว้ให้เย็นนําไปใส่ครกตําให้ละเอียด 
       ๓.  มะพร้าว นําไปปลอกเปลือกกะเทาะกะลาทิ้ง เอาแต่เนื้อมะพร้าว จะนํามาใส่เครื่องขูดมะพร้าว ในตอนเช้ามืดของวันที่จะประกอบพิธี เพื่อให้ได้กะทิสดมีกลิ่นหอม
      เครื่องปรุงที่เป็นส่วนประกอบดังกล่าวข้างต้น นําใส่หม้อปิดฝาให้เรียบร้อย  เตรียมที่จะประกอบพิธี กวนในวันรุ่งขึ้น (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖)
 ขั้นด าเนินการ
       ช่วงเช้าชาวบ้านมาร่วมทําบุญตักบาตรที่ศาลาวัด หลังจากนั้นจึงมาเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
            1.นําเครื่องปรุงเตรียมไว้ทุกอย่างเทใส่กระทะใบบัวคนให้เข้ากัน ไม่มีสูตรในการกําหนดอัตราส่วนของเครื่องที่แน่นอน จํานวนข้าวทิพย์จะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่มี  ดังนั้น รสชาติในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน

 

         2.ก่อนเริ่มกวนข้าวทิพย์พระสงฆ์จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้ทําพิธีบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นสวดเจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
        ๓. นักเรียนจํานวน ๔ – ๖  คน ซึ่งเป็นสาวพรหมจรรย์ นุ่งขาวห่มขาว เริ่มกวนข้าวทิพย์  เมื่อพระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนตร์จบนักเรียนก็จะเปลี่ยนให้ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเป็นผู้กวนต่อไปจนกว่าจะเสร็จ ใช้เวลากวนประมาณ ๓ ชั่วโมง 
        เมื่อเสร็จแล้ว ก็จะแบ่งปันข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส ไปรับประทาน ถือว่าเป็นของดี ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน และนําไปฝากบุคคลในครอบครัว หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ ก่อนกลับบ้านทุกคนช่วยกันเก็บอุปกรณ์ ล้างทําความสะอาด จัดเก็บสถานที่ให้เรียบร้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะชาวบ้านตําบลลานกระบือ ซึ่งน่าจะต้องร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีอันทรงคุณค่าอยู่คู่กับชาวลานกระบือสืบไป
 ผลที่ได้รับจากการดำเนินการ
        ประเพณีกวนข้าวทิพย์” เป็นประเพณีสําคัญที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนนํามาผูกโยงให้สอดคล้อง และการครองตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีที่จะสืบสานพุทธประเพณีที่สําคัญให้คนได้รําลึกถึง...ครั้งหนึ่งฉันเคยร่วมสร้างกุศลกับคนในหมู่บ้าน หวังไว้ว่าคงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันหน้าเข้ามาทํากิจกรรมร่วมกันอีก
  ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 
๑.  ประชาชนได้รู้ถึงพุทธประวัติที่ถูกต้อง และศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้
๒.  ประชาชนได้ปฏิบัติธรรมถวายทาน รักษาศีล และเข้าใจในการปฏิบัติศาสนพิธีที่ถูกต้อง
๓.  ประชาชนเกิดความรัก และความสามัคคีที่ได้มาทํากิจกรรมร่วมกัน
๔.  ประชาชนเห็นคุณค่า และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม อันถือเป็นมรดกของชนชาติไทย และได้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป

 

เรียบเรียง โดย นางวรรณภา  ทัพมงคล
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ประจำอำเภอลานกระบือ
หมายเลขบันทึก: 354842เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2010 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

  • ตอนที่ยังเล็ก มีผู้ใหญ่บ้านมาถามว่า เป็นประจำเดือน หรือยัง
  • จากนั้นได้สวมชุดขาว และกวนข้าวทิพย์ กลิ่นถั่ว นม งา หอม โชยปะจมูกครูอ้อยยังจำไม่ลืม
  • ลูกสาว ได้กวนข้าวทิพย์เหมือนกัน
  • แต่ หลานชาย ไม่ได้กวนล่ะค่ะ

ขอบคุณที่นำเรื่องดีมาให้คิดถึง

ได้ความรู้ด้านวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา และความสามัคคีอันดีเยี่ยม

เคยชิมตอนสมัยเรียน อร่อยมาก หอมมาก เพื่อนเอามาฝาก แถวเขมรเขากวนกัน

มุทิตา คงแสงศักดิ์

ชอบมากมากค่ะ

มุทิตา คงแสงศักดิ์

หนูอยากดูรูปมากกว่านี้ค่ะ

มุทิตา คงแสงศักดิ์

จากโรงเรียนวัดหนองไม้ซุงและกลุมนักสำลวจแห่งท้องทุ้งค่ะ เหดียวจะมาดูไหม่นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท