การจัดการองค์ความรู้ (KM)


หลักสูตรเฉพาะกิจด้านการจัดการความรู้ สำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ

สำนักงานอัยการสูงสุดจัดฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการความรู้ (Knowledge management) ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการความรู้) (หลักสูตรเฉพาะกิจสำหรับสำนักงานอัยการสูงสุด)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรอบรมระยะสั้น  ด้านการจัดการความรู้

โดยแยกเป็นหลักสูตรปริญญาโท จำนวน 20 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี
หลักสูตรประกาศนียบัตร จำนวน 40 คน  เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ทั้งสองหลักสูตรเรียนวันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 17.00-20.00 น. ของทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี ณ ห้องประชุมชั้น 11

ซึ่งผู้เข้าเรียนเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ  โดยการเรียนการสอนทั้ง 2 หลักสูตร จะเรียนและทำกิจกรรมร่วมกันตลอดในช่วงระยะเวลา 3 เดือนนี้จนกระทั่งสิ้นสุดหลักสูตรประกาศนียบัตร และทราบมาว่า  จะมีการเรียนการสอนยังต่างจังหวัด  โดยการพาไปที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย เพื่อทำการฝึกปฏิบัติจริง งานนี้ทุกคนกลับมาจัดการองค์ความรู้ของสำนักงานตัวเองเป็นกันทุกคนแน่นอน

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถ ประมวลผลความรูในด้านต่างๆ เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน...”

คู่มือของสํานักงาน กพร. หมวดที่ 3: แนวทางการพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
• สร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง
• ประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
• ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อให้เป็น ผู้ที่มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณธรรม
• สร้างความมีส่วนร่วมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาในงานให้เกิดประสิทธิภาพ

เนื่องจากองค์ความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) หรือในเอกสาร (Explicit Knowledge) หากนำมาพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กรและให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนงเองให้เป็นผู้รู้ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากหลักการดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุดได้นำมาบริหารจัดการความรู้ขององค์กรอัยการ โดยกำหนดไว้ในแผนแม่บทการจัดการความรู้ พ.ศ. 2552-2561 และแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552-2556 รวมทั้งแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการความรู้และพัฒนาให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืน โดยมีรองอัยการสูงสุด (นายอนุชาติ คงมาลัย) เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ สำนักงานอัยการสูงสุด (Chief Knowledge Officer : CKO)

++วันอังคารที่ 27 เมษายน 2553 การเรียนการสอนวันแรก

การเรียนการสอนวันแรก  เพิ่งทราบว่ามีระบบการจัดการความรู้ที่สามารถทำผ่านเว็บ Portal ได้อีกด้วย ถ้าทำเช่นนี้ได้จริงการจัดการองค์ความรู้ก็จะสามารถจัดการได้อย่างเป็นระบบ และองค์กรอัยการก้าวไปสู่เป้าหมาย "องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ" ได้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ  

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

และอาจารย์ผู้สอนได้มีการนำ MS-SharePoint เข้ามาช่วยในกระบวนการทำงาน การจัดการเนื้อหา ลดความซับซ้อนสำหรับการค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามพรมแดนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมกันทั่วไปในวงการไอทีและภาคธุรกิจ

ประโยชน์ของ MS-SharePoint สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ ซึ่งฉันได้เข้าไปเอามาจากเว็บไมโครซอฟต์อีกทีค่ะ

ความรู้เบื้องต้นระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)
การนำความรู้ไปใช้ในกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ  เพื่อใช้ในการแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่าง Knowledge Workers ใน CoPs ผ่านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมาขึ้นผ่านระบบจัดการความรู้ โดยในการใช้งานระบบจัดการความรู้ของแต่ละกลุ่มชุมชนนักปฏิบัตินั้น ในระบบจัดการความรู้นี้จะประกอบไปด้วยเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นที่เรียกว่า Collaborative tools เพื่อใช้ในการแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกใน CoPs

SharePoint Technology เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้งานภายในองค์กรและการทำงานร่วมกันภายในทีมงาน โดยออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกันและใช้เอกสารร่วมกัน และใช้งานร่วมกับโปรแกรม MS-Office ได้ นอกจากนั้นยังช่วยการทำงานหลายๆ ด้าน เช่น การค้นหาไฟล์เอกสาร ประกาศ ข่าวสาร แบบสำรวจ

ซึ่งระบบจัดการความรู้นี้ เป็นระบบจัดการความรู้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้นำความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างเป็นแผนภาพความรู้ (Knowledge Map) มาแพร่กระจายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบโดยมีเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน และฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) สร้างเป็นต้นแบบ (Template) ความรู้ในระดับกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ต้นแบบระดับภารกิจและต้นแบบในระดับหลักการคิดและต้นแบบในระดับ Domain ต่อไป

แล้วพรุ่งนี้จะนำข้อมูลที่ได้จากอาจารย์มานำเสนอต่อ....ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #แวดวงไอที
หมายเลขบันทึก: 354526เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2010 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

++28 เมษายน 2553 วันนี้ฉันโดดเรียนค่ะ เลยไม่มีข้อมูลให้อ่าน

++วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2553

KM นับว่าเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาและศักยภาพบุคลากรขององค์กร หาใช่เป็นเพียงงานโครงการที่กระทำเฉพาะกิจที่เสร็จสิ้นไปตามโครงการไม่

ท่านรองอัยการสูงสุด (นายอนุชาติ  คงมาลัย) CKO ได้เขียนไว้ในบทความ วงจร KM เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 53 เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอนครั้งนี้ว่า การจัดการองค์ความรู้ต้องให้มีภารกิจ ดังนี้
1. การสร้างและรวบรวมองค์ความรู้
2. การเผยแพร่องค์ความรู้
3. การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
4. การปรับปรุงและต่อยอดองค์ความรู้

*การสร้างและรวบรวมองค์ความรู้ ศูนย์เทคโนฯ ได้รับมอบหมายให้จัดทำ 4 หัวข้อ ดังนี้
1. ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
2. ระบบงานการวิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยี
3. ระบบงานฐานข้อมูล
4. ระบบงานอุปกรณ์เครือข่ายและคอมพิวเตอร์

*การเผยแพร่องค์ความรู้  ศูนย์เทคโนฯ ได้ดำเนินการดังนี้
1. เปิดหลักสูตรฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
2. แทรกการฝึกอบรมเป็นรายวิชาเข้าไปในหลักสูตรการฝึกอบรมหลักของข้าราชการ อัยการฝ่ายอัยการ  โดยศูนย์จัดฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ให้กับ อช.รุ่นที่ 44 ตั้งแต่ 1 พ.ค. 53 - 30 มิ.ย. 53 หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมหลักสูตรอัยการผู้ช่วย
3. จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เป็นรายสัปดาห์ และข่าวสารด้านไอทีที่ www.ictc.ago.go.th
4. เปิดเว็บไซต์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านไอทีที่ http://intranet.ago.go.th/maintenance
5. เปิดเว็บบล็อคเอกชนเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่ http://gotoknow.org/blog/it-circle, http://gotoknow.org/blog/clinic-ict และ http://gotoknow.org/blog/it-ago

*การนำองค์ความรู้ไปใช้ ศูนย์เทคโนฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์สำหรับการเรียนรู้ไว้ที่ www.ictc.ago.go.th/km_it

*การต่อยอดองค์ความรู้ เป็นภารกิจสำคัญที่ศูนย์ฯ ต้องดำเนินการและให้องค์ความรู้นั้นทันสมัย พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา และนำข้อดีของการนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์มาทำการต่อยอดให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

วันนี้อาจารย์ผู้บรรยายในวิชาได้กล่าวถึงกระบวนการในการจัดการองค์ความ รู้อย่างเป็นระบบ สรุปได้ดังนี้        

กระบวนการจัดการความรู้(Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิด กระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 

และท้ายสุดอาจารย์ได้พาชมเว็บ Portal KM อัยการ ด้วยที่ http://kms.ago.go.th เป็นเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมาแบบสำเร็จรูปแล้ว รอเพียงกรอกข้อมูลลงไปเท่านั้น

โดดเรียน 1 ชม.ไปธุระอีกแล้ว  แล้วพบกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ

  • หวัดดีครับ
  • ขอบคุณสำหรับเนื้อหา บางท่านที่ไม่ได้มาจะรู้ว่าวันดังกล่าวมีเรียนเรื่องใดบ้าง
  • บันทึกนี้ยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง KM ให้กับผู้ที่ไม่ได้รู้ หรือรู้แล้ว ได้รับทราบข้อมูลอีกด้วย
  • ขอให้มีความสุขกับการทำความดีครับ

 

++วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2553

สะกิด..วันละนิด คิดให้ซึ้ง…ถึง KM  

"องค์ความรู้ที่มีขององค์การจะถูกจัดเก็บไว้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ เอกสาร เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อทางอีเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น เทป วิดีโอ ซีดี แต่องค์ความรู้กว่า 70% ขององค์ความรู้ในองค์กรจะถูกเก็บอยู่ในสมองคนในรูปแบบของประสบการณ์ ความจำ"

ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้น ปัญหาจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและเราจำเป็นต้องมีความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น และจำเป็นต้องก้าวสู่ยุคของการทำงานที่มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่ไม่ได้เกิดจากการจัด (Organization Chart) แต่เกิดจากความเชื่อและความเต็มใจที่ก่อให้เกิดการทำงาน (Working Network) หรือการปันความรู้ (Knowledge Sharing Network) ผ่านเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจและเป็นอย่างอิสระจากโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่
               หัวใจหลักในการก้าวสู่การประสานการทำงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเป็นธรรมชาติ คือชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice, CoP) ที่แต่ละคนในชุมชนมีความสนใจ และมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ผ่านทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งผ่านการพบปะกันหรือผ่านเครือข่ายอินทราเน็ต-อินเตอร์เน็ต และหากองค์การสามารถเชื่อมโยง CoP เข้าด้วยกัน จะเป็นเครือข่าย (Social Network) ที่มีการปฏิบัติงานร่วมกันจากหลายๆ ฟังก์ชั่นงาน
               ปัจจุบัน ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ CoP เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์ความรู้ และการพัฒนามุ่งสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดย CoP มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
               CoP คือ กลุ่มคนที่มีความชอบ มีความสนใจในสาระ ความเชี่ยวชาญ หรือมีปัญหาร่วมกัน สมาชิกในกลุ่มพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
               ดังนั้น CoP จึงไม่ใช่เป็นเพียง เว็บไซต์ ฐานข้อมูล หรือ แหล่งรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ ความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ในระหว่างการดำเนินกิจกรรมร่วมกันจะเสริมสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกัน ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ให้กับ CoP
                CoP  มีทั้งขนาดเล็ก ที่มีสมาชิกผู้เชี่ยวชาญมารวมตัวกันเพียง 2-3 คน หรือ CoP ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1,000 คน และวงจรอายุของ CoP อาจมีอายุยาวนาน หรืออาจมีช่วงอายุที่สั้น เช่นมีอายุตามเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน อาจมีการยกเลิก CoP ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น
               สมาชิก CoP จำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง การก่อตั้ง CoP ในช่วงแรกสมาชิกกลุ่มอาจอยู่ในหน่วยงานเดียวกันหรือใกล้ๆ กัน ในยุคของอินเตอร์เน็ต สมาชิกของ CoP อาจอยู่กระจายกันตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ หรือทั่วโลก ซึ่งสมาชิกสามารถติดต่อกันแบบเสมือน ผ่านอินเตอร์เน็ต อีเมล์ เทเลคอนเฟอเรนซ์
CoP มักจะก่อตั้งได้โดยง่ายเมื่อสมาชิกมีพื้นฐาน ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือมาจากฟังก์ชั่นงานที่เหมือนกัน แต่มีบาง CoP ที่มีสมาชิกมาจากพื้นฐานที่หลากหลาย แต่มีความร่วมมือกันในการแก่ปัญหาที่ซับซ้อนและต้องการความหลากหลายในความเชี่ยวชาญ เช่นการให้บริการกับลูกค้าองค์การขนาดใหญ่
               CoP อาจก่อตั้งจากสมาชิกที่มาจากสายธุรกิจเดียวกันหรือข้ามสายธุรกิจ หรือข้ามองค์การ
               CoP อาจเกิดจากการรวมตัวกันอย่างเป็นธรรมชาติของสมาชิก ที่ต้องการเรียนรู้หรือแก้ป้ญหาร่วมกัน หรือ CoP อาจเกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
               ถึงแม้ว่า CoP จะมีความหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบหลักที่สำคัญต่อความสำเร็จของ CoP มี 3 ประการคือ
                 1.   Head : เป็นเรื่องความรู้และประสบการณ์ หรือปัญญาที่เป็นศูนย์กลางที่สนใจร่วมกันและเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดการรวมตัวและยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันกัน มีเอกลักษณ์ร่วมกัน และเป็นวาระร่วมกันของ CoP
               2.   Heart : ชุมชนนักปฏิบัติที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ชุมชนที่แข็งแรงจะส่งเสริมก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน เสริมสร้างสายสัมพันธ์ บนพื้นฐานของการให้เกียรติ เคารพและเชื่อถือซึ่งกันและกัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันและสร้างแรงจูงใจ สมัครใจ ในการแลกเปลี่ยนความรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม กล้าที่จะถามคำถาม และการรับฟังซึ่งกันและกันที่ดี
               สมาชิกใน CoP จะมีความผูกพันธ์กันด้วย "ใจ" และไม่คาดหวังสิ่งตอบแทนจากการปันความรู้ เปรียบเสมือนกับบรรยากาศของชุมนุมชนในสมัยก่อน บ้านใกล้เรือนเคียงที่มีการแบ่งบันอาหารส่งข้ามรั้วให้กันและกัน ใครมีอะไรก็แบ่งปันกัน เป็นเรื่องของน้ำใจมากกว่าการคาดหวังสิ่งตอบแทน การปันอาหารหรือสิ่งของนั้น สิ่งที่เราเคยครอบครองอยู่จะหายไป แต่การปันความรู้ ความรู้จะไม่สูญหายไปจากตัวเรา กลับเชี่ยวชาญมากขึ้นเมื่อให้ และการเป็นผู้ให้ เราจะเป็นผู้รับในโอกาสต่อไป ทำให้เราได้รับความรู้จากสมาชิกใน CoP มากขึ้น
               3.  Hand : การแสดงออก ด้วยการกระทำ หรือ พฤติกรรม สมาชิกใน CoP จะมีการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติของกลุ่ม ซึ่งอาจมีการกำหนดร่วมกันอย่าเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ในการแลกเปลี่ยนความคิด ประสปการณ์ ถามตอบปัญหาซึ่งกันและกัน ทั้งในลักษณะพบปะเจอกัน หรือใช้เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีเชื่อมโยงถึงกันหลายรูปแบบ เช่น โทรศัพท์ เทเลคอนเฟอเรนซ์ และที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ อินทราเน็ต สำหรับใช้ภายในองค์การ หรือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
               การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร เอกสาร ร่วมกัน จะมีลักษณะ วิธีการ ภาษาที่ใช้สื่อ เรื่องราว การแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้ จะมี "Head" คือความรู้เฉพาะ ที่สมาชิกใน CoP สนใจร่วมกัน เป็นเป็นตัวผลักดันและเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการต่างๆ ในการพัฒนาการ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการฟูมฟักรักษาใช้ CoP มีชีวิตชีวา
               จะเห็นได้ว่า CoP เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ในองค์การที่มีประสิทธิภาพ ที่องค์กรจะสามารถ สร้าง จัดเก็บ แบ่งปัน และนำองค์ความรู้ไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางในองค์กร ทำให้องค์ความรู้ หรือทุนทางปัญญา หรือความพร้อม ขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การสูงขึ้น
               และประเด็นที่น่าสนใจคือ "การสร้างและปันองค์ความรู้ใน CoP จะเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ"  ทำให้การสร้างองค์ความรู้ในองค์การเติบโตขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ KM เกิดขึ้นในองค์การอย่างยั่งยืน "ไม่ใช่เกิดจากการสั่งการ หรือการจัดงานใหญ่ เพื่อส่งเสริมและให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ มาจัดเก็บไว้ในองค์การเท่านั้น"

กลุ่ม CoP ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายจึงได้ช่วยกันขยายความทำความเข้าใจ system CoP จากเมื่อวานให้เข้าใจมากขึ้น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท