“ ผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชนในคลินิก ทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด”


self reflection หมายถึง กระบวนการตรวจสอบภายในและค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการสร้างและแยกแยะความหมายของสิ่งต่างๆออกมาให้ชัดเจนเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่และแนวคิดใหม่ โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญาและทัศนคติต่อการกระทำซึ่งแต่ละบุคคลจะค้นพบได้จากประสบการณ์เดิมของตนเองและนำไปสู่ความเข้าใจและความพอใจใหม่

“ ผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชนในคลินิก ทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด”

“ Dental Students’ Self-Evaluation on Their Community-Base Experince in Dental Public Health Clinic :The Use of Self-Reflective Learning Log”

 

 

ประเภทของการวิจัย        

                    การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น 

สาขาวิชาการหลักและวิชาการหลัก 

                สาขาวิชาการหลัก วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขา ทันตแพทยศาสตร์   

                  วิชาการหลัก              กลุ่มทันตแพทยศาสตร์ศึกษา

คำสำคัญ

การสะท้อนคิดด้วยตนเอง (self reflection)  หมายถึง  กระบวนการตรวจสอบภายในและค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง  โดยจะมีการสร้างและแยกแยะความหมายของสิ่งต่างๆออกมาให้ชัดเจนเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่และแนวคิดใหม่  โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญาและทัศนคติต่อการกระทำซึ่งแต่ละบุคคลจะค้นพบได้จากประสบการณ์เดิมของตนเองและนำไปสู่ความเข้าใจและความพอใจใหม่

 

คลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน (Clinic for Dental Public Health) หมายถึง  สถานที่ในชุมชน ซึ่งจะดำเนินงานให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ  ควบคุมป้องกันโรคและความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในช่องปากของกลุ่มประชากรในชุมชนซึ่งมีทั้งผู้ป่วย  ผู้ไม่สบาย และผู้เป็นโรคที่มีอาการและไม่มีอาการปะปนอยู่กับผู้ที่มีสุขภาพอนามัยดี

 

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) หมายถึง กระบวนการในการเรียนรู้ด้วยตนเองของบุคคล โดยผู้เรียนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง เริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้ของตน การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ การวางแผนการเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลตนเอง ทั้งนี้อาจได้รับความช่วยเหลือหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม

 

ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย 

 

            การเรียนการสอนทางทันตแพทยศาสตร์ศึกษานั้น ประกอบด้วยการศึกษาทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์และสอด คล้องกัน โดยนักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนต้องมีความรู้และความสามารถ ทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติทางทันตกรรม ซึ่งจะต้องฝึกฝนและขวนขวายหาความรู้ตลอดระยะเวลาที่เรียนชั้นก่อนขึ้นคลินิกและชั้นคลินิก  แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยให้มีสุขภาพในช่องปากที่ดีต่อไป

            ซึ่งในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.25428  ได้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้  และมุ่งปลูกฝังการรู้จักพึ่งตนเอง  มีความคิดสร้างสรรค์  ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วนตนเองอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งหลักในการจัดการศึกษาที่ดีนั้น ควรเป็นการศึกษาที่ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ และที่สำคัญคือ ผู้เรียนจะต้องสามารถเชื่อมโยงหลักทางวิชาการสู่การปฏิบัติและเกิดการพัฒนาทักษะในแก้ปัญหาได้

            มาตรฐานของสมรรถนะหลัก (Standard Competency) ของบัณฑิตทันตแพทย์ไทยที่สมบูรณ์นั้น จึงไม่ใช่เพียงการทำการรักษาโรคในช่องปากได้เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องมีทักษะการทำงานชุมชน โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมและพัฒนาทันตสุขภาพ ดังนั้น ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จึงต้องจัดให้นิสิตได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์เรียนรู้และทำงานร่วมกับชุมชน  ดังในรายวิชาคลินิกทันตสาธารณ สุขชุมชน ซึ่งนิสิตจะได้ศึกษาภาคปฏิบัติถึงการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน ตั้งแต่การศึกษาปัญหาทางทันตสาธารณสุขของชุมชน  การวางแผนปฏิบัติงานในชุมชนรวมถึงการดำเนินการและการประเมินผล

อย่างไรก็ตาม จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา  การประเมินสัมฤทธิผลทางการศึกษาได้ให้ความสำคัญในการประเมินในผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Output) แต่ยังไม่ได้มีการประเมินการเรียนรู้เชิงพัฒนาการ หรือกระบวนการเรียนรู้ (Process) โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการประเมินประสบการณ์จากการเรียนรู้การทำงานชุมชน (Community-Base Experince) ว่าได้เรียนรู้ หรือเกิดการพัฒนาศักยภาพอะไรบ้าง จากการทำงานชุมชน  ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด  แม้ว่าจะมีเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบ  ซึ่งมีทั้งแบบอัตนัยและปรนัย  ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมและสามารถประเมินผลการเรียนรู้ได้ว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานของการเรียนรู้ที่ถูกกำหนดในหลักสูตรหรือไม่ แต่วิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ใช้ประเมินเพื่อการตัดสิน ไม่ใช่ประเมินผลเพื่อการพัฒนาของผู้เรียนอย่างแท้จริง

กระบวนการสะท้อนคิดด้วยตนเอง (self reflection) เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเกิดจากการประเมินตนเองของผู้เรียนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน (Peer Evaluation) เพื่อแสดงผลการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำผลการประเมินที่ได้ของแต่ละบุคคล ไปประเมินพัฒนากระบวนการเรียนการสอนว่ามีความสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการเรียนการสอนหรือการวัดและการประเมินผล ให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตได้ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความรู้  ส่วนหนึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นความรู้ที่อยู่ภายใน (Implicit knowledge) และเมื่อได้รับรู้ข้อมูลซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ภายนอก (Explicit knowledge)  ข้อมูลที่รับเข้ามา จะเกิดการผสมผสานกับความรู้เดิมที่อยู่ภายในเกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้น  วิธีนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือความคาดหวังของผู้สอน  และพัฒนานิสิตให้นำไปสู่การรู้จักตนเอง  และนำความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อการเป็นทันตแพทย์ที่ดีได้

คณะผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้ หลังการฝึกปฏิบัติงานคลินิกทันตสาธารณสุขชุมชนของนิสิตชั้นปีที่ 5 ผ่านการสะท้อนคิดด้วยตนเอง โดยอิงเกณฑ์การประเมินการสะท้อนความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองในการสอบขึ้นทะเบียนรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ ของทันตแพทยสภา ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

เพื่อศึกษาและประเมินถึงประสบการณ์เรียนรู้ที่นิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ได้รับหลังจากฝึกปฏิบัติงานคลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน โดยการใช้เครื่องมือแบบสะท้อนความคิด   ในการประเมินความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในคลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน

 

 

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

  1. ทราบข้อมูลจากการรวบรวมประสบการณ์ที่นิสิตได้รับในด้านต่างๆ หลังจากฝึกปฏิบัติคลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน
  2. เป็นแนวทางในการประเมินและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของคลินิกทันตกรรมชุมชน
  3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนำการสะท้อนคิดด้วยตนเองมาใช้ประกอบการเรียนการสอน และในชีวิตประจำวัน

ทบทวนวรรณกรรม

            การเรียนรู้ (Learning) เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้ว่าเมื่อใดจึงจะเหมาะสมที่จะนำเอาความรู้( Knowledge) มาใช้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ความรู้นั้นมาก่อน ดังนั้น ประสบการณ์เป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่มีความสำคัญ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งประเด็นดังกล่าว ศาตราจารย์ David A. Kolb (1984) เห็นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งได้เสนอวงจรของการเรียนรู้ ( Kolb's Learning Cycle ) ขึ้น ซึ่งใจความสำคัญของวงจรดังกล่าว เสนอว่า การเรียนรู้ (Learning) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพบประสบการณ์ใหม่  แล้วทำการสังเกตและสนใจประสบการณ์นั้นๆ นำเอามาสร้างเป็นทฤษฎีหรือความรู้ใหม่ๆ ขึ้นไปทดลองใช้ เมือใช้แล้วก็ทำการประเมินว่าทฤษฎีที่คิดขึ้นใช้ได้หรือไม่  วนรอบเป็นวงจรการเรียนรู้ [1]

 

รูปที่ 1 วงจรการเรียนรู้ของ David A. Kolb (1984)

            ซึ่งวงจรการเรียนรู้จะไม่สมบูรณ์ได้เลยหากขาด “ การวิเคราะห์ประสบการณ์” เพื่อมาสร้างเป็นทฤษฎีหรือบทเรียนต่างๆ  ซึ่งกระบวนการตรวจสอบและประเมินประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือสัมผัสมา เพื่อนำไปปรับปรุงในการทำงานในโอกาสหรือประสบการณ์ต่อๆไป กระบวนการดังกล่าวนี้ เรียกว่า การสะท้อนความคิด (Reflection) ซึ่งศาสตราจารย์ Gibbs [2] ได้เสนอ “วงจรการสะท้อนความคิด (Reflection Cycle)” ไว้ในปี 1988  ซึ่งรูปแบบการสะท้อนความคิดที่ Gibbs เสนอ  โดยให้เริ่มจากการพรรณนาว่าเกิดประสบการณ์อะไรขึ้นบ้าง แล้วรู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์นั้นๆ จากนั้นให้ประเมินความรู้สึกว่าข้อดี-ข้อเสียจากการได้รับประสบการณ์ดังกล่าวเป็นเช่นไร และเขียนถ่ายทอดออกมาอีกครั้ง เพื่อนำไปสร้างเป็นข้อสรุป ว่าในอนาคตหากได้รับประสบการณ์เช่นนี้อีกจะทำเช่นไร

           

รูปที่ 2 วงจรการเรียนรู้ของ Gibbs G. (1988)

            ซึ่งกระบวนการสะท้อนความคิด (Reflection) อาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ  ตามการแบ่งของ Schon(1990) [3] คือ  การสะท้อนความคิดขณะได้รับประสบการณ์ (Reflection –In-action) และ การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)  โดยการสะท้อนความคิดขณะได้รับประสบการณ์ จะเกิดขึ้นเมือเราใช้ความรู้ที่เรียนหรือประสบการณ์การตัดสินใจในอดีต เพื่อใช้แก้ไขสถานการณ์ในขณะที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะการเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับทันที ณ ขณะที่เหตุการณ์หรือประสบการณ์เกิดขึ้น  ส่วน “การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)” เป็นกระบวนการสะท้อนความคิดภายหลังจากการได้รับประสบการณ์ นั้นๆ ซึ่งต้องผ่านการใคร่ครวนหรือใตร่ตรองทบทวนในประสบการณ์สิ่งที่ผ่านมา  แล้วสะท้อนออกมาเป็นข้อดีหรือข้อเสียจากการทำหรือไม่ทำอะไร  ซึ่งสามารถสรุปออกเป็นบทเรียนรู้ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อๆไปได้ ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้ก็จะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ“การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)” ชนิดนี้ เนื่องจากได้รับการกลั่นกรอง ตกผลึกทางความคิด ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในการถอดบทเรียนประสบการณ์มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนมากว่า

             Johnson C. และ Bird J. [4] ได้สนับสนุนในการใช้การสะท้อนความคิด (Reflection) การปรับปรุงหรือพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร ที่มหาวิทยาลัย Cardiff  โดยพวกเขาเชื่อว่า การสะท้อนความคิดเป็นเครื่องมือและสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาและหากนำมาใช้อย่างถูกต้อง เครื่องมือชนิดนี้จะสามารถดึงศักยภาพและความรู้ความสามารถที่อยู่ภายในของนิสิตออกมาได้  และมีข้อดีกว่าเครื่องมือชนิดอื่นๆตรงที่มันมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงมาก

            ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินตัวเองของ ศาสตราจารย์ McMillan JH และ Hearn J (2009) [5] ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพและประโยชน์ของการการประเมินตนเอง (Self-Assessment )ไว้ค่อนข้างมาก โดยพวกเขาเชื่อว่า การให้นิสิตนักศึกษาได้ประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจูงใจนักศึกษาให้เข้าใจในบทเรียน หรือประสบความสำเร็จในระดับที่สูงกว่าที่คาด ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือความคาดหวังของผู้สอน   ทำให้ผลลัพธ์จากการเรียนรู้มักจะสูงกว่าสิ่งที่ผู้สอนต้องการป้อนให้นิสิตนักศึกษาเสมอ

            การเรียนรู้ในคณะทันตแพทย์ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์เพื่อให้เป็นทันตแพทย์ที่สมบูรณ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆมากมาย ดังเช่นในการเรียนรู้ในคลินิกทันตกรรมชุมชน  ซึ่งเป็นการจัดโอกาสหรือเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นิสิตได้ทำงานด้านทันตกรรมชุมชน ตั้งแต่ ระบุปัญหา ค้นหาปัจจัยเสียง วางแผน ดำเนินโครงการ และประเมินผลโครงการทางด้านทันตสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดเป็นสมรรถนะหลักที่คาดหวังของทันตแพทย์ไทย [6]  อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าการเรียนในคลินิกดังกล่าว เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนอาจได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ในพื้นที่ชุมชนฝึกงานต่างพื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในรูปแบบการประเมินนิสิตด้วยการสอบปรนัยหรืออัตนัย จึงอาจไม่เพียงพอในการวัดสิ่งที่นิสิตพึงจะได้รับ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดแค่เพียงผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ขาดการเชื่อมโยงถึงกระบวนการการซึ่งได้มาซึ่งความรู้เหล่านั้น การนำ “การสะท้อนความคิด (Reflection) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน จึงเป็นสิ่งที่ดีในการประเมินด้านกระบวนการหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของนิสิต ซึ่งเครื่องมือการสะท้อนความคิดดังกล่าวจะทำให้เราทราบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในด้านใดบ้างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้แต่ต้นหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตการเป็นทันตแพทย์ในภายภาคหน้าได้ สมกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนในคลินิกทันตสาธารณสุขดังกล่าว

            ในการจัดการเรียนการสอนของคณะทันตแพทย์ชั้นนำในระดับนานาชาติ มีการใช้”การสะท้อนความคิด” เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินมาเป็นเวลานานแล้ว ดังเช่นการศึกษาในปี 2003 ของ Mahyar  Mofidi  และคณะ [7]ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสะท้อนความคิดต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานชุมชนของนักศึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจถึงประโยชน์และการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทำงานชุมชนของนักศึกษา  โดยใช้วิธีเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีสุดท้ายจำนวน 160 คน แห่งมหาวิทยาลัย North Carolina โดยนักศึกษาสามารถเลือกสถานที่ในการออกชุมชนได้เองจากที่กำหนดให้อันได้แก่  ศูนย์สุขภาพชุมชน สถาบันฟื้นฟูสุขภาพ ศูนย์สุขภาพชนพื้นเมืองอเมริกัน  และหนึ่งในสถานที่ต้องออกหน่วยจะต้องมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ต้องการการเข้าถึงเป็นพิเศษ ทำการเวียนออกชุมชนสองครั้ง ครั้งละ 4 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อน หลังจากจบการออกหน่วยแต่ละครั้งนักศึกษาแต่ละคนจะต้องเขียนเรียงความสะท้อนความคิดตนเองเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ต่างๆที่ตนพบเจอมาขณะออกชุมชน  จากนั้นผู้วิจัยจะนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดจำแนกกลุ่มการสะท้อนคิด  ผลการศึกษาพบว่าจากการออกชุมชนนักศึกษาได้สะท้อนคิดในประเด็นหลักๆ 3 ประเด็น อันได้แก่ ความเติบโตทางบุคลิกภาพและความเป็นมืออาชีพ การตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ของผู้ป่วย ศีลธรรมจรรยา เป็นต้น  และการให้บริการทางการรักษาผู้ป่วย ซึ่งประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับจากการออกหน่วยชุมชนเป็นประสบการณ์ตรงอันจะเป็นการเตรียมตัวไปสู่การเป็นทันตแพทย์ในอนาคต

หรืออีกการศึกษาหนึ่งของ Linda D. Boyd  ในปี 2002 [8] ได้ทำการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการสะท้อนคิดในการปฏิบัติงานชั้นคลินิกของนิสิตปีที่ 1  จำนวน 69 คน จากมหาวิทยาลัย Oregon Health & Science เพื่อสำรวจว่านิสิตได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงปฏิบัติงานคลินิกปริทันต์  โดยใช้การสะท้อนความคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนา และปรับปรุงการเรียนรู้ต่อไป  โดยให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนบรรยายสะท้อนความคิดจากการลงปฏิบัติงานทางคลินิก   สัมภาษณ์ลงเทป และถูกสังเกตพฤติกรรมทางคลินิก  จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์หาประเด็นหลักตามวิธีของ Luborsky  พบว่าสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ  1. การเชื่อมโยงระหว่างสื่อการสอนและประสบการณ์ทางคลินิก 2. มุมมองของนิสิตที่เกี่ยวกับบทบาทของทันตแพทย์ 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์กับผู้ป่วย   การเขียนสะท้อนความคิดสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ และใช้ในการจัดการดูแลผู้ป่วย

นอกจากการศึกษาดังกล่าวแล้ว Bower JA cและ Wilson JE [9] ก็ได้ทำการศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการผลิตทันตาภิบาล  โดยการนำเอาผลสะท้อนความคิดจากนักศึกษาทันตาภิบาลที่จบแล้วมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในหลักสูตร

ซึ่งจากการศึกษาของ Asadoorian J และ Batty HP [13] ซึ่งได้ศึกษาประสิทธิภาพในการนำเครื่องมือของการประเมินตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในวิชาชีพทันตกรรม  จากการทบทวนวรรณกรรมของการศึกษาที่ผ่านๆมา สรุปได้ว่า การประเมินตนเองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในอนาคต ซึ่งการศึกษาในหลายๆงานวิจัย[11][12][14][15] แสดงให้เห็นว่า เครื่องมือตัวนี้ได้รับการสนับสนุนและแนะนำในเชิงบวกให้ใช้ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน

นอกจากการศึกษาจากต่างประเทศข้างต้นแล้ว มีงานวิจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนคิดด้วยตนเองมากขึ้น ดังการศึกษาของ วัลภา คุณทรงเกียรติ [17] ทำการศึกษาในวิชาชีพพยาบาล ได้ให้บทสรุปจากการศึกษาการสะท้อนคิดด้วยตนเองเพื่อการเอื้ออาทรว่า  การสะท้อนคิดด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคลมองประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองด้วยความตระหนักของตนเองและก่อให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้มากขึ้น  จนทำให้เกิดการพัฒนามุมมองหรือแนวคิดใหม่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายภาคหน้าได้ นั่นคือการแสดงออกถึงการเอื้ออาทรต่อตนเอง  และเมื่อเรามีการฝึกฝนการสะท้อนคิดด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง เข้าใจตนเอง  และนำไปสู่การพยายามเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ถือว่าเป็นการพัฒนาความเอื้ออาทรต่อตนเองเพื่อที่จะพัฒนาความเอื้ออาทรให้เกิดขึ้นต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน

            ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ กุลระวี [18] ได้ทำการศึกษาเรื่องผลของการสะท้อนความคิดด้วยตนเองต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์  ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มารับบริการที่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพแผนกพันธกิจเอดส์  มูลนิธิสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน  โดยให้ผู้ติดเชื้อได้สะท้อนความดิดด้วยตนเองด้วยการสังเกตและบันทึกเกี่ยวกับการดูแลตนเองในแต่ละวัน ลงในแบบบันทึกการดูแลตนเอง แล้วนำกลับมาประเมินผลการปฏิบัติเมื่อผู้ติดเชื้อกลับมาพบผู้วิจัย  รวมทั้งมีการบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมต่างๆในขณะร่วมกันสะท้อนคิด  จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ One Way ANOVA และนำข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่บันทึกในแต่ละครั้งมาวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการสะท้อนความคิดและประโยชน์ที่ได้รับ  พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ภายหลังจากการใช้การสะท้อนคิดด้วยตนเองสูงกว่าก่อนใช้โดยเกิดความแตกต่างตั้งแต่เดือนที่ 1 เป็นต้นไป แต่คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี  ก่อนและหลังการสะท้อนคิดด้วยตนเองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.01)

            ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกับการศึกษาของ พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น และคณะ [19] ในปี 2551  ที่ได้ทำการศึกษาเรื่อง ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านบันทึกการสะท้อนคิดประจำวันในการฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพเด็กของนักศึกษาพยาบาล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 41 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในกระบวนวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1 ปีการศึกษา 2549 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ  พบว่า นักศึกษามีการเชื่อมโยงหลักทางวิชาการที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาสู่การปฏิบัติ เกิดการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติ นักศึกษามีทักษะในการประเมินสุขภาพมากขึ้น  ดังนั้นบันทึกการสะท้อนคิดประจำวันสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเรียนการสอนทางการศึกษาพยาบาล

จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า “การสะท้อนความคิดด้วยตนเอง” เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีส่วนอย่างมากในการใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ และใช้ในการจัดการเรียนการสอน แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องดังกล่าวในงานทันตแพทย์ศาสตร์ศึกษายังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจัง จึงเป็นประเด็นสนใจที่ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจทำงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้การสะท้อนคิดของตนเองของนิสิตมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคลินิกทันตกรรมชุมชน

 

ซึ่งกระบวนการสะท้อนความคิด (Reflection) อาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ  ตามการแบ่งของ Schon(1990) [3] คือ  การสะท้อนความคิดขณะได้รับประสบการณ์ (Reflection –In-action) และ การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)  โดยการสะท้อนความคิดขณะได้รับประสบการณ์ จะเกิดขึ้นเมือเราใช้ความรู้ที่เรียนหรือประสบการณ์การตัดสินใจในอดีต เพื่อใช้แก้ไขสถานการณ์ในขณะที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะการเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับทันที ณ ขณะที่เหตุการณ์หรือประสบการณ์เกิดขึ้น  ส่วน “การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)” เป็นกระบวนการสะท้อนความคิดภายหลังจากการได้รับประสบการณ์ นั้นๆ ซึ่งต้องผ่านการใคร่ครวนหรือใตร่ตรองทบทวนในประสบการณ์สิ่งที่ผ่านมา  แล้วสะท้อนออกมาเป็นข้อดีหรือข้อเสียจากการทำหรือไม่ทำอะไร  ซึ่งสามารถสรุปออกเป็นบทเรียนรู้ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อๆไปได้ ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้ก็จะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ“การสะท้อนความคิดภายหลังได้รับประสบการณ์ (Reflection –On-action)” ชนิดนี้ เนื่องจากได้รับการกลั่นกรอง ตกผลึกทางความคิด ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในการถอดบทเรียนประสบการณ์มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนมากว่า

             Johnson C. และ Bird J. [4] ได้สนับสนุนในการใช้การสะท้อนความคิด (Reflection) การปรับปรุงหรือพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร ที่มหาวิทยาลัย Cardiff  โดยพวกเขาเชื่อว่า การสะท้อนความคิดเป็นเครื่องมือและสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาและหากนำมาใช้อย่างถูกต้อง เครื่องมือชนิดนี้จะสามารถดึงศักยภาพและความรู้ความสามารถที่อยู่ภายในของนิสิตออกมาได้  และมีข้อดีกว่าเครื่องมือชนิดอื่นๆตรงที่มันมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงมาก

            ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินตัวเองของ ศาสตราจารย์ McMillan JH และ Hearn J (2009) [5] ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพและประโยชน์ของการการประเมินตนเอง (Self-Assessment )ไว้ค่อนข้างมาก โดยพวกเขาเชื่อว่า การให้นิสิตนักศึกษาได้ประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจูงใจนักศึกษาให้เข้าใจในบทเรียน หรือประสบความสำเร็จในระดับที่สูงกว่าที่คาด ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือความคาดหวังของผู้สอน   ทำให้ผลลัพธ์จากการเรียนรู้มักจะสูงกว่าสิ่งที่ผู้สอนต้องการป้อนให้นิสิตนักศึกษาเสมอ

            การเรียนรู้ในคณะทันตแพทย์ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์เพื่อให้เป็นทันตแพทย์ที่สมบูรณ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆมากมาย ดังเช่นในการเรียนรู้ในคลินิกทันตกรรมชุมชน  ซึ่งเป็นการจัดโอกาสหรือเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นิสิตได้ทำงานด้านทันตกรรมชุมชน ตั้งแต่ ระบุปัญหา ค้นหาปัจจัยเสียง วางแผน ดำเนินโครงการ และประเมินผลโครงการทางด้านทันตสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดเป็นสมรรถนะหลักที่คาดหวังของทันตแพทย์ไทย [6]  อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าการเรียนในคลินิกดังกล่าว เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนอาจได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ในพื้นที่ชุมชนฝึกงานต่างพื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในรูปแบบการประเมินนิสิตด้วยการสอบปรนัยหรืออัตนัย จึงอาจไม่เพียงพอในการวัดสิ่งที่นิสิตพึงจะได้รับ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดแค่เพียงผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ขาดการเชื่อมโยงถึงกระบวนการการซึ่งได้มาซึ่งความรู้เหล่านั้น การนำ “การสะท้อนความคิด (Reflection) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน จึงเป็นสิ่งที่ดีในการประเมินด้านกระบวนการหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของนิสิต ซึ่งเครื่องมือการสะท้อนความคิดดังกล่าวจะทำให้เราทราบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในด้านใดบ้างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้แต่ต้นหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตการเป็นทันตแพทย์ในภายภาคหน้าได้ สมกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนในคลินิกทันตสาธารณสุขดังกล่าว

            ในการจัดการเรียนการสอนของคณะทันตแพทย์ชั้นนำในระดับนานาชาติ มีการใช้”การสะท้อนความคิด” เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินมาเป็นเวลานานแล้ว ดังเช่นการศึกษาในปี 2003 ของ Mahyar  Mofidi  และคณะ [7]ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสะท้อนความคิดต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานชุมชนของนักศึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจถึงประโยชน์และการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทำงานชุมชนของนักศึกษา  โดยใช้วิธีเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีสุดท้ายจำนวน 160 คน แห่งมหาวิทยาลัย North Carolina โดยนักศึกษาสามารถเลือกสถานที่ในการออกชุมชนได้เองจากที่กำหนดให้อันได้แก่  ศูนย์สุขภาพชุมชน สถาบันฟื้นฟูสุขภาพ ศูนย์สุขภาพชนพื้นเมืองอเมริกัน  และหนึ่งในสถานที่ต้องออกหน่วยจะต้องมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ต้องการการเข้าถึงเป็นพิเศษ ทำการเวียนออกชุมชนสองครั้ง ครั้งละ 4 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อน หลังจากจบการออกชุมชนแต่ละครั้ง นักศึกษาแต่ละคนจะต้องเขียนเรียงความสะท้อนความคิดตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ที่น่าสนใจต่างๆที่ตนพบเจอมาขณะออกชุมชน  จากนั้นผู้วิจัยจะนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดจำแนกกลุ่มการสะท้อนคิด  ผลการศึกษาพบว่าจากการออกชุมชนนักศึกษาได้สะท้อนคิดในประเด็นหลักๆ 3 ประเด็น อันได้แก่ ความเติบโตทางบุคลิกภาพและความเป็นมืออาชีพ การตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ของผู้ป่วย ศีลธรรมจรรยา เป็นต้น  และการให้บริการทางการรักษาผู้ป่วย ซึ่งประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับจากการออกหน่วยชุมชนเป็นประสบการณ์ตรงอันจะเป็นการเตรียมตัวไปสู่การเป็นทันตแพทย์ในอนาคต

หรืออีกการศึกษาหนึ่งของ Linda D. Boyd  ในปี 2002 [8] ได้ทำการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการสะท้อนคิดในการปฏิบัติงานชั้นคลินิกของนิสิตปีที่ 1  จำนวน 69 คน จากมหาวิทยาลัย Oregon Health & Science เพื่อสำรวจว่านิสิตได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงปฏิบัติงานคลินิกปริทันต์  โดยใช้การสะท้อนความคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนา และปรับปรุงการเรียนรู้ต่อไป  โดยให้ผู้ร่วมวิจัยเขียนบรรยายสะท้อนความคิดจากการลงปฏิบัติงานทางคลินิก   สัมภาษณ์ลงเทป และถูกสังเกตพฤติกรรมทางคลินิก  จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์หาประเด็นหลักตามวิธีของ Luborsky  พบว่าสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ  1. การเชื่อมโยงร

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 353437เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท