ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน


ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

จากประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   การดำเนินงานกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตำบลป่าไหน่  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ 

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่  28 -  30   มีนาคม  2553  ณ  ห้องประชุมอาคารสัมมนา  ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง เล่าโดย ผ.อ. กศน. อ. พร้าว จ. เชียงใหม่  นายกเทศมนตรีตำบลป่าไหน่  และแกนนำตำบลป่าไหน่  มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

นายกรีฑา สุภาพพรชัย  (ผ.อ. กศน. อ. พร้าว จ. เชียงใหม่)  :  กศน. อ. พร้าว เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนร่วมในกระบวนการครั้งนี้ร่วมกับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานด้านสาธารณสุข   จากการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ของมูลนิธิ พอสว.  พบว่าประชากรในพื้นที่ตำบลป่าไหน่  ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน  มีชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่หลายๆเ ผ่าเช่น เผ่ามูเซอ เผ่าอาข่า   โดยศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงได้ริเริ่มกระบวนการเพื่อจัดทำแผนแม่บทชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำงานในชุมชนโดยอาศัยแผนแม่บทเป็นตัวตั้ง    การดำเนินงานของกศน. จะส่งครู ศศช. เข้าประจำบนพื้นที่สูง ที่มีชาวไทยภูเขาทุกหมู่บ้าน   โดยศูนย์ฯร่วมกับอาจารย์พนัส พฤกษ์สุนันท์และทีมงาน มาฝึกอบรมเรื่องการจัดทำแผนแม่บทชุมชน   และส่งทีมงานครู ศศช.เข้าร่วมศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็ง  และร่วมจัดทำแผนแม่บทชุมชนกับภาคีเครือข่ายทุกหมู่บ้าน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

1. การมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน แกนนำ เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ

ตั้งแต่เริ่มแรก 

2. มีการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจให้ชาวบ้าน รับรู้รับทราบให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมคิด ร่วม

ทำ  ร่วมวางแผน ไม่ใช้ระบบสั่งการจากเบื้องบนลงมา

3. มีผู้ดำเนินการเป็นพี่เลี้ยง  (FA)   และผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ คือ  โดยมี อ. ศรีวรรณ  ทาวงศ์มา  ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง เป็นหัวหน้าโครงการ  คอยเกาะติดสถานการณ์ เข้าไปในพื้นที่ตลอด ทำให้กระบวนการขับเคลื่อนไปได้  โดย กศน. มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

      นายสวาท เนรวรรณ์   (นายกเทศมนตรีตำบลป่าไหน่)  :  ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกๆคน  ในตำบลป่าไหน่ โดยมีหน่วยงานศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง เข้ามาแนะนำ เดี๋ยวหมู่บ้านพัฒนาดีขึ้น มีการทำประชามติและจัดทำโครงการแบบพึ่งตนเอง ไม่ได้ใช้งบประมาณของอบต. เลย 

      นายประสิทธิ์  ปันทอง  (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  6) :   ตอนที่ศูนย์ฯ เข้ามาในพื้นที่ ตนเองยังเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตอนแรกรู้สึกหนักใจอยู่ว่าจะทำได้หรือไม่ ภายหลังการทำงานร่วมกันเป็นทีม ทั้งสาธารณสุข กศน. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มประชาชน  กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอสม. กลุ่มแม่บ้าน พระสงฆ์ ทุกคนมีบทบาทมากขึ้น ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามประเมินผล และการจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาชน ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนที่บรรจุอยู่ในแผนระยะเวลา 3 ปี  โดยมีการทำประชาคมในหมู่บ้าน  และมีการปรับปรุงแผนทุกๆปี   มีการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น  โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน  โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา โครงการสลากภัตปลอดเหล้า ซึ่งมีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มาทำข่าว    และโครงการปั่นจักรยานไหว้พระ 9 วัด

      นายถนอม  ชำนาญ  (ประธานอสม. และผู้สูงอายุ)  :  กลุ่มอสม.และกลุ่มผู้สูงอายุ ทุกคนให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ได้เข้ารวมเรียนรู้กระบวนการและไปศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็ง ร่วมกับแกนนำชุมชนและภาคีเครือข่าย  และนำข้อมูลไปชี้แจงชาวบ้านในเรื่องการรักษาสุขภาพ  ตัวอย่างของการบริการจัดการคือโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือกันแบบพี่แบบน้อง  เก็บเงินคนละ 1 บาทต่อเดือน มาช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้าน โดยไม่ใช้เงินของราชการ ซึ่งตนเองเป็นผู้ประสานงาน

      จากเรื่องเล่าของภาคีเครือข่ายตำบลป่าไหน่  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แสดงความคิดเห็น และจะนำรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม  การมีส่วนร่วมของทีมงาน ที่มีความผสมกลมกลืนดีมาก ทั้งหน่วยงานรัฐ (กศน.) องค์กรและชุมชน ขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มองเห็นภาพของการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ให้ชุมชนเป็นคนคิด คนทำ โดยมีหน่วยงานภาครัฐคอยให้การสนับสนุน จะนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน  ไปใช้ในพื้นที่  ในการปฏิบัติงานในรูปแบบกระบวนการและภาคีเครือข่าย ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 353263เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย และมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
    • นานๆ สาวดอย จะนำความรู้มาแลกเปลี่ยนสักที
    • ก็เลยต้องเข้ามาทักทายหน่อย ... อยากฟังเรื่องเล่ามากกว่านี้
    • เล่าอีกนะคะ

    ขอบคุณนะคะที่แวะมาทักทาย และกำลังใจ ปลายเดือนนี้ คงมีเรื่องมาเล่าให้ฟังอีกค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท