"ปูชนียะ" และ "วัฒนะ-ทำ"


Appreciative Inquiry
ผมได้ยินเรื่องการพูดถึงวัฒนธรรมองค์กร ครับ พอถามย้อนไปว่า “วัฒนธรรมองค์กรหน้าตาเป็นอย่างไร” ครับ ก็จะได้คำอธิบายแบบเง๊งง๊าง ๆ เช่น “ค่านิยมร่วม...” นี่รวมถึงวัฒนธรรมไทย ในที่สุดก็จะลงไปสู่ความเอื้ออาทร วัฒนธรรมอุปถัมภ์ อะไรไปโน่นครับ ไม่ว่ากัน OK ครับ แล้วไง So what
 
เอาหล่ะวันนี้ผมอยากเสนอมุมมองของคำว่าวัฒนธรรม ปรกติแล้วผมบอกว่าวัฒนธรรมองค์กร เป็นอะไรที่ปูเลี่ยน ปูเลี่ยนครับ จับต้องไม่ได้ ต่อให้ใช้เครื่องมือวัดดีๆออกมา ก็ได้แค่เหมือนทำนายโหงวเฮ๊งครับ 
 
แต่วันนีงผมมาเจอข้อเขียนของ นักคิดสองท่านเรื่องการวัฒนธรรมเปลี่ยน (Culture Shift) คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากขั้นพื้นฐานสุดไปสู่ขั้นสูงสุดคือ รับรู้ (ได้ยิน), เข้ามามีส่วนร่วม (ลอง) จากนั้นจะยกระดับมาสู่การ “ชอบ ” (เชื่อ) สุดท้ายคือ “ภักดี  (สนับสนุน)”
 
ผมว่าเป็นอะไรที่อธิบายปรากฏการณ์ได้ดีกว่า
 
ผมขอยกตัวอย่างครับ มีปีหนึ่ง MBA ให้ผมไปพูดปฐมนิเทศนักศึกษา ปีนั้นผมยกเรื่องราวนึง ผมเล่าเรื่องให้เขาฟังว่า “พวกคุณทราบไหม ที่นี่เรามีอะไรบางอย่างที่เงินไม่เคยซื้อได้ คุณอาจคิดว่าคุณจ่ายค่าเรียนแพงแสนแพงนับแสนบาท จนวันนึงคุณอาจหลงลืมไปว่า ครูเป็นเพียงครู คุณเป็นลูกค้า จะทำกับครู จะเดินชนก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ ครับ ครับถ้าวันใดที่คุณคิดอย่างนี้ ขอให้นึกถึงเรื่องที่ผมจะเล่ในวันนี้ครับ พังเรื่องนี้ให้ดีนะ มีอาจารย์รับเชิญท่านหนึ่งอายุมากแล้ว ได้ถ้วยเชิดชูมาเยอะ จ่ายภาษี แค่ภาษีนะปีละหลายล้าน ท่านมาสอนที่นี่ ต้องสละเวลาทำธุรกิจของท่าน และนักศึกษาที่นี่ก็รักท่านมาก ไอ้ค่าสอนชั่วโมงละไม่กี่บาท ว่าไปแล้วมัน “สิวสำหรับท่าน”  
เหตุผลที่ท่านมาสอนที่นี่มีเหตุผลเดียวครับ ท่านบอกว่าสอนที่นี่แล้วมีความสุข นักศึกษาให้เกียรติท่าน ท่านชอบที่นักศึกษาที่นี่ที่ไหว้ท่านและมีสัมมาคารวะครับ ไม่เหมือนที่กรุงเทพ นี่คือสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ ผมไม่ว่าที่คุณจะเลือกทำต่อไปหรือไม่ แต่ถ้าคิดว่าดี ทำเถอะ รักษาสิ่งดีๆนี้ต่อไป”
ครับ อาจ Bias ไปหน่อย เทียบกับปีที่ผมไม่ได้ไปพูดเรื่องนี้ (เขาเลิกให้อาจารย์ประจำขึ้นเวทีแล้วครับ) นักศึกษารุ่นนั้นน่ารักมากครับ ใครดูอาวุโสหน่อยก็ไหว้ละ   
 
เห็นอะไรไหมครับ ตรงนี้เกิดอะไรขึ้น
 
นักศึกษาเข้าใหม่ “ได้ยิน” เรื่องเล่าอาจารย์ระดับปูชนียะ จากนั้น “ลองไหว้มากกว่าเดิม” แล้วเกิดอะไรอีก “ชอบ” หรือ ชินการเคารพ การมีสัมมาคาระ แล้วในรุ่น เพื่อน พี่ที่มีอิทธิพลในรุ่น รวมทั้ง อาจารย์อย่างผมยัง “สนับสนุน”  เรื่องนี้อีก
 
เกิดอะไรขึ้นครับ เรายังมีปูชนียะระดับเทพสอนเราต่อไป
 
ในขณะที่พึ่งมาทราบว่า อาจารย์เลิกสอนใน MBA บางแห่งในกรุงเทพด้วยเหตุผลเดียวกัน
 
ในแง่ของ Appreciative Inquiry คุณลองค้นหา อะไรที่ดีๆ คนดีๆ  ในองค์กรของคุณ เหตุผล “ที่ซ่อนเร้น” ที่ยังให้คนดีๆ ยังอยู่กับเรา จากนั้นค้นหากลไกที่จะสร้างโอกาสให้คน “สนับสนุน” สิ่งดีๆนั้น ครับ คุณจะเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้ และโปรดทราบนะครับวัฒนธรรมองค์กรดีๆ จะรักษา จะดึงดูดคนดีได้ และคนดีนี่แหละจะสร้าง จะดึงดูด และรักษาลูกค้าดีๆให้คุณ

หมายเหตุ

มิบังอาจบอกได้ว่าผมเองทำให้อาจารย์ยังอยู่ที่นี่ จริงๆ มาจากนักศึกษาขอนแก่นนั่นเองครับ ผมเพียงช่วยอะไรนิดนึง เมื่อมีโอกาส ถึงจะแค่"สิวๆ"แต่ผมก็ภาคภูมิใจที่ได้ทำอะไรเพื่อท่านครับ และท่านก็เป็น "ครู" ของผม ผมมีความรู้เรื่องบริหารดีขึ้นมากๆ ก็จากการไปนั่งเรียนกับท่าน สมัยที่ผมมาเป็นอาจารย์ใหม่ๆนี่แหละ รู้เลยครับเรากำลังมีเพชรเม็ดงามอยู่ ถึงผมจะไม่ใช่ผู้บริหารของที่นี่ ผมตั้งใจจะดูแล "ใจ" ท่านด้วยวิธีของผมครับ  

 

Kaplan and Norton (1996), there are four levels of culture shift starting from lowest to highest. They are “awareness (heard of it)”, “participation (tried it),” preference (believe it)” and “loyalty (champion it)

 

Kaplan, R.S. & Norton, D. (1996). The balanced scorecard: learning and growth

perspective. In Morey, M., Maybuy, M. & Thuraisingham, B. (Eds).

Knowledge management: Classic and contemporary works (pp.318-336).

Massachusetts: The MIT Press. 

 

 
คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 352958เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับอาจารย์  ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

     ผมขออนุญาตนำมุมมองของโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนครับ

      เท่าที่ผมสังเกตดูนะครับ  โรงเรียนบางโรงเรียน  แม้เป็นโรงเรียนในชนบท  แต่คุณครูทุกคนอยู่กันครบไม่ย้ายไปใหน  ถึงแม้จะมีโอกาสเขียนย้ายไปในเมือง ก็มีโอกาสย้ายได้  แต่กลับไม่เขียนย้าย   ขณะที่บางโรงเรียน  คุณครูเขียนขอย้ายแทบทุกปี และ เขียนย้ายแทบทุกคน ทั้งๆ ที่สภาพโรงเรียนก็ไม่ได้ลำบากขาดแคลนอะไร

      ผมลองมาวิเคราะเปรียบเทียบกันดูระหว่าง 2  โรงเรียนว่าเกิดอะไรขึ้น  อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้คนอยากอยู่  และ คนอยากไป  แล้วผมก็ได้คำตอบครับ

      "ความเอื้ออาทร"

ผมว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ครับท่านอาจารย์ ใช่ครับ่านอาจารย์ ความเอื้ออาทรนั่นเอง เป็นอะไรที่องค์กรไม่ค่อยพูดถึงครับ และไม่ค่อยเห็นค่าครับ หลายองค์กรคิดว่า "เงิน" ซื้อได้ทุกอย่าง

วัฒนธรรมองค์กรดีดี

เกิดจากคนใจดี ใจสูง มีน้ำใจ ให้อภัย ไม่เพ่งโทษ

ร่วมกันคิด ทำ เหนี่ยวนำให้กลุ่มดีขึ้น

มีการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้รักษาคนดี และ คนเก่งได้

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ...

ขอบคุณที่สุดในโลกค่ะอาจารย์

นกรู้แล้วว่าจะเอาอะไรไปเขียนการบ้านส่ง Dr. Bruce

ถ้าให้บอกถึงวัฒนธรรมองค์กร คงนึกไม่ค่อยออกค่ะ

แต่ถ้าให้หลายๆคนลองเล่าเรื่องราวดีๆ ในองค์กรของตนเอง มาสักคนละเรื่อง จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นไหมคะ อาจารย์

ขอบคุณมากคะ

ตอบคุณ Phornphon ครับจริงเลยครับ ผมเจอหน่วยงานดีๆ ก็จะมีบรรยากาศแบบนี้ครับ

ตอบคุณนก ดีใจที่บทความผมเป็นประโยชน์ต่องานคุณครับ

ตอบคุณ Paula ครับ ให้เข้าเราก็เท่ากับเราได้ฟังวัฒนธรรมดีๆ ในขั้นต้น หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรจะสนับสนุนให้มีการขยายผลครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ

เรื่องเล่าอาจารย์ระดับปูชนียะ

จากนั้น “ลองไหว้มากกว่าเดิม”

 แล้วเกิดอะไรอีก “ชอบ” หรือ

 ชินการเคารพ การมีสัมมาคาระ

ผมพึ่งไป Appreciative Inquiry ชุมชนที่บ้านแพ้ว  สมุทรสาครมา

มีเรื่องราวดีๆ น่าประทับใจ  อิ่มอกอิ่มใจมากเลยครับ

สัวสดีคุณสุเทพ

จะรอเรื่องเล่าจากคุณนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท