สรุปสาระสำคัญงานวิจัยเรื่องที่ 5


วิจัยการศึกษา

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย  เรื่องที่  5

ของนางณัฐนิช   เขียวพอ  IT 8  กลุ่ม  2

นักศีกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

  1.  ชื่อเรื่อง   การพัฒนาตัวบ่งชี้หลักสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการบริหารเชิงสมดุล= Effective system and mechanism in private schools' educational quality assurance, Mueang Chiang Mai District
  2. ผู้วิจัย  นายสมมาตร สนทมิโน
  3. ปีที่วิจัย    ปี  2551
  4. วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้หลักสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการบริหารเชิงสมดุล ตามกรอบแนวคิดของแคบแลนและนอร์ตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาตัวบ่งชี้ ไดแก่ ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการที่สามารถกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา นักวิชาการ และผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง      

5.  วิธีวิจัย

5.1   วิธีการ

                เชิงคุณภาพ

5.2   กลุ่มตัวอย่าง

                กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของตัวบ่งชี้และทำหน้าที่การประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดละ 2 โรงเรียน ๆ ละ 5 คน รวม 30 คน   

5.3   เครื่องมือ

เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  มี  12  ชุด

เครื่องมือชุดที่   1  แบบทันทึกการแสดงความคิดเห็น 

เครื่องมือชุดที่   2  แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเพื่อหาค่าความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 

เครื่องมือชุดที่   3  แบบทันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

เครื่องมือชุดที่   4  แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเพื่อหาค่าความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ

เครื่องมือชุดที่   5  แบบทันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ของแต่ละมาตรฐาน

เครื่องมือชุดที่   6  แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  ตามแนวคิดของลิเคิร์ต  มีเกณฑ์การให้คะแนน  ดังนี้

                                5    หมายถึง   เห็นด้วยมากที่สุด  หรือเป็นไปได้มากที่สุด

                                4   หมายถึง    เห็นด้วยมาก  หรือเป็นไปได้มาก

                                3   หมายถึง    เห็นด้วยปานกลาง  หรือเป็นไปได้ปานกลาง

2   หมายถึง    เห็นด้วยน้อย  หรือเป็นไปได้น้อย

1   หมายถึง    เห็นด้วยน้อยที่สุด  หรือเป็นไปได้น้อยที่สุด

เครื่องมือชุดที่   7  แบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์

เครื่องมือชุดที่   8  แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกณฑ์ระดับคุณภาพของตัวบ่งชี้

เครื่องมือชุดที่   9  แบบทันทึกการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาค่าความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ

เครื่องมือชุดที่   10  แบบทดสอบการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

เครื่องมือชุดที่   11  แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ทดสอบการประเมินต่อตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

เครื่องมือชุดที่   12  แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ทำการทดสอบการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อการทำหน้าที่ทดสอบการประเมิน

5.4   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                5.4.1   นำหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อขอความร่วมมือและอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ   11  คนในการสนทนากลุ่ม

                5.4.2   นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง  จากกลุ่มประชากร 

6.   วิธีวิเคราะห์ผล

                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

  1. ผลการวิจัย

การพัฒนาตัวบ่งชี้หลักสำหรับการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการบริหารเชิงสมดุล จากผู้เชี่ยวชาญได้มุมมอง 6 มุมมอง ดังนี้ มุมมองด้านผู้รับบริการ มุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านภาวะผู้นำ มุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต มุมมองด้านวินัย มุมมองด้านการเงิน รวมทั้งหมด 19 มาตรฐาน 96 ตัวบ่งชี้ดังนี้ 1. มุมมองด้านผู้รับบริการได้แก่ มาตรฐานที่ 1 นักเรียน มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ 2 นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางวิชาการ มาตรฐานที่ 3 นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส และมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา มาตรฐานที่ 4 ผู้ปกครองหรือชุมชน มีความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2. มุมมองด้านกระบวนการภายใน ได้แก่ มาตรฐานที่ 5 กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดคุณค่าแก่ผู้เรียน นำไปสู่ผลสำเร็จตามความคาดหวัง ของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 6 การจัดโครงสร้างขององค์กรและการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ 3. มุมมองด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ มาตรฐานที่ 7 ผู้บริหารภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ มาตรฐานที่ 8 บุคลากรมีความรับผิดชอบ มาตรฐานที่ 9 บุคลากรมีการวางแผนในการปฏิบัติงาน มาตรฐานที่ 10 บุคลากรเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์กรและความร่วมมือกับองค์กรภายนอก 4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต ได้แก่ มาตรฐานที่ 11 การพัฒนาการเรียนรู้ การเจริญเติบโตของบุคลากรในองค์กร มาตรฐานที่ 12 ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานของบุคลากร มาตรฐานที่ 13 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่ออำนวยการความสะดวกในการบริหารจัดการ มาตรฐานที่ 14 บุคลากรเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 15 ความพึงพอใจของบุคลากรในการพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโต 5. มุมมองด้านวินัย มาตรฐานที่ 1 การรักษาวินัยของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ มาตรฐานที่ 17 การพัฒนาวินัยของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ 6. มุมมองด้านการเงิน ได้แก่ มาตรฐานที่ 18 การบริหารจัดการงบประมาณที่มีคุณภาพ มาตรฐานที่ 19 การระดมทรัพยากรอย่างเพียงพอ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 352643เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้มาเยี่ยมชมผลงานแล้วครับ ok ครับครบแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท