คุณครูไก่
นาย วสันต์ คุณครูไก่ จันโทศรี

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)]


ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)]
ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] 

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] หมายถึง ระบบหรือโปรแกรมใช้งาน คอมพิวเตอร์(Software systems)ที่ชาญฉลาด (Intelligent Program) สามารถทำงานในลักษณะเลียนแบบกระบวนการในการใช้เหตุผล (Reasoning process) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยฐานความรู้ (Knowledge base) และกลไกการอนุมาน (Inference Engine) เป็นองค์ประกอบหลักในการทำงาน ซึ่งแสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง เช่น ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจมีความรู้สึกอย่างไร ระหว่างความเสี่ยงกับอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในโครงการต่าง ๆ และถ้าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างไร เป็นต้น และหลังจากที่ได้รับคำตอบจากลูกค้าแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญก็จะถามต่อไปจนกว่าจะมีการแนะนำแฟ้มเอกสาร หลังจากนั้นระบบก็จะดึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้มาใช้ (User) เช่น รายละเอียดตัวหุ้น ประวัติต่าง ๆ รายงานการวิจัย และการพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจโดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ใช้ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ในบางสาขา ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและกฎเกณฑ์ของความรู้ ซึ่งรวบรวมมาจากสาขาวิชาที่ต้องการความเชี่ยวชาญไว้ในฐานความรู้ (knowledge base) และโปรแกรมจะดำเนินการเมื่อมีการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้ ในลักษณะการถามตอบและประมวลผล คำตอบจากที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปเพื่อหาข้อสรุปหรือคำแนะนำที่ต้องการ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] จะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำและช่วยเหลือ ในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือการทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลอง ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้ เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารก็ตาม

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)] เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence-AI) ซึ่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การพัฒนา ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเลียนแบบการเรียนรู้และพฤติกรรมการให้เหตุผลของมนุษย์

องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ (Stairs & Reynolds, 1999)
     1. ฐานความรู้ (Knowledge base) ซึ่งเก็บรวบรวมกฎเกณฑ์ต่างๆ (rules) ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กฎเกณฑ์นี้จะช่วยให้ ES สามารถให้ข้อสรุปในเรื่องที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ใช้
     2. โปรแกรมที่จะนำฐานความรู้ไปใช้เพื่อพิจารณาเสนอแนะแก้ปัญหาหรือโครงสร้างการตัดสินใจ (Inference engine) โดย Inference engine จะทำหน้าที่ในการจัดระบบและควบคุมกฎเกณฑ์ โดยจะให้เหตุผลต่างๆ เพื่อจะนำไปสู่ข้อสรุปหรือ ข้อเสนอแนะแก่ผู้ใช้
     3. อุปกรณ์ช่วยในการอธิบาย (Explanation facility) อุปกรณ์ช่วยในการอธิบายช่วยทำให้ผู้ใช้เข้าใจกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ
     4. อุปกรณ์ในการหาความรู้ (Knowledge acquisition facility) เป็นอุปกรณ์ในการรวบรวมและเก็บความรู้ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ
     5. การเชื่อมโยงกับผู้ใช้ (User interface) เป็นการทำให้การพัฒนาและการใช้ ES ทำได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปช่วยในการสร้าง ES โดยใช้รูปภาพที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น จะใช้เมนูฟอร์ม)

ข้อดีของระบบผู้เชี่ยวชาญจะค่อนข้างแตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่นๆดังนี้
    - ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยว ชาญต้องออกจากองค์กรหรือไม่ปฏิบัติงานได้
    - ระบบเชี่ยวชาญ จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆกัน
    - ระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
    - ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำการตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
    - ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

- ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนอย่างมาก

 

 ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญ
    - การหาชนิดของสัตว์ในกรณีมนุษย์ป้อนลักษณะของสัตว์ประเภทต่างๆ เข้าไป
    - การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ให้แก่ลูกค้าบริษัทจำหน่ายรถยนต์

- การวิเคราะห์อาการของโรค ในโรงพยาบาล

 

  ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Benefits of Expert Systems)
    1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไปเมื่อเกิดการลดออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
    2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพและมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
    3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
    4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาด้านอารมณ์

5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า

 

  การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน (Expert Systems to work)
    การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน สามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
      - ด้านการผลิต (Production) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดตารางการผลิต และการกำหนดตารางการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด ตลอดจนการกำหนดโอกาสในการนำเอากากวัสดุไปผลิตอีกครั้ง
      - การตรวจสอบ (Inspection) ผู้ผลิตสามารถใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ที่เป็นระบบจับภาพ ซึ่งจะสามารถฉายภาพความเสียหายของวัตถุด้วยการใช้ลำแสง เพื่อป้องกันในการแพร่กระจายความเสียหายไปที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถช่วยทำรายงานด้านการรับประกันคุณภาพ ที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนของวัตถุในเรื่องความชำรุดเสียหาย และวิธีการในการแก้ไขด้วย
      - การประกอบชิ้นส่วน (Assembly) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถช่วยผู้ผลิตในการสร้างโครงร่างคำสั่งซื้อของลูกค้าไปเป็นแผนผังภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ
      - ด้านบริการ (Field service) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้จัดการด้านการบริการและพนักงานซ่อมแซมทั่วไป (ช่าง) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยให้ช่างเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ เช่น เครื่องจักรกำลังเดินเครื่องหรือไม่ ความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือเกิดกับส่วนใด ซึ่งเป็นการช่วยในการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน
      - การตรวจสอบบัญชี (Auditing) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีในเรื่องกระบวนการตรวจสอบบัญชีเพื่อความถูกต้อง เช่น สำหรับบัญชีลูกหนี้ (Account receivable) จะมีการป้อนข้อมูลลูกหนี้เข้าไปในระบบผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ได้จากระบบคือการเสนอแนะกระบวนการในการตรวจสอบนั่นเอง
      - ด้านบุคคล (Personnel) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยแผนกบุคคลในการเตือนผู้ใช้ในเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของบริษัท และยังช่วยในการสร้างคู่มือให้แก่พนักงาน
      - ด้านการตลาดและการขาย (Marketing and sales) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถทำงาน 6 งานพร้อมกันภายในไม่กี่วินาที ในขณะที่พนักงาน 1 คน ใช้เวลา 20-30 นาทีในการทำงาน 1 งาน

ข้อจำกัดของ Expert Systems (ES)
ES มีข้อจำกัดดังนี้ (Haag et al.,2000)
       1. การนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาใช้ใน Expert Systems (ES) ในบางครั้งอาจทำได้ยากเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่สามารถอธิบายได้ว่าตนเองรู้อะไรบ้าง และบางครั้งก็ไม่สามารถอธิบายเหตุผลของความรู้ได้อย่างชัดเจน
       2. แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะสามารถอธิบายองค์ความรู้และกระบวนการการให้เหตุผลอย่างชัดเจน แต่กระบวนการในการสร้างกฎเกณฑ์อาจจะสลับซับซ้อนมากเกินไป จนไม่สามารถเสนอแนะคำตอบได้อย่างแน่ชัด
       3. การใช้ Expert Systems (ES) จะใช้แก้ปัญหาที่ได้รับการออกแบบและใส่ข้อมูลในโปรแกรมแล้วเท่านั้น ดังนั้น Expert Systems (ES) จึงไม่สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ ES ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาและไม่สามารถใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เพื่อจัดการกับปัญหาใหม่ๆ แบบที่มนุษย์ทำได้
       4. Expert Systems (ES) ไม่มีวิจารณญาณในการเสนอแนะ ดังนั้นในบางกรณีอาจจะนำไปสู่อันตรายได้

 

แหล่งที่มาของข้อมูล
ทักษิณา สวนานนท์.2539:99
Parker and Case. 1993:485
Stairs & Reynolds, 1999
Haag et al.,2000

James Ignizio, Introduction to Expert Systems (1991), ISBN 0-07-909785-5

http://ora.chandra.ac.th/~chantara/E-learning_MIS/mis/chapter11.htm

http://blog.eduzones.com/dena/4892
http://std.eng.src.ku.ac.th/~korawit/file/204112/11.ppt
http://blog.eduzones.com/dena/4892

 

หมายเลขบันทึก: 352525เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2010 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท