สัญชาติกับกฏหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


ปัจจุบันรัฐต่างๆเริ่มให้ความสนใจในการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

 ในปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐต่างเริ่มให้ความสนใจที่จะส่งเสริมและคุ้มครองในทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่นิติสัมพันธ์เหล่านี้มักมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฏหมายเอกชนในทางระหว่างประเทศซึ่งรัฐที่มีนิติสัมพันธ์นิยมที่จะทำความตกลงในรูปแบบของอนุสัญญาโดยที่รัฐต่างๆจะยอมผูกพันตนเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาเพื่อลดความยุ่งยากในการที่จะเลือกใช้กฏหมายเมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคู่สัญญาเกิดขึ้น 

ทั้งนี้เพราะแต่เดิมนั้นนิติสัมพันธ์ที่มีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฏหมายเอกชนในทางระหว่างประเทศต้องตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฏหมายขัดกันซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในการที่จะเลือกใช้กฏหมายของคู่กรณีฝ่ายใดมาบังคับใช้ในการตัดสินกรณีพิพาทนั้นเพราะในกรณีพิพาทในบางกรณีก็มิได้ผูกพันคู่กรณีเท่านั้นแต่ยังมีผลถึงบุคคลที่สามด้วยดังนั้นจึงก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมที่จะนำกฏหมายขัดกันมาใช้ในกรณีพิพาทเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เอกชนที่มีความเกี่ยวพันกับการค้าระหว่างประเทศและประสบปัญหาทางกฏหมายต้องทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกันโดยมีการกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อลดข้อยุ่งยากในข้อกฏหมายบางประการและสร้างความตกลงร่วมกันให้เกิดขึ้นในกลุ่มของผู้ค้าโดยไม่จำต้องคำนึงถึงกฏหมายตามสัญชาติของคู่ค้าอีกต่อไปแต่เอกชนที่มีลักษณะในทางการค้าระหว่างประเทศจะนำข้อตกลงที่มีร่วมกันมาใช้มาตัดสินเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีขึ้นถึงอย่างไรก็ตามลักษณะของข้อตกลงร่วมกันนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

โดยข้อตกลงเหล่านี้มักเกิดขึ้นในรูปแบบของสนธิสัญญาหรือบางครั้งอาจจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ตามซึ่งตัวอย่างที่อาจจะเห็นได้แก่ ข้อตกลงว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศต่างๆของหอการค้า,ข้อตกลงร่วมกันทางด้านการค้าและการลงทุนในระดับภูมิภาคเช่นของกลุ่มประเทศอาเซียนหรือกลุ่มประเทศยุโรปในเนื้หาของความตกลงมักจะมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งอาจจะมีนโยบายในการลดกำแพงภาษี คุ้มครองการลงทุนของรัฐสมาชิกและมีข้อตกลงในการเลือกใช้กฏหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทของคู่กรณีเพื่อให้การตัดสินข้อพิพาทเกิดความเสถีรภาพในทางกฏหมายและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับคู่กรณีไม่ว่าจะเป็นกรณีระหว่างรัฐกับรัฐ รัฐกับเอกชน หรือแม้แต่เอกชนด้วยกัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อตกลงเหล่านี้เริ่มมีมากขึ้นทั้งนี้เพราะระบบเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันเป็นระบบการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นความนิติสัมพันธ์อันเกิดขึ้นและมีความเกี่ยวโยงกับบุคคลหลายสัญชาติดังนั้นเพื่อลดปัญหาอันจะเกิดขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อตกลงเหล่านี้ขึ้นมาดังนี้หากจะศึกษาในเรื่องของการค้าและการลงทุนในเชิงระหว่างประเทศพึงที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในข้อตกลงเหล่านี้ให้เพียงพอเสียก่อนเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้าและระบบเศรษฐกิจและเพื่อจะได้ไม่ประสบกับปัญหาที่ตามมาในภายหลัง

  

หมายเลขบันทึก: 35245เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่แน่ใจว่าคุณกำลังพูดถึงนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ซึ่งจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายขัดกัน

หรือว่านิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐซึ่งจะต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

เหมือนกับว่าคุณพูดทั้งสองประเด็น

อยากให้แยกว่าการที่รัฐสองรัฐขึ้นไปทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้นมาเพื่อ ๑ ต้องการรักษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ๒ ต้องการรักษาผลประโยชน์ที่รัฐมี และ ๓ต้องการคุ้มครองเอกชนของตนในเรื่องต่าง ๆ

"ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เอกชนที่มีความเกี่ยวพันกับการค้าระหว่างประเทศและประสบปัญหาทางกฏหมายต้องทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกันโดยมีการกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อลดข้อยุ่งยากในข้อกฏหมายบางประการและสร้างความตกลงร่วมกันให้เกิดขึ้นในกลุ่มของผู้ค้าโดยไม่จำต้องคำนึงถึงกฏหมายตามสัญชาติของคู่ค้า"

จากบทความของคุณ ข้อความนี้น่าจะหมายความถึงสัญญาข้อหนึ่งข้อใดนำข้อความในสนธิสัญญาเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องข้อตกลงเลือกกฎหมาย ข้อตกลงเลือกศาลนำมาผนวกเอาไว้ -- อันนี้เป็นการนำคดีบุคคลมาใช้

"ข้อตกลงเหล่านี้มักเกิดขึ้นในรูปแบบของสนธิสัญญาหรือบางครั้งอาจจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ตามซึ่งตัวอย่างที่อาจจะเห็นได้แก่ ข้อตกลงว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศต่างๆของหอการค้า,ข้อตกลงร่วมกันทางด้านการค้าและการลงทุนในระดับภูมิภาคเช่นของกลุ่มประเทศอาเซียนหรือกลุ่มประเทศยุโรปในเนื้หาของความตกลงมักจะมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งอาจจะมีนโยบายในการลดกำแพงภาษี คุ้มครองการลงทุนของรัฐสมาชิกและมีข้อตกลงในการเลือกใช้กฏหมายเมื่อเกิดข้อพิพาทของคู่กรณีเพื่อให้การตัดสินข้อพิพาทเกิดความเสถีรภาพในทางกฏหมายและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับคู่กรณีไม่ว่าจะเป็นกรณีระหว่างรัฐกับรัฐ รัฐกับเอกชน หรือแม้แต่เอกชนด้วยกัน"

อันนี้เป็นสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับรัฐ -- นำคดีเมืองมาใช้ เพราะการเป็นภาคีสมาชิกเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐไม่ใช่เอกชนยกเว้นกรณีของ ICC ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่รัฐ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท