(19) ราชอาณาจักรภูฏาน : ความสุขรวมของประชาชาติ (GNH : Gross National Happiness)


ความสุขรวม
               อย่างที่ผมได้เขียนในบันทึก 18 ที่ว่าในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 ประเทศไทยของเราเป็นแชมป์ความสุขรวมของประชาชาติ(GNH :Gross National Happiness) แน่นอน                
           
แล้วหากวัดกันจริงๆ ตามหลักวิชาการ(วัดกันทั้งปี) ประเทศใดในโลกนี้ที่ท่านผู้อ่านคิดว่าน่าจะเป็นแชมป์ ?               
               
ผมว่า
ราชอาณาจักรภูฏาน น่าจะมีโอกาสเป็นแชมป์ ราชอาณาจักรภูฏาน ที่ตั้งอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ราชอาณาจักรภูฏาน เมื่อก่อนนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักคนไทย แต่เมื่อผ่านงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ของในหลวงเรา ผมเชื่อว่าคนไทยเราสนใจราชอาณาจักรภูฏานมากขึ้น                
                  
มูลเหตุที่ทำให้คนไทยเราสนใจ
ราชอาณาจักรภูฏานมากขึ้น   ผมว่าองค์มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน มีส่วนอย่างมาก อันเนื่องมากพระราชกิจวัตรของพระองค์ที่งดงาม(นอกเหนือไปจากพระสิริโฉมของพระองค์ที่งดงามอยู่แล้ว) ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนไทยทั่วไป ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไป ณ ที่แห่งใด บางแห่งที่พระองค์ทรงเสด็จไป ประชาชนชาวไทยที่คอบรับเสด็จโดยเฉพาะสาวๆถึงกับ กรี๊ด...เพค่ะ”           
            
ราชอาจักรภูฎานเป็นประเทศที่ไม่เหมือนใคร เต็มไปด้วยธรรมชาติและรักษาวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาที่หาดูได้ยากในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวคนไทยจำนวนมากต้องการไปสัมผัสแผ่นดินที่มี อาณาเขตติดกับเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับการเดินทางเข้าประเทศภูฏาน ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยมากสักเพียงใด แต่ด้วยข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยากและยังไม่ชัดเจนส่งผลให้การตามรอย เจ้าชาย จิกมี่มุ่งสู่ภูฎานของนักท่องเที่ยวไทยเริ่มส่อแววสะดุด หากจะดูจากโควตาจำนวนนักท่องเที่ยวที่ถูกจำกัดทั้งประเทศไม่เกิน 5,000 คนต่อปี โดยมีคนไทยไปเที่ยวปีหนึ่งไม่ถึง 100 คน ขณะที่สายการบินที่เปิดให้บริการระหว่างกรุงเทพ-พาโร มีเพียง 2 ไฟต์ต่อสัปดาห์เท่านั้น หรือแม้แต่ค่าเหยียบแผ่นดินที่ถูกกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อคนและต้องอยู่ท่องเที่ยวในประเทศต่อคนไม่ต่ำกว่า 10 วัน ข้อจำกัดดังกล่าวสร้างความลำบากใจให้กับบริษัทนำเที่ยวของไทยในการวางแผนโปรแกรมนำเที่ยวภูฎานเป็นอย่างมาก      
              
ประเทศภูฏานเป็นประเทศปิดและไม่เปิดให้เข้าไปท่องเที่ยวได้อย่างอิสระ และทุกครั้งในการท่องเที่ยวต้องขออนุญาตกับทางรัฐบาลก่อน เพราะรัฐบาลจะหวงแหนรักษาธรรมชาติและวัฒนธรรมในประเทศมาก ประกอบกับการเดินทาง และพิธีการผ่านเข้า-ออกประเทศรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกจึงไม่สะดวกเหมือนประเทศท่องเที่ยวทั่วไป ไม่มีรถยนต์ให้บริการจะมีก็แค่เพียงการเดิน และขี่ม้า จึงทำให้ประเทศภูฏานไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก แต่เมื่อเจ้าชายจิกมีได้เสด็จฯมาร่วมงาน จึงทำให้ชื่อภูฏานเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นและมีประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มสอบถามรายละเอียดจากบริษัททัวร์ ถึงการเดินทางไปเที่ยวในภูฏานกันมาก          
                   
แม้ว่าเส้นทางตามรอยเจ้าชาย
จิกมี่จะยุ่งยากลำบากสักเพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่โดนใจทำให้นักท่องเที่ยวไทยอยากไปสัมผัสดินแดนภูฎานแห่งนี้สักครั้งในชีวิตคือแง่คิดของเจ้าชายที่ว่า ความสุขมวลรวมของคนในประเทศสำคัญกว่าสิ่งใดๆทั้งปวงด้วยเหตุผลนี่เองคือที่มาของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการอนุรักษ์และส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรมตามด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ พร้อมส่งเสริมความเที่ยงธรรมและธรรมาภิบาล คือจุดขายอันโดดเด่นในแง่ของแหล่งท่องเที่ยวที่ประเทศภูฏานแห่งนี้ได้ถูกสรรสร้างขึ้นมาด้วยความตั้งใจ เพียงเพราะต้องการให้ประชาชนภายในประเทศมีความสุขอย่างแท้จริง
คำสำคัญ (Tags): #เผยแพร่ความรู้
หมายเลขบันทึก: 35212เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท