@7 อุปนิสัย แห่งองค์กรแห่งการเติมใจ@


การเอาชนะใจตนเอง คือ เปลี่ยนจากคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นไปเป็นคนที่พึ่งพาตนเองหรือ "ชนะใจตนเอง" เมื่อพึ่งพาตนเองได้ถือว่ามีพื้นฐานสำหรับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ก็จะสามารถก้าวไปสู่การ "ชนะใจผู้อื่น"
  สวัสดีปีใหม่จ้า ชาว g2k วันนี้เล่นสงกรานต์เป็นวันแรกสนุกมั้ยเอ่ย?
เอาล่ะ จะเล่นยังไงก็ระวังอุบัติเหตุด้วยนะ และก็รักษาสุขภาพด้วยล่ะ
คืนนี้ก็มีบันทึกดีดีมาฝากอีกแล้วจ้า ขอบคุณ เจ้ แจ๋วแหวว มากมายหลายหลาย
 ที่อนุเคราะห์เรื่องราวดีดีให้เรามาต่อยอด และบอกต่อนะจ๊ะ
จากบันทึกที่แล้ว เจ้แจ๋วแหวว ได้เม้นต์มา เราก็เลยสนใจก็เลยลองหาข้อมูลใน net ดู
เรื่อง 7 อุปนิสัย ของ สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์
ซึ่งเราพบว่า บทความในหนังสือนั้น มีประโยชน์มากๆในการนำมาใช้กับองค์กร และเรื่องก็มีอยู่ว่า

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)

เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้

2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind)

การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ "เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ" นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเองและเป็นการที่เราดำเนินชีวิต และตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รุ้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา

3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.)

อุปนิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับ คือ สำคัญมากเร่งด่วน, สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน. และทำตามลำดับ สิ่งที่เป็นปัญหาคือเรามักจะถูกแทรกแซงความสนใจไปกับเรื่องที่เร่งด่วนแต่อาจไม่สำคัญต่อเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการบรรลุเป้าหมายเช่น การออกกำลังกาย ใช้เวลาเพื่อการทบทวนเนื้อหาวิชานั้นเราละเลยไป เชื่อว่าหากเราค้นว่า "สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น ณ วันนี้" เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะชัดเจนในการจัดการสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายเราได้

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)

จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์แต่ละสถาณการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า "จะไม่ตกลง" ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความproactiveที่มีค่าของผู้อื่น (I'm Ok, You're Ok.)บทนี้เน้นการแก้ปัญหาโดยศาลควรเป็นทางเลือกท้ายสุดเพราะมีเพียง แพ้ หรือ ชนะ เท่านั้น

5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้งก่อน ลดการปะทะกัน

6. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น

7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw) คือ การฝึกปฏิบัติทั้ง 6 ข้อ อยู่เสมอ

มีคำกล่าวที่ว่าถ้าคนเก่ง หรือคนที่คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว แต่ไม่พัฒนาตัวเอง ความรู้ความสามารถที่มีอยู่เดิมอาจจะใช้การไม่ได้ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ผลงานที่เคยทำได้ดีก็อาจจะไม่ดีเหมือนเคย เหมือนกับเลื่อยที่ถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่หมั่นลับคม สักวันมีดก็ทื่อ ใช้การไม่ได้ในที่สุด

   ซึ่งอุปนิสัยที่ 1, 2, 3 จึงเกี่ยวข้องกับการเอาชนะใจตนเอง คือ เปลี่ยนจากคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นไปเป็นคนที่พึ่งพาตนเองหรือ "ชนะใจตนเอง" เมื่อพึ่งพาตนเองได้ถือว่ามีพื้นฐานสำหรับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ก็จะสามารถก้าวไปสู่การ "ชนะใจผู้อื่น" ด้วยการทำงานเป็นทีมและสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลในอุปนิสัยที่ 4, 5, 6 สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นอุปนิสัยที่ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ชนะใจตนเอง (อุปนิสัยที่ 1-3)

เพราะว่า เราไม่สามารถอยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ได้ เพราะฉะนั้น เราก็จะละเลยคนรอบข้างไม่ได้ แล้วหนังสือเล่มนี้ก็จะทำให้คนรอบข้างเราที่เคยตรอมใจ กลับมาเต็มใจได้ 

เป็นอย่างไรบ้างจ๊ะ ทุกคนนี่เป็นแค่ตัวอย่างบางตอนนะ เดี๋ยวงวดหน้าเราจะมาเจาะลึกกันดูว่าแล้วอุปนิสัยเหล่ามีลักษณะอย่างไร และสามารถนำไปใช้อย่างไรได้บ้างจ๊ะ สำหรับคืนนี้ ราตรีสวัสดิ์

เล่นสงกรานต์กัน ให้ม่วนซื่นนะจ๊ะ

ขอปะแป้งหน่อย

 

 

หมายเลขบันทึก: 351514เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้กับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^__^

แทนคำขอบคุณแด่ผู้หญิงสวยสมองดี อย่างน้องผักบุ้งด้วย http://gotoknow.org/blog/manorom/351155 ค่ะ

 หวัดดีจ้า น้องต้นเฟิร์น ยินดีเสมอจ้า ขอบคุณหลายๆจ้า

 หวัดดีค่ะ คุณ by jan ขอบคุณเช่นกันค่ะ

ผู้สวยสมองดีอีกหนึ่งคน ขอบคุณค่ะ 

ความคิดและจิตใจสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด..

แว่ะมาเยี่ยมผักบุ้งนะครับ...

หวัดดีค่ะ คุณ ราชิต ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะค๊ะ ขอบคุณสำหรับข้าวผัด และก็โอเลี้ยงด้วย เฮ้ย! ค่ะ ใช่แล้วค่ะ ถ้าเราคิดดี เราก็จะทำดี จิตใจเราก็ดีตามค่ะ

ขอบคุณหลายๆจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท