การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก ปีการศึกษา 2552


ผลการประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก ปีการศึกษา 2552 พบว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนและหลังดำเนินการด้านผลผลิตของโครงการโดยภาพรวม สูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกข้อ ผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมทั้ง 18 กิจกรรมตามดครงการ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจราณาเป็นรายกิจกรรม พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม

ชื่อผลงานทางวิชาการ

การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก  ปีการศึกษา 2552

ชื่อผู้เสนอผลงาน

นายทรงวุฒิ  สุวรรณธาตรี

                                                            บทคัดย่อ

          การประเมินผลโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก  ปีการศึกษา 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในประเด็นต่างๆ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ดังนี้ 1)เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับความเหมาะสมและความสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ  2)เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับการจัดบุคลากร ทรัพยากรและปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ในการดำเนินโครงการ  3)เพื่อประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ  4)เพื่อประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

         กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน ประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสุเหร่าลำแขก จำนวน 278 คน ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสุเหร่าลำแขก จำนวน 278 คน ครูโรงเรียนสุเหร่าลำแขก จำนวน 34 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน

         เครื่องมือทีทใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความถี่ วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย t-test

         ผลการประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก ปีการศึกษา 2552 สรุปได้ดังนี้

          1. ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด

          2. ด้านปัจจัยนำเข้า  ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินความพร้อมในการเตรียมงาน งบประมาณ สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และการได้รับการสนับสนุน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด

          3. ด้านกระบวนการ  ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความคิดเห็นว่า มีกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับ มากที่สุด

          4. ด้านผลผลิต  ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินโดยประเมินสภาพการเรียนรู้ของนักเรียนหลังดำเนินโครงการ จากความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่า สภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับ มากที่สุด

          เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนและหลังดำเนินการด้านผลผลิตของโครงการโดยภาพรวม สูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกข้อ

          ผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมทั้ง 18 กิจกรรมตามโครงการ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ในระดับมากที่สุด ทุกกิจกรรม

          ท่านสามารถดูรายละเอียดของโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก ปีการศึกษา 2552 ได้จาก http://lumkak.org โปรดแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกนี้และขอขอบพระคุณที่เข้ามาอ่านบันทึก

หมายเลขบันทึก: 350805เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2010 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดถึงโรงเรียนสุเหร่าลำแขกมากๆค่ะและครูทุกๆท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท