ช่วยคนไข้ให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องที่ลำปาง


helping patient to good medication adherence

           เภสัชกรประจำคลินิกพิเศษโรคเรื้อรังเบาหวานได้ค้นพบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งใช้ยาได้ไม่ถูกต้อง  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไม่ได้ตามเป้าหมาย   อีกทั้งผู้ป่วยเกือบทั้งหมดไม่ได้นำเอายาเดิมมาด้วยเมื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล  ทำให้เกิดความยุ่งยากในการซักประวัติการใช้ยาและไม่ทราบจำนวนยาที่เหลือค้างอยู่ที่บ้าน  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่แพทย์มีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาจะเกิดความสับสนระหว่างยาเดิมที่เหลืออยู่และยาใหม่ที่ได้รับไป  จึงได้กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานให้ถูกต้องโดยรณรงค์ให้ผู้ป่วยนำเอายาเดิมมาด้วยทุกครั้งที่มาโรงพยาบาล  เภสัชกรประจำคลินิกเบาหวานจะทำหน้าที่ซักประวัติการใช้ยา นับจำนวนยาเหลือ บันทึกลงใน OPD card ก่อนพบแพทย์  และให้คำแนะนำในการใช้ยา รวมทั้งเฝ้าระวัง prescribing error หลังพบแพทย์  โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมา

            หลังจากดำเนินการแล้วพบว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น  สามารถประหยัดมูลค่ายาโดยรวมได้มากขึ้นจากการลดจำนวนยาที่จ่ายให้ผู้ป่วยที่มียาเก่าเหลืออยู่    และสามารถป้องกันการเกิด prescribing error ได้  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น

            เภสัชกรประจำคลินิกเบาหวานจะทำหน้าที่ซักประวัติการใช้ยา  และรับฟังผู้ป่วยในสิ่งที่ผู้ป่วยอยากจะบอกเล่า   ผู้ป่วยจะนำเอายาเก่ามาด้วยทุกครั้งเมื่อมาพบแพทย์โดยใช้โครงการ “ถุงเขียวใบย่อม ต้อมยามาโรงพยาบาล”  เภสัชกรจะแจกถุงผ้าใส่ยาให้ผู้ป่วยใส่ยากลับบ้านและใส่ยาเดิมมาด้วยทุกครั้งเมื่อมาพบแพทย์  ผู้ป่วยจะเล่าให้เภสัชกรฟังว่ากินยาอย่างไร  เภสัชกรทำการเปรียบเทียบการกินยาที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังเปรียบเทียบกับประวัติใน OPD card  รวมทั้งซักประวัติการรักษาจาก รพ.อื่น  ประวัติการกินยาสมุนไพร  การซื้อยาจากร้านขายยา  การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา นับยาที่เหลือ  และบันทึกลงใน OPD card เพื่อแจ้งแพทย์ทราบ

            หลังจากพบแพทย์แล้วผู้ป่วยจะกลับมาพบเภสัชกรอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับฟังการปรับเปลี่ยนแผนการรักษา  คำแนะนำในการใช้ยาเพิ่มเติม  รวมทั้งรับทราบการปรับเปลี่ยนลักษณะของเม็ดยาหากมีการเปลี่ยนบริษัทที่ซื้อ   ในกรณีที่ผู้ป่วยอ่านไม่ออกเภสัชกรจะพิจารณาใช้ฉลากยารูปภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง  และที่สำคัญหากพบว่าเกิด prescribing error  เภสัชกรจะกลับไปปรึกษากับแพทย์เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

คำสำคัญ (Tags): #medication adherence
หมายเลขบันทึก: 350079เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2010 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เยี่ยมมากๆๆครับ
  • เอาเบาหวานสมุทรสาครมาฝากครับ

HHC โรงพยาบาลสมุทรสาคร(เบาหวาน)

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313150

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313700

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอบคุณที่เข้ามา ment นะคะ กำลังศึกษาการใส่รูปภาพใน bloc อยู่ค่ะ บันทึกต่อไปจะได้มีรูปด้วย ยังทำไม่เป็นเลย 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท