สรุปอ่านงานวิจัยเล่มที่ 4 ครับ


ดนตรี

ชื่อเรื่อง  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ เล่นดนตรีไทยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน

ชื่อผู้วิจัย  ชัชวาล  มะลิซ้อน

ปีที่วิจัย  2545

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด น่าน
  2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดน่าน

วิธีวิจัย

                วิธีการวิจัย

                        เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ

                กลุ่มตัวอย่าง

                        กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดนตรีไทย และนักเรียนที่เล่นดนตรีไทยในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน พิจารณาจากตารางการกำหนดขนาดกลุ่มของตัวอย่าง ของ Krejcie and Morgan  ได้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 44 คน  ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดนตรี จำนวน  44 คน  นักเรียนที่เล่นดนตรีไทย จำนวน 276 คน      การสุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบจงใจ (Purposive sampling) โดยเลือกสุ่มเฉพาะโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยเท่านั้น  จากนั้น สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามต้องการ

                เครื่องมือที่ใช้วัด

                        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 2 ฉบับ   

ฉบับที่ 1 แบ่งเป็น 2 ตอน มีลักษณะเป็นการตรวจสอบรายการ (Check list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท (Likert)     

ฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดนตรี และนักเรียนที่เล่นดนตรีไทย โดยการสัมภาษณ์ประมาณร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่าง

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ถึงโรงเรียนประถมศึกษา ที่ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย จำนวน 50 โรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
  2. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์โดยใช้หนังสือนำของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ถึงผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย  โดยการผนึกตราไปรษณีย์ พร้อมจ่าหน้าซองถึงผู้วิจัย
  3. ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืนจำนวน 364 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 และมีการตอบที่สมบูรณ์ทุกฉบับ ซึ่งใช้วิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

                ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคือทุกฉบับ มาตรวจสอบความสมบูรณ์ แล้วดำเนินการหาท่าทางสถิติ วิเคราะห์ นำเสนอในรูปของตารงประกอบคำบรรยาย ตามขั้นตอนดังนี้

  1. นับจำนวนและคำนวณค่าร้อยละของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา แล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบ ก่อนลงรหัสข้อมูล       
  2. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
  3. คำนวณค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  จังหวัดน่าน
  4. วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Anova Repeated Measure)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลตามข้อที่ 1-4 วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ระดับมากในการจัดกิจกรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย คือ ปัจจัยด้านบุคลากร  ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้รับผิดชอบดนตรีไทย ด้านนักเรียน และด้านวิทยากรภายนอก ส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ระดับปานกลาง ห้องดนตรี  เครื่องดนตรี การประกวดและแข่งขัน เวลาในการฝึกซ้อม การได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและผู้ปกครอง
  2. เปรียบเทียบปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยในโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จมาก ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นดนตรีไทย คือ ปัจจัยด้านครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดนตรีไทย มีความรู้ และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ในการเล่นดนตรีไทย (ค่าเฉลี่ย 3.94) ปัจจัยด้านผู้บริหารให้ขวัญ และกำลังใจในการสนับสนุน ด้านสื่อการสอน ต่อครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดนตรีไทย (ค่าเฉลี่ย 3.85) และปัจจัยด้านวิทยากรภายนอกมีความรู้ความสามารถด้านดนตรีไทยหลายประเภท และช่วยสอนดนตรีได้ (ค่าเฉลี่ย3.67)
คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 349773เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท