เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
คลังเร่งหาเงิน 4 ...
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
คลังเร่งหาเงิน 4 แสนล. อัดฉีด ศก. รับงบฯ ปี 50
การคลัง
กระทรวงคลังเตรียมมาตรการกู้เงินทุกรูปแบบ เร่งหาเงินสด
3-4
แสนล้านอัดฉีดระบบเศรษฐกิจ รองรับ
ผลกระทบการเมืองทำร่าง พ.ร.บ.งบรายจ่ายปี
2550
ล่าช้า
เหตุไร้รัฐบาล "สป." กังวลหนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น
1.1
แสนบาทต่อคนต่อปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยเมื่อวันที่
18
มิถุนายน ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการ
จัดเตรียมมาตรการรองรับสำหรับกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
2550
จะต้องล่าช้าออกไปจากความไม่ชัดเจนทางด้านการเมือง ซึ่งอาจจะทำให้การเลือกตั้งล่าช้า และไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล หรือเปิดประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายใด ๆ ได้ แต่ความล่าช้าดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
เพราะขาดเม็ดเงินที่จะใช้ในการอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยแนวทางที่เตรียมการไว้และคาดว่าจะเป็นไปได้มาก
ที่สุด คือ การกู้เงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบริหารเงินสด ผ่านการออกตั๋วเงินคลัง หรือการออกพันธบัตร เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้ก่อนในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการจัดทำงบประมาณ
"
ปัญหาของกระทรวงการคลังตอนนี้คือ ไม่มีเครื่องมือทางการคลังที่จะเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ทัน เพราะติดเรื่องกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเสถียรสภาพ จึงไม่สามารถจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม หรือทำงบขาดดุลระหว่างปีได้ ซึ่งต่างจากในอดีตเมื่อตอนวิกฤต
2540
กระทรวงการคลังใช้วิธีเปลี่ยนจากงบสมดุลมาเป็นงบขาดดุล ในการจัดทำงบประมาณปี
2542
เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ แต่ขณะนี้เรามีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณที่ไม่สามารถขยับอะไรได้จึงต้องหาวิธีอื่น"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงแรกที่ปัญหาการเมืองยังไม่ยืดเยื้อมากนัก กระทรวงการคลังเลือกที่จะใช้วิธีเร่งรัด
การเบิกจ่ายงบประมาณในทุกประเภท เพื่อให้ระหว่างที่ยังไม่มีงบประมาณปี
2550
นั้น ยังคงมีรายจ่าย
จากภาครัฐเข้าไปหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ โดยเท่าที่มีการประเมินไว้จะต้องมีเม็ดเงินประมาณ
3-4
แสนล้านบาท ที่จะอัดฉีดเข้าไปตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงไตรมาส
1
ของปีงบประมาณ
2550
ซึ่งมาจากงบฯลงทุนของปี
2549
ที่มีอยู่
2
แสนล้านบาท จะให้ใช้ให้หมดภายในไตรมาส
1
ของปีงบฯ
2550
และงบฯ เหลื่อมปีของปีงบประมาณ
2547
และ
2548
อีกประมาณ
7
หมื่นล้านบาท ก็จะเร่งให้เบิกจ่ายมาใช้ให้หมดภายในเดือนกันยายน
2549
รวมทั้งการ
เร่งเบิกจ่ายงบฯ ลงทุนของปีงบฯ
2550
ซึ่งเป็นโครงการที่เคยอนุมัติในหลักการไปก่อนอีกประมาณ
1.2
แสนล้าน
บาท
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอีกด้านของการเร่งการเบิกจ่ายงบฯ ทุกประเภทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคือ ธรรมชาติ
ของเงินภาษีที่จะไหลเข้ามามากในช่วงกลางปีงบประมาณ หรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของแต่ละปีเป็นต้นไป จากการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล
ขณะที่ช่วงต้นปีงบประมาณหรือช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมในแต่ละปีนั้น
เงินภาษีจะเข้ามาน้อยกว่ารายจ่ายเล็กน้อย แต่ปีนี้เป็นปีไม่ปกติที่รัฐบาลต้องการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวน
มาก
ดังนั้น จึงต้องเตรียมบริหารเงินสดหรือเงินคงคลังล่วงหน้า
"
แนวทางที่จะใช้คาดว่าจะใช้เครื่องมือเดิมคือ การออก
ตั๋วเงินคลังเป็นหลัก และบางส่วนอาจจะใช้การออกพันธบัตรตามช่องทางที่กฎหมายอนุญาตให้ออกได้ โดยอยู่ระหว่างประเมินตัวเลขที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งการกู้เงินดังกล่าวจะดำเนินการไปก่อนในช่วงต้นปีงบประมาณ
2550
เมื่อมีรัฐบาลใหม่และจัดทำงบประมาณก็มาดูกันอีกทีว่ารายได้
1.47
ล้านล้านบาท ที่คาดไว้จะทำได้หรือไม่ และจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลเท่าไหร่ แต่การจัดทำงบประมาณล่าช้าไปเท่าใด โอกาสในการใช้งบประมาณขาดดุลในปี
2550
ก็มีมากขึ้นเท่านั้น"
รายงานข่าวแจ้งว่า แนวทางการกู้เงินเข้ามาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังนั้นถือว่ามีโอกาสทำได้มากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ไม่ต้องออกกฎหมาย หรือรอการตัดสินใจของสภา และระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันยังมีน้อยและเหลือช่องให้สามารถสร้างหนี้ได้เล็กน้อย โดยอยู่ระดับ
40%
ของจีดีพีเท่านั้น เพียงแต่เรื่องดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายหนี้สาธารณะ และที่ประชุม ครม. ซึ่งขึ้นอยู่กับทางฝ่ายการเมืองว่าจะกล้าตัดสินใจในขณะที่เป็นรัฐบาลรักษาการหรือไม่
มติชน (บางส่วน) 19 มิ.ย. 49
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
ใน
สรุปข่าวประจำวันของห้องสมุดกรมบัญชีกลาง
คำสำคัญ (Tags):
#การคลัง
หมายเลขบันทึก: 34957
เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 15:50 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:11 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
คลังเร่งหาเงิน 4 ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท