สรุปสาระสำคัญของการวิจัยเรื่องที่ 4


การวิจัยทางการศึกษา

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย  เรื่องที่  4

ของนางณัฐนิช   เขียวพอ  IT 8  กลุ่ม  2

นักศีกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

  1.  ชื่อเรื่อง   ระบบและกลไกลที่มีประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองเชียงใหม่ = Effective system and mechanism in private schools' educational quality assurance, Mueang Chiang Mai District
  2. ผู้วิจัย  นายณัฏฐรี โพธิ์คง 
  3. ปีที่วิจัย    ปี  2547
  4. วัตถุประสงค์

4.1  เพื่อศึกษาการดำเนินงานเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกโดย สมศ.ของโรงเรียนเอกชน   อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

4.2  เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพ

ในการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

       5.  วิธีวิจัย

5.1   วิธีการ

                เชิงสำรวจ

5.2   กลุ่มตัวอย่าง

                กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชน  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  ที่เปิดสอนในระดับขั้นพื้นฐาน  ช่วงชั้นที่  1

(  ป.1 –  ป. 3 )  ช่วงชั้นที่  2 (  ป.4 –  ป. 6 )และ ช่วงชั้นที่  3 (  ม.1 –  ม. 3 )  ทุกขนาด  ที่ได้รับการประเมิน  สมศ.  จำนวน  105   คน   ในปีการศึกษา  2545

  5.3   เครื่องมือ

เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม   แบบเลือกตอบและแบบปลายปิดแบบมี 3  ตอน

ตอนที่  1  สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2   ระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นแบบเลือกตอบ

 

                ตอนที่  3  ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพ

ในการประกันคุณภาพการศึกษา

5.4   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                5.4.1   นำหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลไปยังผู้บริหารโรงเรียนเอกชน  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

                5.4.2   นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง  จากกลุ่มประชากร 

5   วิธีวิเคราะห์ผล

                สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย (X)

  1. ผลการวิจัย
    1. การดำเนินงานเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน  ในขั้นเตรียมการ   ขั้นดำเนินการ  ขั้นการรายงาน   ขั้นรับการประเมิน  และขั้นการปรับปรุง  มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  ส่วนกิจกรรมที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก

ส่วนกิจกรรมที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง  ได้แก่  การจัดเก็บข้อมูลของชุมชน  และแนวโน้มในการพัฒนาท้องถิ่น 

  1. ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะที่พบคือ  บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและ

ทักษะ  ขาดความตระหนักและความเข้าใจ  ขาดความพร้อมและประสบการณ์ในการประกันคุณภาพการศึกษา  บุคลากรมีภาระงานมาก  ขาดการจัดเก็บข้อมูลชุมชน  การจัดทำสารสนเทศ

ในด้านต่าง ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาท้องถิ่น ขาดระบบในการทำงาน  และขาดการกำกับ   ติดตาม   ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ  ข้อเสนอแนะออคือ   มีการจัดเก็บข้อมูลชุมชน   มีจัดทำสารสนเทศในด้านต่าง ๆ  กำกับ   ติดตาม   ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ก
หมายเลขบันทึก: 349470เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท