ส่งงานครั้งที่ 3 (เรื่องที่ 4 และ 5) ค่ะ


สรุปสาระสำคัญของงานวิจัย

งานวิจัย 4

ชื่อเรื่อง  :  การจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 : กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลดารารัศมี

  

ผู้วิจัย  :  รัตน์ เที่ยงตรง  

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ปีที่วิจัย  :  2548

 

วัตถุประสงค์  :  เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่                        การศึกษาหนองคาย เขต 1 : กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลดารารัศมี (นามสมมติ)

  

วิธีวิจัย   

                วิธีการ  :  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

                กลุ่มตัวอย่าง  :  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการเลือกแบบเจาะจง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 1 โรงเรียน

                เครื่องมือ  :   แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร และแบบบันทึกภาคสนาม สำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม นอกจากนั้นยังใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก(Indepth Interview ) 

               วิธีเก็บรวบรวม  : 

                1) ผู้วิจัยได้ติดต่อโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษาเพื่อขอความร่วมมือในการทำวิจัย โดยผู้วิจัยได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และขอบข่ายของการศึกษาในโรงเรียน กับผู้บริหาร หลังจากนั้นได้จัดส่งหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อขออนุญาตในการดำเนินการศึกษา

                2) ผู้วิจัยได้เดินทางไปโรงเรียนกรณีศึกษาก่อนเริ่มเก็บข้อมูลได้ทำความคุ้นเคยกับคณะครูผู้ให้ข้อมูลและผู้บริหาร จากนั้นได้กำหนดแผนการเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์กับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าสายชั้น และคณะครู พร้อมขออนุญาตการบันทึกเสียง ทั้งนี้การไม่บันทึกเสียงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้วิจัย

                3) การศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงเรียนกรณีศึกษาได้แก่ ธรรมนูญโรงเรียน แผนกลยุทธ์ รายงานการประเมินตนเองแผนงบประมาณ เอกสารการอบรมสัมมนา รายงานผลการปฏิบัติงาน เอกสารสรุปการดำเนินงาน กิจกรรมของโรงเรียน คำสั่งโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษา เอกสารการวัดผล ประเมินผล แผ่นพับ ผลงานนักเรียน และภาพถ่าย เป็นต้น

                4) จัดทำตารางกำหนดนัดหมายเพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามและสัมภาษณ์บุคลากร                              

               วิธีวิเคราะห์ผล  : 

               1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารสถานศึกษาคณะครู ตามตารางนัดหมายการให้สัมภาษณ์ ตามกรอบแนวคิดของการวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลตามกรอบแนวคิดและคำตอบของผู้ให้ข้อมูลมีความตรง และความเที่ยง ตามเนื้อหา แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกข้อมูลตามกรอบแนวคิด 3 ด้าน ตาม พฤติกรรมที่แสดงออกตามกรอบแนวคิดที่กำหนด

              2.  การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ผู้วิจัยได้ดำเนินการขอรับเอกสารจากฝ่ายธุรการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ซึ่งผู้บริหารได้ให้ความอนุเคราะห์แล้ว และถ่ายสำเนาเอกสาร แยกประเภทเอกสาร เอกสารที่เข้าถึงยาก ได้ใช้ความพยายามในการขอถ่ายสำเนา ได้ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์ตามกรอบประเด็นของกรอบแนวคิดการวิจัย

              3. การวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามจากแบบบันทึก (Field notes) เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ และกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน และบางครั้งอาจมีการสัมภาษณ์เพื่อเป็นการยืนยันและการให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการนั้นๆ การนำข้อมูลภาคสนามทั้งหมดและข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์ตามกรอบแนวคิดและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysys)

 

ผลการวิจัยพบว่า  : 

             1. ด้านการกำหนดเป้าหมาย โรงเรียนได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ที่อาศัยวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นตัวกำหนดกิจกรรมงานและโครงการทุกด้านมุ่งสู่ความเป็นเลิศของผู้เรียน นักเรียนมีความรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียน นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สำหรับการสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยได้นำมากำหนดวิสัยทัศน์ โดยเน้นไปที่ผู้เรียนในด้าน ความเป็นเลิศทางวิชาการ มีพื้นฐานทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และการประกอบอาชีพ วินัยในตนเอง มีความรัก ศรัทธาศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและมีสุขภาพอนามัยดี เป็นเป้าหมายที่โรงเรียนสามารถบรรลุผลได้

              2. ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าโรงเรียนได้ใช้การบริหารงานโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมมีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจนมีความพร้อมด้านทรัพยากรวัตถุ เทคโนโลยี งบประมาณและบุคคล บุคลากรรู้หน้าที่การงานของตน มีการประสานงาน สื่อสารที่ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นและสามารถสรุปผลงานได้ มีความเป็นมืออาชีพสูง สามารถนำสื่อมาใช้และประกอบการพัฒนางาน

               3. ด้านการสร้างและใช้คลังความรู้ พบว่าบุคลากรในโรงเรียนมีการคิดสร้างและใช้คลังความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีแฟ้มสะสมงาน มีการจัดระบบชิ้นงาน เอกสารหลักฐานถูกต้อง เป็นปัจจุบันสามารถนำไปใช้ได้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ของครูต้นแบบการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันตามโครงการต่าง ๆ การจัดอบรมด้านคอมพิวเตอร์ให้บุคลากรเพื่อนำไปจัดทำสื่อแบบวัดผล ประเมินผล เป็นต้นแบบของการศึกษาดูงานของเครือข่ายและหน่วยงานอื่น

  

 

 

งานวิจัย 5

 

ชื่อเรื่อง  :  การจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4

 

ผู้วิจัย  :  วสันต์ ลาจันทึก

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ปีที่วิจัย  :  2548

 

วัตถุประสงค์  : 

           1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4

            2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ที่ทำให้การจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประสบผลสำเร็จตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร

วิธีวิจัย 

                วิธีการ  :  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

                กลุ่มตัวอย่าง  :  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาจำนวน 140 โรงเรียน โดยการเปิดตารางKrejcie ,Morgan (2540,อ้างใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ )จากประชากรทั้งหมด 220 โรงเรียน โดยทำการสุ่มอย่างงาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูและผู้บริหารอย่างละ 1 คนจาก 140 โรงเรียน รวมเป็น 280 คน

                เครื่องมือ  :   แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการความรู้ในสถานศึกษาที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นแบ่งเป็น 3 ตอน คือ

                ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ(Checklist)ได้แก่เพศ อายุ อายุราชการ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

                ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale ) ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการความรู้ในสถานศึกษาและตอนท้ายเป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการจัดการความรู้ ซึ่งลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale ) 5 ระดับ ดังนี้

                          5 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นในระดับ มากที่สุด

                          4 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นในระดับ มาก

                          3 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นในระดับ ปานกลาง

                          2 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นในระดับ น้อย

                          1 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นในระดับ น้อยที่สุด

                ตอนที่ 3 คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัจจัย องค์ประกอบที่ทำให้การบริหารจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประสบผลสำเร็จ

                วิธีเก็บรวบรวม  : 

            1. ขอหนังสือจากทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล

            2. ขอหนังสือขอความอนุเคราะห์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4  ถึงโรงเรียนทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4                                                                                                                        3. ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูล และแบบสอบถาม ถึงโรงเรียนทุกโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4  และขอความอนุเคราะห์ให้ตอบแบบสอบถาม และส่งกลับคืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4

                วิธีวิเคราะห์ผล  :  ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS ค่าสถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการวิจัยพบว่า  : 

            1) การจัดการความรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก” ตามทัศนะของครูและผู้บริหาร เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ภาวะผู้นำขององค์การ ความเชื่อค่านิยมวัฒนธรรมของหน่วยงาน เทคโนโลยีที่ใช้ในโรงเรียน การสื่อสารในโรงเรียน กระบวนการจัดการความรู้ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติอันดับสุดท้ายคือ การวัดผลการจัดการความรู้

            2) องค์ประกอบที่ทำให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ในส่วนของสถานศึกษาได้แก่ ส่งเสริมบุคลากรโดยสนับสนุนงบประมาณ มีนโยบายแผนงานชัดเจน ตลอดจนระบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน ด้านผู้บริหารต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนสร้างขวัญกำลังใจโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 เป็นบุคคลที่รับผิดชอบสูง ด้านครูผู้สอนต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง นำเข้าองค์ความรู้ใหม่ บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเอง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องประสานสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเข้าใจหลักของการจัดการความรู้

-----------------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 349441เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2010 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • วันสงกรานต์นี้เที่ยวให้สนุกเดินทางด้วยความปลอดภัยนะค่ะ 
  • สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ

                        

เก่งจังเลยคะพี่นก^^

หนาวๆๆดุเเลสุขภาพด้วยนะคะ

รักกกกกกมากม้าย^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท