การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ


ตอบ...หมายเลข 100...

  • ขอบคุณค่ะ...

เรียนอาจารย์ บุษยมาศ ที่เคารพ กระผมขอแบบฟอร์ม การปรับตำแหน่งจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ของงานช่าง วุฒิ ปวส. ก่อสร้าง วุฒิ ปริญญาตรี เทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนง การจัดการอุตสาหกรรม

กรุณาส่งมาที่เมล์ [email protected] ด้วยนะครับ

ขอขอบคุณมากครับ

จาก ภารโรงเรียน วัดสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี

เรียน อาจารย์บุญยมาศครับ ผมได้เข้าไปดูตารางปรับตำแหน่งช่างแล้วเห็นมี ตำแหน่งช่างต่อเรือเหล็ก อยู่ด้วย ส่วนผมเป็นลูกจ้างประจำกรมอู่ทหารเรือสังกัดกระทรวงกลาโหม ผมอยู่ในตำแหน่ง ช่างต่อเรือเหล็กชั้น ๒ ครับ อย่างนี้แสดงว่าผมก็น่าจะได้ปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำเหมือนคนอื่นด้วยใช่หรือเปล่าครับ รบกวนนะครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณสมชาย...

  • ให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของงานช่าง ระดับ 4 ก่อน ว่าเขาให้ทำอะไร
  • ถ้าเขาให้สอบ ส่วนราชการก็ต้องสอบ หรือมีชิ้นงานที่ให้คณะกรรมการตรวจสอบค่ะ
  • คุณบอกตำแหน่งไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถดูในระดับ 4 ให้ค่ะ ลองศึกษาบล็อกด้านล่างนี้ก่อนนะค่ะ ถ้าอย่างไรแล้ว แจ้งตำแหน่งให้ชัดเจนด้วยค่ะ ถึงจะบอกรายละเอียดให้ได้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

ตอบ...หมายเลข 103...

  • ค่ะ ให้คุณลองถามงานการเจ้าหน้าที่นะค่ะ ถ้าเป็นลูกจ้างประจำส่วนราชการ ก็สามารถปรับได้เช่นเดียวกันค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษมาศ เดิมผมเป็นช่างครุภัณฑ์ 3 แล้วต่อมาผมไปสอบช่างสีที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานที่สุพรรณบุรี

ผมมีความต้องการที่จะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นช่างสีระดับ 4 ครับ

อาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วย ผมไปถามท่านผู้บริหาร ร.ร.หลาย ๆ ท่านก็บอกไม่รู้ไม่ทราบ ผมอยากทราบหลักเกณฑ์การเปลี่ยนเป็นช่างชั้น 4 และต้องการแบบฟอร์มการเปลี่ยนด้วยครับ

ผมขอขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณสมชาย...

  • ขั้นแรกให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของช่างสี ตามไฟล์ด้านล่างนี้ก่อนนะค่ะ...
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb1.pdf
  • และต้องถามว่า ปัจจุบันค่าจ้าง คุณได้รับเท่าไรเกิน 22,220 หรือยัง
  • ถ้าอ่านคุณสมบัติของช่างสี ระดับ 4 ทั้ง 4 ข้อ แล้วคุณสามารถเข้ากับข้อใดข้อหนึ่งได้ ก็สามารถทำได้ค่ะ
  • ในกระบวนการทำ...มีการตั้งคณะกรรมการที่จะดำเนินการสอบคุณ การสอบอาจเป็นการให้คุณทำงานให้เห็นชิ้นหนึ่งก็ได้ค่ะ...
  • แต่ก็ต้องดูบริบทว่า โรงเรียนมีตำแหน่งช่างสี แล้วสามารถทำอะไรในอนาคตให้กับโรงเรียนได้บ้าง...
  • ไม่ทราบว่าต้องให้เขตพื้นที่ทำให้หรือไม่ค่ะ...เพราะผู้เขียนไม่เข้าใจว่า สพฐ.มอบอำนาจให้โรงเรียนทำหรือเปล่า สอบถาม สพฐ.+สพป. ดูก่อนนะค่ะ ถ้าทำได้ แล้วใครออกคำสั่ง (ตรงกระบวนการนี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจค่ะ...)
  • เหตุที่ผู้บริหารไม่ทราบ เพราะแต่ก่อน อำนาจในการดำเนินการจะขึ้นอยู่กับระดับบนค่ะ จึงทำให้ระดับล่างไม่ทราบค่ะ...
  • ลองดูภาระงาน Job ของช่างสี ว่า มีอะไรบ้าง? อาจจะไม่ใช่ช่างสีอย่างเดียว ภาระงานอาจมีงานอื่นรวมอยู่ด้วยนะค่ะ... คือ  เราสามารถทำงานได้หลายงานค่ะ...
พนักงานรักษาความปลอดภัย

เรียน อาจารย์บุษมาศ กระผมได้รับคำสั่งให้อยู่ยามกลางคืน 18.00 น. ถึง 06.00 น. ทุกคืนไม่ได้หยุดเลย นอกจากเขียนใบลาจึงได้หยุด กระผมอยากทราบว่า คำสั่งของท่าน ผอ.โรงเรียน เป็นคำสั่งชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายกระผมจะต้องทำอย่างไร ถ้าท่าน ผอ. ไม่แก้ไขคำสั่ง และตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ยาม มีวันหยุดหรือไม่ ถ้ามีจะได้หยุดสัปดาห์ละกี่วัน (กระผมบรรจุเป็นลูกจ้างประจำแล้ว) ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

ผมต้องขอขอบคุณ อาจารย์ บุษยมาศ มากครับที่ให้ความกระจ่างกับผมและลูกจ้างประจำทั่วประเทศได้รับความรู้และเข้าใจครับ

ผมขอถามอีกข้อหนึ่งครับ คือ ผมต้องรอให้ค่าตอบแทนถึง 22,220 ก่อนใช่ใหมครับ

ขอขอบคุณอาจารย์มาก

 ตอบ...หมายเลข 108...

  • ก่อนอื่น ต้องถามว่าตำแหน่งของคุณ คือ ตำแหน่งใดค่ะ...
  • ถ้าเป็นตำแหน่งเช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คุณก็ทำหน้าที่ของคุณไปค่ะ
  • และขอให้คุณแนะนำ ผอ.คุณก็ได้ว่าปัจจุบัน กระทรวงการคลังมีหนังสือมอบให้หัวหน้าสถานศึกษา ทำเรื่องการจ้างพนักงานบริการ คือ ยามรักษาความปลอดภัย โดยให้เบิกงบ ฯ ของแผ่นดิน ได้ค่ะ...
  • สำหรับกรณีของคุณ ผอ. ร.ร. คงใช้หลักในการบริหารขอความร่วมมือให้คุณอยู่เวรยามให้ เนื่องจากมีคุณทำงานคนเดียว...
  • ลองปรึกษา ผอ. ดูสิค่ะ ว่าทางโรงเรียนสามารถทำอย่างที่ผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นหรือไม่
  • ให้ปรึกษา สพป. ดูนะค่ะ...ฝ่ายการเงินหรือผู้บริหาร สพป. ก็ได้ค่ะ...

 

ตอบ...คุณสมชาย...

  • สามารถเปลี่ยนได้เลยค่ะ...(ถ้าคุณสมบัติได้แล้ว) เพราะระดับ 4 คุณจะไปอยู่ในกลุ่มค่าจ้าง 2 - 3 ซึ่งปัจจุบันคุณอยู่ระดับ 3 ซึ่งอยู่ในกลุ่มค่าจ้าง 1 - 2
  • พอคุณเปลี่ยนไประดับ 4 คุณก็ยังได้รับค่าจ้างในกลุ่ม 2 เช่นเดิมก่อน จนกว่า เงินค่าจ้างจะเต็มขั้น คุณถึงจะไปรับเงินค่าจ้างในกลุ่มที่ 3 ค่ะ...เหมือนทำเพื่อเป็นการขยายเพดานค่าจ้างไว้ก่อนไงค่ะ...
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

อาจารย์บุษยมาศค่ะ

ขอทราบว่าบำเหน็จตกทองของลูกจ้าง 15 เท่า และค่ารักษาพยาบาลได้อนุมัติแล้วหรือยังค่ะ

ตอบ...หมายเลข 112...

  • ตอนนี้ ยังไม่ทราบเลยค่ะ...คงต้องรอกระทรวงการคลังเสนอเรื่องไปยังสำนักงบประมาณก่อนค่ะ...ถ้ามีมาเมื่อไร จะรีบนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...ศึกษาจากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

* แบบฟอร์มยังใช้แบบฟอร์มชุดเดิมหรือเป่ลาครับ

* ถ้าใช้แบบใหม่หาได้จากที่ใหนครับช่วยบอบที

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ตอบ...คุณสมชาย...

  • แบบใหม่ยังไม่มีนะค่ะ...

เรียนอาจารย์บุศยมาศ

อยากทราบเกี่ยวกับลูกจ้างประจำส่วนราชการทหารอากาศ ดิฉันตำแหน่งพนักงานธุรการชั้น ๒ เงินเดือนเต็่มขั้นปัจจุบัน 15,260.-บาท อยากทราบว่าการปรับเข้าอัตราใหม่นั้น อยู่ระดับไหน เงินเดือน 18,190.-บาทใช่หรือไม่ การประเมินค่าที่ผ่านมา

เม.ย.53 ได้ 2% ต.ค.53 ได้ 4% ไม่ทราบว่าการปรับอัตราใหม่จะได้รับเงินเดือนเท่าไร ช่วยอธิบายให้ทราบด้วยค่ะ

ตอบ...คุณรัตนา...

  • การเทียบเข้าตำแหน่งใหม่ เงินค่าจ้างจะไม่ขึ้นหรอกค่ะ เท่าเดิมก่อน รัฐเพียงแต่ขยายเพดานเงินค่าจ้างให้เท่านั้นเองค่ะ...
  • เมื่อเม.ย. ได้ 2 % ก็จะได้เท่ากับ 15,560 บาท ค่ะ
  • และต.ค. ได้ 4 % จะได้เท่ากับ 16,150 บาทค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

โรงเรียนที่ผมอยู่สังกัด อบจ.ชัยนาท ไม่ทราบว่าค่าจ้าง 4 กลุ่มและตำแหน่งลูกจ้าง 2 กลุ่ม ครอบคลุมถึงลูกจ้างสังกัด อปท.ด้วยหรือไม่ เพราะการประชุมเมื่อปลายเดือน พ.ย. ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจังหวัด ท่านก็ตอบว่าไม่เห็นหนังสือ

พนักงานขับรถยนต์เงินเดือนตันที่ 15,260 หลายคน เดือนตุลาที่ผ่านมาก็ไม่ได้ปรับขึ้น ยังคงรับ เงินเท่าเดิม+2%,4% ถ้าครอบคลุมพวกเราควรทำอย่างไรดี

ด้วยความนับถือและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่สละเวลาช่วยตอบข้อสงสัยของลูกจ้างประจำที่ไม่มีใครสนใจช่วยอย่างจริงจัง

ตอบ...คุณธนา...

  • ถ้าเป็นลูกจ้างของ อบจ. คงไม่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่ผู้เขียนได้เขียนนะค่ะ...ลองสอบถามที่เจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ
  • เพราะที่พูดถึงนี้ หมายถึง  ลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบ พ.ศ. 2537 ค่ะ...

เป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการโอน ตามโรงเรียนที่ถ่ายโอนสังกัดท้องถิ่น ซึ่งเมื่อก่อนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ครับ

ตอบ...คุณธนา...

  • ถ้าแต่ก่อนคุณอยู่ สพท. ก็คือ คุณเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ แต่เมื่อโอนไปเป็นลูกจ้างประจำของส่วนท้องถิ่น ต้องใช้ระเบียบของท้องถิ่นค่ะ ลองสอบถาม จนท.ที่รับผิดชอบดูสิค่ะ...เพราะลูกจ้างประจำที่พูดถึงนี้ คือ ลูกจ้างประจำของ สพท. และส่วนราชการอื่น  ที่ไม่ใช่ของส่วนท้องถิ่นค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ปัจจุบันดิฉันเป็นลูกจ้างประจำกองทัพอากาศ ดอนเมือง ตำแหน่งพนักงานธุรการชั้น ๒ เงินเดือน 15,260.-

เต็มขั้นหลายปีแล้ว การปรับอัตราใหม่นี้ไม่ทราบว่าเต็มขั้นในอัตราเงินเดือนเท่าไร ช่วยกรุณาตอบให้ทราบด้วยค่ะ

ตอบ...คุณณัฐปรียา...

  • ต้องขอโทษด้วยค่ะที่ตอบให้ช้า เพราะ net ล่มค่ะ...
  • คุณตำแหน่งพนักงานธุรการชั้น 2 เทียบได้กับกลุ่มค่าจ้าง อยู่กลุ่มระดับที่ 1-2 ค่าจ้างขั้นต่ำ = 7,100 - 22,220 บาท ค่ะ...ปัจจุบันคุณค่าจ้าง = 15,260 บาท เมื่อเต็มขั้น ได้ 2 % หรือ 4 % ก็จะได้เลื่อน 0.5 ขั้น หรือ 1 ขั้น ตามมาค่ะ... แต่คุณมีเส้นทางก้าวหน้าไปเป็นพนักงานธรการ ชั้น 3 ชั้น 4 หรือ หัวหน้า ได้นะค่ะ ให้ศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ... คุณอยู่ในรหัส 2108 ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ผมอยากทราบว่าเวลาครูเปลี่ยนตำแหน่งจาก คศ 2 เป็น คศ 3 ทำไมเงินเดือนข้ามขั้นจาก 20000 กว่าเป็น 30000 กว่า

ทีลูกจ้างประจำเปลี่ยนตำแหน่งไม่ขยับสักบาทเพราะอะไร ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณสมชาย...

  • เนื่องจากโอนมาอยู่ มรภ. หลายปี เลยไม่ทราบว่าการเลื่อนขั้นของ คศ.2 เป็น คศ.3 นั้น เขามีกระบวนการทำอย่างไร...แต่น่าจะมีอะไรสักอย่างกระมังค่ะ เพราะถ้าเป็นระบบเดิมที่เป็น ซี เขาจะมีการปรับกระโดด ถ้าเป็นข้าราชการค่ะ...แต่ครั้งนี้ไม่ทราบจริง ๆ เพราะยังไม่ได้ศึกษาค่ะ
  • สำหรับของลูกจ้างประจำนั้น แต่เดิมรัฐมีหมวดตั้งหลายหมวดไงค่ะ แต่มาปัจจุบันรัฐปรับยุบให้เหลือเพียง 4 กลุ่ม และขั้นบัญชีค่าจ้างก็เหลือเพียง 3 กลุ่ม ไม่เหมือนขั้นค่าจ้างตามหมวดเดิม...คล้าย ๆ กับว่ายุบรวมให้แคบลง เลยทำให้ลูกจ้างประจำเวลาจะเปลี่ยนตำแหน่งต้องค่อย ๆ ขยับขึ้นค่ะ...แต่ที่เห็นผลชัด ๆ คือ ขยายเพดานขั้นค่าจ้าง + ยุบรวมขั้นค่าจ้างให้สั้นลงเท่านั้นเองค่ะ...ก็ยังดีนะค่ะ ดีกว่าที่รัฐไม่ทำอะไรให้ลูกจ้างประจำเลย...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

อยากทราบเกี่ยวกับลูกจ้างประจำส่วนราชการกลาโหม ปัจจุบันผมตำแหน่ง หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ เงินเดือนเต็่มขั้นปัจจุบัน 22,220.-บาท อยากทราบว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหนและเงินเดือนจะขยายเพดานไปที่เท่าไร เพราะดูในตารางเปรียบเทียบกลุ่มงานแล้วไม่มีตำแหน่งนี้เลย (ผมทำงานด้านโรงพิมพ์ครับ) รบกวนอาจารย์ช่วยหาข้อมูลให้ด้วยครับ....ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ผมมีเรื่องขอความกระจ่างหน่อยครับ คืออย่างนี้ครับ วันนี้ผมไป สพป. เรื่องการปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำเจ้าหน้าที่รับเรื่องการปรับตำแหน่งจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 เขาบอกว่าไม่ได้ทั้งที่ผมก็เอาหนังสือของสำนักงาน กพ. ที่ นร 1008/ว21

และหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ ว 83 เขาก็บอกว่าไมได้ เพราะอะไรครับอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างกับผมที

ผมขอขอบคุณอาจารย์มานะที่นี้ดว้ยครับ

ตอบ...หมายเลข 126...

  • ขอให้คุณลองศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้ก่อนนะค่ะ...
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/support_compare_8.pdf
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/doc20100904101201.pdf
  • เพราะสงสัยว่าเป็น ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ หรือเปล่าค่ะ ถ้าพิมพ์มาผิด จะไม่เหมือนกันเลยค่ะ...ลองศึกษาดูนะค่ะ...เพราะในไฟล์จะมีแต่ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ค่ะ...
  • ถ้าไม่มีต้องถามเจ้าหน้าที่รับผิดชอบแล้วละค่ะ...
  • ถ้าได้ข้อมูลมาใหม่ก็สอบถามมาใหม่ได้นะค่ะ...

ตอบ...คุณสมชาย...

  • ไม่ทราบว่าคุณจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งใดค่ะ...ขอให้อธิบายให้ละเอียดด้วยค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

เป็นตำแหน่ง หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ครับ คือ ผมบรรจุตำแหน่ง พนักงานเรียงพิมพ์ ชั้น ๒ แล้วต่อมา ก็สอบเลื่อนระดับชั้นตำแหน่งเป็น พนักงานเรียงพิมพ์ ชั้น ๓ และล่าสุดก็ได้สอบเลื่อนตำแหน่งเป็น หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ ครับ . . .ผมเองก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าจะอยู่กลุ่มไหนและระดับอะไร . . . ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

ตอบ...หมายเลข 130...

  • ถ้าอย่างที่คุณบอก ว่าถ้าเป็นหัวหน้าพนักงานโรงพิมพ์ จะเทียบได้ ที่ รหัส 1405  แต่คุณบอกว่าเป็นหัวหน้าพนักงานการพิมพ์ ได้ตรวจสอบให้แล้วไม่มีค่ะ มีแต่หัวหน้าพนักงานโรงพิมพ์ แต่ก็อยู่ในกลุ่ม 2/หัวหน้า ไม่ใช่ชั้น 3 เดิม แต่เมื่อไปดูที่ตำแหน่งพนักงานพิมพ์แล้ว ก็ไม่ใช่...เลยงง ค่ะ...
  • ขอให้คุณสอบถามหัวหน้างานการเจ้าหน้าที่ของสังกัดคุณดู แล้วให้เขาอธิบายได้หรือไม่ หรือไม่ก็ขอดูคำสั่งที่เขาแต่งตั้งคุณครั้งสุดท้ายก็ได้ค่ะ จะได้ตอบให้ได้
  • ที่ผู้เขียนหาข้อมูลมา ตามบล็อกด้านล่างนี้ แต่ก็ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงข้างต้นด้วยค่ะ เลยตอบไม่ได้...ลองถามหัวหน้างานการเจ้าหน้าที่สังกัดคุณดูก่อนนะค่ะ...
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/general_compare_8.pdf
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/service.pdf

เรียนอาจารย์ บุษยมาศ ผมพิมพ์ดีด 2 ได้รับคำสั่งจากท่าน ผอ.โรงเรียน ให้ทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน วิชากลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้น ป.4 , ป.5 และ ป.6 เป็นเวลา 3 ปีการศึกษา

คือ ผมขอถามว่า ผมต้องการปรับเปลี่ยนตำแน่ง จากตำแหน่ง พิมพ์ดีด 2 เป็นตำแหน่ง ครูช่วยสอน 3 ได้หรือไม่ เพราะหน้าที่ ที่ผมทำอยู่ประจำ คือ เป็นครูผู้สอน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สอนสัปดาห์ 6 คาบ แล้วผมจะต้องทำปริมาณงานเหมือนกับข้าราชการครูหรือไม อย่างไร ช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะครับ

ผม จบปริญญาตรี วิชาเอก การประถมศึกษา ( คบ. ) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีความเป็นไปได้มากน้อย เพียงใด

ปีใหม่ที่จะถึงนี้ขอให้ อาจารย์ บุษรมาศ จงมีแต่ความสุข ความเจริญ ในหน้าที่การงาน และครอบครัว ตลอดปี 2554 และตลอดทุกๆ ปี ครับ

ขอขอบพระคุณ

ตอบ...คุณ sompong...

  • ให้คุณดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของครูช่วยสอนตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...ถ้าเข้าข้อใดข้อหนึ่ง หรือ ก็ให้เข้าข้อนั้นค่ะ...แต่ต้องดูตำแหน่งหรือลักษณะงานที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปฏิบัติ + หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติด้วยนะค่ะ...ถ้าปัจจุบันระดับ 2 ก็เข้าระดับ 2 ก่อนนะค่ะ...อย่าเพิ่งข้ามไปที่ 3 ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/support_job_8.pdf
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf
  • ลองดูก่อนนะค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...

เรียน อ. บุษยมาศ ค่ะ

ดิฉันทำงานรพ. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อยากทราบงว่าถ้าดิฉันจะขอย้ายไปสังกัดรพ. ทั่วไป(สป.) จะได้หรือไม่ค่ะ

ตอบ...คุณเอ๋...

  • ให้คุณลองสอบถามที่สังกัดปลายทาง + ต้นสังกัดของคุณว่าจะยินยอมหรือไม่นะค่ะ...
  • เพราะแต่ละส่วนราชการไม่เหมือนกันค่ะ
  • สาเหตุต้นสังกัด อาจไม่ให้ไปเพราะตำแหน่งที่คุณปฏิบัติอยู่จะหายไป (อัตรากำลังค่ะ) ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องการโอนย้ายนะค่ะ ว่ามีระเบียบใดบ้างที่ให้เราโอนย้ายไปได้บ้างค่ะ...
  • ถ้าไม่มี ก็คงไม่ได้ค่ะ  ถ้ามี ลองสอบถามดูนะค่ะ...ผู้เขียนไม่ทราบค่ะเพราะคนละสังกัดกัน...
นายสมรักษ์ สมานชัย

ผมทำงานเป็นลูกจ้างประจำที่สำนักงานเทศบาลในจังหวัดชลบุรีตำแหน่งนักการมีวุฒิปริญญาตรี (การจัดการทั่วไป) เงินเดือนเต็มขั้นแล้ว (12,000) ถ้าปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งอะไรได้บ้างครับและได้เงินเืดือนเท่าไรอยากทราบครับทุกวันนี้เทศบาลยังไม่พัฒนาหรือดำเนินการปรับปรุงอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว

ตอบ...คุณสมรักษ์...

  • ไม่ทราบว่าลูกจ้างประจำของสำนักงานเทศบาลใช้ระเบียบเดียวกันกับระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ค่ะ เพราะที่นำมาแจ้งเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการค่ะ เกรงว่าลูกจ้างประจำของสำนักงานเทศบาลจะใช้ระเบียบคนละฉบับกันนะค่ะ...ลองถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ (งานการเจ้าหน้าที่) ของเทศบาลดูนะค่ะ ว่าใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่เกรงว่าจะตอบให้ผิดค่ะ...ลองดูก่อนนะค่ะ
  • ถ้าอย่างไรแล้วก็ถามเข้ามาใหม่ได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ขอรบกวนด้วยค่ะ ถ้าดิฉันจะปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม เจ้าหน้าที่ธุรการ เปลี่ยนเป็น เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน จะได้เงินเดือนเป็นฐานเงินเดือนกลุ่ม 2 มั้ยค่ะ

ตอบ...คุณพรรณทิพย์...

  • คุณให้รายละเอียดไม่ชัดเจนค่ะ ไม่ทราบว่าปัจจุบันคุณอยู่ระดับใด จึงทำให้ผู้เขียนไม่สามารถบอกให้ได้ค่ะ...ถ้าอย่างไรแล้วบอกรายละเอียดให้ชัดเจน แล้วถามมาใหม่นะค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ ระดับ 1 ถ้าได้รับการแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็น เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน โดยผ่านมติ ก.อบต. แล้ว ฐานเงินเดือนจะปรับเป็น 2 รึเปล่าค่ะ จากหนังสือ ที่ กค 0415 /ว 44 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2550

ตอบ...คุณพรรณทิพย์...

  • ให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่ ก.จ. นะค่ะ ว่า ลูกจ้างประจำของ อบต. ใช้ระเบียบกับที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ในบทความหรือไม่ เพราะบางท่านบอกว่าไม่ใช่
  • แต่ถ้าใช่ ให้คุณปรับไปได้ แต่ระดับต้องค่อย ๆ เลื่อนไปจนถึงระดับสูงสุดของกลุ่ม 1 ก่อนจึงจะปรับไปอยู่กลุ่ม 2 ได้ค่ะ...ไม่ใช่พอได้แล้วจะกระโดดไปถึง กลุ่ม 2 ได้เลยหรอกค่ะ...เรียกว่าให้เต็มขั้นของกลุ่ม 1 ก่อนค่ะ...
  • ถ้าทราบว่าใช้ระเบียบเดียวกันหรือไม่นั้น แจ้งให้ผู้เขียนทราบด้วยนะค่ะ...
  • ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...
ลูกจ้างประจำสพปสระบุรี 2

เรียนถามอาจารย์หน่อยครับ เนื่องจากสพป สระบุรีเขต2ได้ชีแจงทำความเข้าใจให้ลูกจ้างประจำทั้งเขตว่าการปรับเปลี่ยนคำแหน่งใดๆ ยังต้องรอเกณฑ์ใหม่อีก ว่าเกณฑ์ใหม่นี้ว่าทางสพฐได้ส่งตีพิมพ์อยู่ ไม่เห็นเหมือนอย่างอาจารย์บอกมาเลยครับ เกณฑ์ใหม่หน้าตาเป็นอย่างไรครับ ท่านพอจะรู้บ้างใหมครับ พวกเรากลัวว่าจะเสียโอกาศ หรือว่าจะต้องรอแล้วรอไปอีกกี่ปี

ตอบ...คุณลูกจ้างประจำ สพป.สระบุรี...

  • เหตุที่ สพป. ต้องรอเกณฑ์จาก สพฐ. นั้น ก็เพื่ออาจเป็นเรื่องของการบริหารจัดการมากกว่า เพราะ สพป. ทั่วประเทศมีมาก การกำหนดเกณฑ์ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะได้ปฏิบัติให้เหมือนกัน ทั่วประเทศ เพราะผู้ที่ตัดสินใจนั่นคือ  เลขาธิการ สพฐ.
  • แต่รัฐได้มอบอำนาจให้แต่ละส่วนราชการไป ขึ้นอยู่กับว่าส่วนราชการนั้นขึ้นอยู่กับสังกัดใด สำหรับ ม. ที่ผู้เขียนสังกัดอยู่ บางครั้งเราทำแล้ว มีหลักฐานสามารถตอบสังคมและคนอื่นได้ เราก็ทำได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอผู้ใดมาสั่ง เพราะอธิการบดีจะเหมือนกับเป็นอธิบดีของกรมไงค่ะ สำหรับของคุณคงต้องรอ สพฐ. แจ้งมาค่ะ
  • ขึ้นอยู่กับ สพฐ.ว่าจะกำหนดให้ปฏิบัติได้อีกนานหรือไม่นานค่ะ...
  • สำหรับของ มร.พส. มีลูกจ้างประจำเหลือเพียง 35 คนเองค่ะ เราจึงอธิบายให้ได้
  • และอีกอย่างเราก็ปรับให้ตั้งแต่เริ่มใช้ระเบียบปฏิบัติที่รัฐให้ดำเนินการได้ตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อ 4 - 5 ปีที่แล้วแล้วค่ะ ปัจจุบันจึงมีน้อยคนที่จะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่กันค่ะ
  • ครั้งแรก กรมบัญชีกลางก็ว่าเหมือนกัน แต่ความจริงคือระเบียบมีออกมาให้ใช้ปฏิบัตินานแล้ว มร.พส. เลยทำไป  ผลสุดท้ายก็ว่ากันตามระเบียบ  คือ ลูกจ้างประจำสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ค่ะ  เรียกว่า ของ ม. เรา ปรับกันไปหลายครั้งแล้วค่ะ สำหรับส่วนราชการอื่น ที่เห็น ๆ ก็ทำเช่นเดิมค่ะ คือ ยังไม่ยอมปรับเปลี่ยน เกรงว่าทำไม่ถูกบ้าง ก็น่าสงสารลูกจ้างประจำที่เขามีความรู้ - ความสามารถ มีฝีมือจริง ๆ นะค่ะ...เพราะผู้เขียนก็ไม่อยากไปบอกอะไรมากหรอกค่ะ เห็นบางที่ก็บอกว่า ไม่ใช่  แต่ความมั่นใจของผู้เขียน คือ ทำได้ค่ะ และการันตีของลูกจ้างประจำของ มร.พส.เองค่ะ เรียกว่า  ค่าจ้างของพวกเขา ไม่แพ้ข้าราชการแล้วล่ะค่ะ...ขึ้นอยู่กับส่วนราชการแต่ละส่วนนะค่ะ...

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ อบต. ฐานเงินเดือนกลุ่มที่ 1 ขั้นตอนการจะปรับระดับชั้นต้องทำอย่างไรค่ะ แนะนำด้วย ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณจินดารัตน์...

  • ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าลูกจ้างประจำ อบต. ใช้ระเบียบฉบับเดียวกันกับระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่นะค่ะ....ลองสอบถามงานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ...เพราะถ้าไม่ใช่ตอบไปจะเสียหายค่ะ...ถ้าใช่ แล้วถามมาใหม่ได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ตามที่กระผมเรียนอาจารย์เรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของ กห ในตำแหน่งหัวหน้าพนักงานพิมพ์ นั้น ปรากฏว่า ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสนับสนุน รหัส 2112 (ปรับเป็นพนักงานพิมพ์ออฟเซท) แต่ผมมีเรื่องข้องใจอยากเรียนถามอาจารย์ว่า ปัจจุบันผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งหัวหน้าพนักงานพิมพ์ (ชั้น 4 ,เงินเดือน 22,220.-) ถูกจัดปรับอยู่ในชั้นเดียวกับ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ชั้น 3 (เงินเดือน 18,190.-) ซึ่งปัจจุบันตามภารกิจผมมีตำแหน่งเป็นหัวหน้างานของพนักงานพิมพ์ ชั้น 3 แต่การปรับตำแหน่งตามบัญชีใหม่นี้ ทั้งตำแหน่ง หัวหน้าพนักงานพิมพ์ (ชั้น 4) กับตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ชั้น 3 ถูกปรับมาที่ตำแหน่งเดียวกัน คือ พนักงานพิมพ์ออฟเซท ระดับ 3 (29,320.-) จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่าทางหน่วยงานเขาปรับถูกต้องหรือเปล่าครับ..(ผมเองก็เสียความรู้สึกนิด ๆ เพราะพนักงานพิมพ์ชั้น 3 ปัจจุบันใช้วุฒิ ม.3 ส่วนตำแหน่งหัวหน้าพนักงานพิมพ์ ต้องใช้วุฒิ ป.ตรี ผมเองอุตส่าห์ไปเรียนแข่งกับลูกจนได้ป.ตรี แต่กลับถูกปรับตำแหน่งลดชั้นจาก ชั้น 4 ลงมาอยู่ร่วมกับชั้น 3) ...กระผมจึงใคร่ขอความรู้จากอาจารย์ด้วยครับ.....ขอบคุณมากครับ

ตอบ...ลูกจ้าง กห...

  • ให้คุณศึกษาไฟล์ด้านล่างให้ละเอียดนะค่ะ...เพราะไม่แน่ใจว่าเดิมก่อนเปลี่ยนตำแหน่ง คุณมีตำแหน่งอะไร เพราะจะได้นำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งใหม่ได้อย่างถูกต้องไงค่ะ...
  • อีกอย่างอาจเข้าใจอะไรผิดกับคำว่า ตำแหน่ง.....ส. 4 แต่ได้รับขั้นค่าจ้างกลุ่มที่ 3 หรือเปล่าค่ะ เพราะปัจจุบันจะมี 4 กลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ 4 ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในหมวด (เดิม) ระดับกลาง หรือสูงขึ้นไปค่ะ...ลองศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้ก่อนนะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/530/107/original_support_compare_8.pdf?1285770033
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ตามที่ผมเรียนปรึกษาอาจารย์เรื่องตำแหน่ง หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ นั้น ข้อมูลก่อนและหลังปรับเป็นดังนี้ครับ

ก่อนปรับ ตำแหน่ง หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ เงินเดือน ขั้นสูงสุด 22,220.-

หลังปรับ ตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ออฟเซท ระดับ 2/หัวหน้า 29,320.- (โดยที่ พนักงานออฟเซทระดับ 3 เงินเดือน 29,320.-)

ผมขอเรียนถามอีกอาจารย์อีกอย่างว่า ระดับชั้น 2/หัวหน้า กับ ระดับ 3 นั้นจะเท่ากันหรือไม่ (เพราะก่อนที่จะเป็นหัวหน้าพนักงานการพิมพ์ ผมขึ้นมาจาก พนักงานพิมพ์ ชั้น 3 แล้วจึงสอบเป็น หัวหน้าพนักงานการพิมพ์ แต่ถูกปรับใหม่ลงมาระดับต่ำกว่าเดิมเสียอีก) อยากเรียนถามว่าจะเท่ากันหรือไม่ (กรณีที่จะสอบเปลี่ยนสายงานธุรการ จะเทียบได้กับระดับ 3 ธุรการหรือไม่)

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตอบอีกครั้งครับ

ขอเรียนอาจารย์อีกนิดว่า ตำแหน่งใหม่ อยู่กลุ่มสนับสนุน ระดับ 2/หัวหน้า ส 2/หัวหน้า ครับ

ตอบ...คุณ ลูกจ้าง กห...

  • ให้คุณลองศึกษาไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/530/107/original_support_compare_8.pdf?1285770033
  • แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งใหม่ โดยตำแหน่งเก่าอยู่ทางด้านขวา ตำแหน่งใหม่จะอยู่ทางด้านซ้าย ถ้าดูแล้วไม่ใช่ ก็แสดงว่าไม่ถูกหรอกค่ะ...ระดับ 3 เดิม ก็จะต้องเทียบเท่ากับระดับ 3 ใหม่ไงค่ะ ให้ดูตำแหน่งที่ปรับใหม่ก่อนว่าถูกหรือไม่ ส่วนระดับ เดิมระดับใด ใหม่ก็ต้องระดับนั้นค่ะ...ลองดูก่อนนะค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

คือผมได้สอบถาม ทางหน่วยงานแล้วครับ ได้รับการชี้แจงว่า ตำแหน่ง ใหม่นี้ ไม่มีกรอบอัตราชั้นระดับ 4 และจึงได้ยุบอัตราชั้น 4 ลงไปรับเงินเดือนเท่าชั้นระดับ 3 แทน แต่เนื่องจากตำแหน่งหัวหน้าพนักงานพิมพ์ ไม่มีในกรอบอัตราใหม่ (พนักงานพิมพ์ออฟเซท) จึงได้เพิ่มตำแหน่งนี้ในอัตรา 2/หัวหน้า แทน . . .ผมเองก็คงต้องยอมรับสภาพครับอาจารย์ แต่ที่จริงก็ได้รับเงินถึง 29,320.-ก็ถือว่ามากโขแล้วสำหรับลูกจ้าง . . .ถึงแม้จะโดนลดตำแหน่งลงก็ตาม.....ขอบคุณครับอาจารย์ที่กรุณาหาข้อมูลมาให้ครับ

ตอบ...คุณลูกจ้าง กห...

  • อ๋อ...หรือค่ะ...ก็อย่าคิดมากค่ะ...บางครั้งตำแหน่งก็เป็นเพียงแค่หัวโขนให้เราได้รับ ได้สวมเท่านั้นเอง แต่ถ้าเงินค่าจ้างไม่ลดก็ดีแล้วละค่ะ...เพราะสามารถนำไปคิดบำเหน็จ หรือบำเหน็จรายเดือนของเราได้...ก็ลองสำรวจงานในปัจจุบันที่เราได้ปฏิบัติอยู่ดูสิค่ะ ว่า เราสามารถรับงานอื่นเพิ่มอีกได้หรือไม่ ซึ่งเป็นงานที่เราสามารถที่จะก้าวหน้าไปอีกตำแหน่งหนึ่งที่จะได้เลื่อนระดับให้สูงขึ้นได้อีก...ถ้ามี ก็รับอาสารับงานใหม่มาปฏิบัติได้ด้วยอีกก็ได้ เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้อีกค่ะ
  • เพราะปัจจุบันรัฐต้องการให้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำงานของลูกจ้างประจำแต่ละคนนะค่ะ...ถ้าได้ ก็ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำดูนะค่ะ...เรียกว่า "ขึ้นอยู่กับสมรรถนะ ความสามารถของลูกจ้างประจำแต่ละคนแล้วละค่ะ"...เพราะถ้าเราทำงานเท่าเดิม ไม่มีส่วนราชการไหนหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบฯ คนไหนเขาจะขึ้นค่าจ้างให้หรอกค่ะ...แต่ถ้าเราทำงานได้มากขึ้น เรามีความสามารถในเนื้องานนั้นมากขึ้น ทางหัวหน้าส่วนราชการ เขาจะดูแลแล้วก็ปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้เราเองค่ะ...
  • ลองดูนะค่ะ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ทำหน้าที่ของเราให้คุ้มกับที่รัฐจ่ายให้ก็แล้วกันนะค่ะ...เป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันค่ะ...

เรียน อ.จ. บุษยมาศว่า ผมบบรจุเป็นลูกจ้างประจำ ปี 2538 มีสิทธิ์ได้รับบำนาญไหมครับ

ตอบ...คุณพิเชษฐ์...

  • ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ จะเรียกเงินที่ได้รับเป็นรายเดือนสำหรับผู้ที่เกษียณอายุราชการว่า "บำเหน็จรายเดือน" ค่ะ สำหรับ "บำนาญ" เป็นคำนิยามศัพท์ของ "ข้าราชการ" ค่ะ...เพราะถ้าเรียกไม่ถูกในครั้งนี้ ต่อ ๆ ไป ก็จะเรียกไม่ถูกค่ะ...
  • ระเบียบของการรับบำเหน็จรายเดือน สำหรับผู้ที่มีอายุราชการครบ 25 ปี ค่ะ ลองนับดูก็ได้ว่าบรรจุ ปี 2538 แล้วคุณจะเกษียณปีใด เมื่อบวกเวลาราชการแล้วต้องครบ 25 ปี ค่ะ ถึงจะได้รับบำเหน็จรายเดือน
  • คุณไม่ได้บอกว่าจะเกษียณปีใด...และบรรจุเมื่อวัน เดือน ปี ค่ะ...ผู้เขียนเลยบอกให้ไม่ได้ค่ะว่าจะได้รับหรือไม่...
  • ลองคิดดูเองก็ได้ค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ระดับ 3 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงาน 1)บัญชีลงเวลา 2)งานวันลา 3)หน.งานสารบรรณ 4)งานคำสั่งให้บุคลากรไปราชการ 5)งานอื่นๆที่ ผอ.มอบหมาย ผมใคร่ขอเรียนถามแนวทางปฏิบัติดังนี้ จากข้อ 1)กรณีที่บุคลากรบางส่วนมาทำและลงเวลามาปกติแต่ไม่ลงเวลากลับ จะต้องดำเนินอย่างไร ตามข้อ 2)กรณีที่บุคลากรโทรแจ้งหรือแจ้งผ่านบุคคลอื่นว่าลาป่วย แต่เมื่อมาถึงและปฏิบัติงานวันแรกยังไม่เขียนใบลาทำให้ต้องทวง จะดำเนินการอย่างไรดี ตามข้อ 3)งานสารบรรณ จัดทำหนังสือไม่ถูกต้องตามรูปแบบ แต่ด้วยเร่งรีบนำไปเสนอก่อนตรวจสอบ แต่เมื่อถึงสารบรรณกลางหากไม่ถูกต้องขอให้จัดทำขึ้นมาใหม่และให้นำเสนอใหม่ จึงใคร่ขอเรียนถามว่า ขณะที่ตนเองเป็นลูกจ้างประจำ แต่ผู้ที่ออกหนังสือจะมาจากฝ่ายต่างๆซึ่งมีผู้บังคับบัญชาเป็นข้าราชการ สามารถทำได้หรือไม่ ด้วยความขอบพระคุณ

ตอบ...คุณวิจิตร...

  • ในกรณีแรก ถ้ามาลงชื่อในการลงเวลามา แต่ไม่ลงเวลากลับ ต้องรายงานให้กับหัวหน้าส่วนราชการรับทราบ อาจด้วยวาจา และทำหนังสือบันทึกข้อความ เพื่อเป็นหลักฐาน ให้ท่านสั่งลงมาว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป...เพราะถ้าเราทำจะเกินอำนาจของเราเองค่ะ (เพราะในทางปฏิบัติ หัวหน้าส่วนราชการจะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการไงค่ะ)...
  • ถ้ามาถึงและปฏิบัติงานวันแรกแล้วยังไม่เขียนใบลา ครั้งแรกที่ต้องทำ คือ ทวงด้วยวาจา แต่เมื่อทวงด้วยวาจาแล้วไม่ปฏิบัติ ก็ให้ทำบันทึกข้อความ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ทวงนะค่ะ คุณอย่าทำหนังสือทวงเด็ดขาด...ให้ผู้นั้นรายงานให้ทราบว่าป่วยเพราะเหตุใด...
  • สำหรับเรื่องงานสารบรรณ เมื่อพบปัญหาแบบนี้ ส่วนราชการควรเร่งให้ความรู้หรือการฝึกอบรม ให้แก่ข้าราชการทุกหน่วยทราบและถือปฏิบัติเป็นการร่วมกันในภาพรวมค่ะ...ปัจจุบัน มีการเรียนให้การอบรมจากสำนักงาน ก.พ. นะค่ะ การเรียนใน e - Learning ของ ก.พ. ไงค่ะ ประหยัดงบประมาณด้วย เพียงเสียแค่เวลาเรียนรู้เท่านั้น...ในกรณีดังกล่าว ต้องใช้อำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในการบังคับบัญชานะค่ะ คุณอย่าทำเองเด็ดขาด เพราะจะเป็นเรื่องกัน...เนื่องจากคำว่า "ข้าราชการ" กับ "ลูกจ้างประจำ" มันเป็นสิ่งขวางกั้นกันอยู่ค่ะ ถึงแม้ว่า ข้าราชการทำผิด เขาก็จะอ้างสารพัดที่ว่าเขาทำถูกค่ะ...แต่คุณต้องไปอธิบายให้หัวหน้าส่วนเข้าใจว่าผิดตรงไหน ควรแก้ไขปรับปรุงตรงไหน ทางที่ดีต้องมีหลักฐานไปแสดงว่าผิด หรือไม่ถูกต้องตรงไหน ต้องหาหลักฐานอ้างค่ะ...ในการเซ็นต์หนังสือสั่งการต้องเป็นผู้บังคับบัญชาระดับบนค่ะ...จะทำให้การทำงานเป็นไปด้วยดีค่ะ...

ขอขอบพระคุณ อ.บุษยมาศ อย่างสูงยิ่ง ที่กรุณาให้ความรู้กับผู้ที่ต้องปฏิบัติจริง

ตอบ...คุณวิจิตร...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อทุกคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

เรียนถาม อ.บุษยมาศ

ขั้นตอนและวิธีการการปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากช่างไม้ชั้น 3 เป็นช่างไม้ชั้น4

จะต้องไปสอบมาตรฐานฝีมือเป้นช่างไม้ชั้น3หรือไม่ ส่วนผมสอบมาตรฐานฝีมือชั้น2ผ่านแล้วตอนนี้เป็นช่างไม้3

ตอบ...คุณพะเยา...

  • ขอให้คุณศึกษาไฟล์ด้านล่างนี้ ของกลุ่มงานช่าง ตำแหน่งช่างไม้อยู่ที่หน้า 30 - 31 ให้ดูว่าปัจจุบันคุณมีหน้าที่ให้ปฏิบัติในเรื่องใดบ้าง
  • และให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ในตำแหน่งช่างไม้ชั้น 4 ว่า การที่ตำแหน่งช่างไม้ชั้น 3 จะปรับเปลี่ยนไปยังตำแหน่งช่างไม้ชั้น 4 ได้นั้น ต้องเข้าเกณฑ์คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ เพราะมีคำว่า "หรือ"  ได้แก่
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 3 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
  • 2. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและมีความชำนาญงานในหน้าที่และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ
  • 3. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่ หรือ
  • 4. เป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • ซึ่งถ้าคุณเข้าเกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่ง ใน 4 ข้อ ข้างต้น คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ต้องให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องลูกจ้างประจำดูนะค่ะ...เพราะขึ้นอยู่กับส่วนราชการในแต่ละส่วนค่ะ...
  • สำหรับเรื่องการสอบมาตรฐานฝีมือ ฯ นั้น ขอให้คุณเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ (ถ้าเข้าเกณฑ์ ข้อ 1 หรือ 2 หรือ  3 ก็ไม่ต้อง ข้อ 4 หรอกค่ะ)

ตอบ...คุณพะเยา (เพิ่มเติม)

เรียน อาจารย์บุศยมาศ

อยากทราบเกี่ยวกับการคำนวณ กสจ.ว่าจะคำนวณอย่างไรถ้าจะลาออกจากราชการก่อนกำหนด เหลืออายุราชการอีก ๕ ปี เกษียณปี ๕๙ ปัจจุบันเงินเดือน ๑๕,๒๖๐.-บาท แต่จะกินไป ๑๘,๑๙๐.-บาท ตอนนี้คำสั่งลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงกลาโหมออกแล้ว ดิฉันตำแหน่งพนักงานธุรการชั้่น ๒ เป็นพนักงานธุรการ ระดับ ๒ ประมาณว่าจะลาออกก่อนกำหนดเพราะเบื่อคนรอบข้าง ที่เป็นพนักงานราชการจ้างเข้ามาทำงานแต่ไม่ปฏิบัติงาน หัวหน้าบางคนก็ว่าจ้างเข้ามารกกรมเปล่าๆ ใช้งานไม่ได้ ขอความกรุณาตอบให้ทราบด้วยค่ะ

ตอบ...คุณรัตนา...

  • การคำนวณเงิน กสจ. ต้องให้ฝ่ายที่รับผิดชอบ กสจ. เป็นผู้คิดคำนวณค่ะ ไม่สามารถคิดให้ได้หรอกค่ะ เพราะจะมีสูตรอยู่ค่ะ
  • การที่ส่วนราชการจ้างพนักงานราชการเข้ามา ส่วนราชการก็ต้องเป็นผู้มอบหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่ต้องปฏิบัติให้กับเขาค่ะ ต้องให้ชัดเจนนะค่ะ เพราะไม่เช่นนั้น จะเป็นปัญหาในการทำงานค่ะ หัวหน้าส่วนราชการต้องทราบและก็ต้องชัดเจนเกี่ยวกับงานที่จะให้เขาได้ปฏิบัติด้วยค่ะ
  • เมื่อเราทำในข้อ 2 ชัดเจนแล้ว ถ้าเขาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ คราวนี้ ก็ถึงการเลิกจ้างได้นะค่ะ ถึงบอกว่าเรื่องการบริหารงานบุคคลไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยากหรอกค่ะ ขึ้นอยู่กับความชัดเจนนะค่ะ ถ้าชัดเจนแล้วเขาไม่ปฏิบัติ เราก็สามารถเลิกจ้างได้ไงค่ะ เป็นไปตามสัญญาจ้างค่ะ...

ขอถามอ.บุษยมาศ ว่าเรื่องที่จะปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำที่วุฒิการศึกษาป.ตรี มีใบประกอบวิชาชีพครู ให้เป็นข้าราชการนั้น ยกเลิกแล้วใช่หรือไม่ครับ รอมานาน มีกำลังใจในการทำงาน มีความหวัง สงสัยคงกิจแห้วเหมือนเดิม หมดกำลังใจเลย

ตอบ...คุณสมจิตร...

  • ปัจจุบันมีแต่จะลดอัตรากำลังข้าราชการลงนะค่ะ ไม่ทราบว่าได้ข่าวจากที่ใดค่ะ...
  • ถึงแม้ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นเพียงลูกจ้างประจำ ก็ขอให้ทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุดค่ะ...
  • ถ้ารัฐได้ปรับเปลี่ยนอย่างไร จะแจ้งให้ทราบค่ะ...

อาจารย์คะ เงินในกองทุนสมาชิกสามารถกู้ยืมได้ใหม มีระเบียบหรือยังขอบพระคุณมากคะ

ตอบ...คุณอมิตดา...

  • ตอนนี้ยังไม่มีระเบียบนะค่ะ...
ลูกจ้างประจำสายงานสัสดี

อยากทราบว่าลูกจ้างประจำสายงานสัสดีตำแหน่งพนักงานรักษาสถานที่ปรับตำแหน่งแล้ว

เงินเดือนการขยายเพดานเงินเดือนเต็มขั้นเท่าไร

ตอบ...คุณลูกจ้างประจำงานสัสดี...

  • ขอทราบรายละเอียดให้มากกว่านี้หน่อยได้หรือไม่ค่ะ เพราะไม่ทราบเลยว่าคุณอยู่ระดับใด กลุ่มงานใดค่ะ...ขอบคุณค่ะ...
วันเพ็ญ มุ่งคู่กลาง

อยากทราบว่าเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 1 ที่ทำงานในอบต ตันที่ซีไหน ใช่5ไหม แนะนำหนอยส่งมาทางเมล์ที่ให้ไปนะ

ตอบ...คุณวันเพ็ญ...

  • ถ้าเป็นข้าราชการของ อบต. ไม่ทราบจริง ๆ ค่ะ ลองศึกษาในระเบียบและสอบถามที่ฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่ของ อบต.ดูนะค่ะ...
  • เพราะในการเป็นข้าราชการในปัจจุบันนี้ แต่ละส่วนราชการแตกต่างกันมากค่ะ ไม่เหมือนสมัยก่อนจะสามารถบอกได้ค่ะ...ยิ่งรัฐกระจายอำนาจให้แต่ละส่วนราชการ ทำให้กฎหมายมีความแตกต่างกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

ดิฉันทำงานสังกัดเทศบาล เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการ

เรียนจบวุฒิ ป.ตรี สาขาศึกษาศาสตร์ และ ป.ตรี สาขาการจัดการทั่วไป

ถ้าจะปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จากนักการ เป็นตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา หรือ ครูผู้สอนเด็กปฐมวัย หรือ ครูผู้ดูแลเด็กประฐมวัยได้หรือเปล่า

ถ้าได้ จะมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร และถ้าหากไม่ได้ เพระสาเหตุใด

รบกวนช่วยแนะนำและอธิบายให้เข้าใจด้วยเพราะไม่มีผู้รู้ที่จะให้คำปรึกษาเลย

ตอบ...คุณนิ่ม...

  • สงสัยว่าคุณเป็นลูกจ้างประจำของสังกัดเทศบาล จะใช้ระเบียบตัวเดียวกันกับระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือเปล่า เพราะเทศบาล น่าจะมีระเบียบเฉพาะส่วนนะค่ะ ให้สอบถามงานการเจ้าหน้าที่ของเทศบาลนะค่ะ เพราะที่ผู้เขียนนำมาแจ้งนี้เป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการค่ะ...จึงไม่สามารถแนะนำให้ได้ ถ้าแนะนำไปแล้วเกรงว่าจะไม่ถูกต้องค่ะ...
  • ถ้าใช่ก็ถามเข้ามาใหม่ แต่ถ้าไม่ใช่ให้สอบถามที่เจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ของเทศบาลดูนะค่ะ ให้ศึกษาระเบียบตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบค่ะ...

เรียน ท่าน อ.บุษยมาศ ที่นับถือ

ผมต้องขอรบกวนเวลาและขอความรู้จากท่านอาจารย์อีกครั้งครับ เนื่องจากพบปัญหาดังนี้

1.ได้ทำเรื่องขอเปลี่ยนตำแหน่งไปยังหน่วยงานบังคับบัญชาแล้ว 2 ครั้ง (ก่อนหน้านี้ก็ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กพ.และได้รับคำตอบให้ทำเรื่องเสนอหน่วยงานระดับบนขึ้นไป) จากเหตุดังกล่าวผมไม่มั่นใจว่าอีกนานหรือไม่ที่ลูกจ้างสังกัด สพม.จะได้รับการพิจารณาเรื่องของตำแหน่งเพื่อให้สอดคล้องกับภาระงานซึ่งภาระงานที่ได้รับมอบหมายและต้องปฏิบัติจริงดังที่ได้เรียนอาจารย์มาแล้ว หรือต้องรอการประสานกับ ก.พ.หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาพบว่าบางรายเปลี่ยนตำแหน่งจาก พขร.เป็นช่าง ระดับ 3 ได้แล้วก็มี ไม่ทราบว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและถูกต้องชัดเจนตามระเบียบ

2.ขอความรู้เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ

2.1กรณีการลาคลอดของบุคลากรในสถานศึกษาช่วงปิดภาคเรียน แม้ว่าการคลอดอยู่ระหว่างปิดภาคก็ให้นับตั้งแต่วันที่เริ่มลาถูกต้องหรือไม่ 2.2การปิดภาคเรียนของข้าราชการในสถานศึกษาช่วงเวลาประกาศปิด(ร.ร.หยุดทำการ)ขรก.หยุดได้ปกติยกเว้นแต่มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น เวรยามรักษาสถานที่ราชการ ของลูกจ้างประจำปฏิบัติในเหมือนกันหรือไม่ 2.3การขอให้ออกคำสั่งไปราชการภายในราชอาณาจักร กรณีตัวอย่างที่บุคคลคนเดียวกันไปราชการ กทม.1-5 พค.54 และบุคคลนี้จะขอไปราชการ 5-10พ.ค.54อีกที่หนึ่ง ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร 2.4บัญชีตารางเงินค่าจ้างประจำขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด ส่วนของ ขรก.ครูได้ทำและส่งแล้ว (เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบบัญชีเลื่อน8% เลื่อนปกติฯ) เพียงแต่รอคำสั่งจากระดับบน

ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง

ลูกจ้างประจำธุรการแต่เป็นแม่บ้าน

เรียนถามอาจารย์ว่า ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ สำนักปลัด แต่มาทำงานทุกวัน นายกอบต.จะให้ดิฉันทำหน้าที่ตอนเช้ามาถึง จะล้างแก้วกวาดห้องนายก ถู และห้องปลัด ทำความสะอาดค่ะ เสริฟ์กาแฟนายกวันละ 2 ครั้ง และเสริฟ์น้ำกาแฟผู้มาติดต่อห้องนายก ซึ่งบ้างวันไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับหน้าความรับผิดชอบธุรการเลย ทำแต่หน้าที่แม่บ้าน ทั้งที่ทำงานของดิฉันมีพนักงานจ้างอยู่ 2 คน เขาสบายกว่าเยอะ ซึ่งเขาพึ่งทำงานเอง คนหนึ่งก็ทำได้ 6 ปี คนหนึ่งก็ทำได้ 3 เดือน เขาน่าจะทำช่วยแต่ก็ไม่ทำ บ้างครั้งดิฉันก็ร้องไห้นะว่าทำไมเราอยู่มาตั้ง 15 ปี แล้ว เราไม่สบายเลย พวกพนักงานจ้างเขาไม่เห็นได้ทำเลย จึงขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ว่าหนูจะฟ้องนายกอบต.ได้ไหม หรือจะแก้ไขอย่างไรค่ะ

ตอบ...คุณวิจิตร...

1. ความจริงแล้ว ขึ้นอยู่กับ สพม. แต่ละเขตทำเรื่องขึ้นไปค่ะ...แต่ที่เห็นว่ามีปัญหา นั่นคือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบยังไม่ค่อยเข้าใจในกระบวนการทำ อีกอย่างพอมีปัญหาหรือเกิดติดขัดก็ไม่แจ้งให้ลูกจ้างประจำในสังกัดทราบ จึงเป็นปัญหาไงค่ะ...สำหรับส่วนราชการที่เขาสามารถปรับเปลี่ยนกันได้ นั่นเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เกิดความเข้าใจในกระบวนการ จึงทำให้ลูกจ้างประจำสามารถเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ค่ะ สำหรับ ม. ทำมาแล้วประมาณปี 2547 แล้วค่ะ ตอนนี้ ส่วนมากก็ระดับ 3,4 กันแล้วค่ะ (ยกเว้นลูกจ้างประจำที่เพิ่งจะมาบรรจุไม่นานค่ะ)...ปัจจุบันรัฐกระจายอำนาจให้แต่ละส่วนราชการทำแล้วค่ะ จึงไม่สามารถจะแนะนำได้ไปมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการของคุณที่สังกัดอยู่ค่ะ ว่าจะดำเนินการให้หรือไม่

2.1 ถ้าเริ่มลาคลอดวันใดก็ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการลาคลอดบุตรค่ะ ไม่ว่าจะปิดเทอมหรือไม่ เพราะในใบรับแพทย์ แพทย์จะลงความเห็นว่าคลอดเมื่อใดค่ะ...(เป็นไปตามความเป็นจริงค่ะ ไม่เกี่ยวกับปิดเทอมหรือไม่ปิดเทอมค่ะ)...

2.2 สำหรับเวรยาม อาจมีหน้าที่ที่ต้องมาอยู่เวรยามนะค่ะ เพราะหน้าที่แตกต่างจากข้าราชการค่ะ...

2.3 การขอออกคำสั่งไปราชการในกรณี 2 ช่วง อาจทำเป็นคำสั่งเดียวกัน หรือคนละคำสั่งก็ได้ค่ะ เพียงแต่บอกเหตุผลของแต่ละช่วงไม่เหมือนกันค่ะ...การไปราชการติดต่อกันนั้น ต้องอยู่ในความเห็นของหัวหน้าส่วนราชการค่ะ ถ้าอนุญาตก็ให้ไปได้ (แต่ต้องบอกเหตุผลการไปแตกต่างกันนะค่ะ เพราะคนละช่วง)...

2.4 ค่ะ สำหรับบัญชีค่าจ้างของลูกจ้างประจำ คงต้องรอเจ้าหน้าที่ดำเนินอยู่กระมังค่ะ เพราะของ ม. ก็ยังกำลังดำเนินการให้ทั้งข้าราชการ + ลูกจ้างประจำเช่นกันค่ะ ใจเย็น ๆ ค่ะ ถ้ายังไม่ได้ ก็รอนิดหนึ่ง ก็จะได้ตกเบิกไงค่ะ...เพราะในทางปฏิบัติแล้วผู้เขียนเป็นผู้ได้ปฏิบัติเช่นกัน เป็นอะไรที่อยากให้เสร็จเช่นกัน แต่ติดขัดเรื่องกระบวนการค่ะ...คงต้องรอนะค่ะ...อย่างน้อยก็จะได้ตกเบิกค่ะ...

 

 

ตอบ...คุณลูกจ้างประจำธุรการแต่เป็นแม่บ้าน...

  • ควรบอกถึงเรื่อง ตำแหน่ง หน้าที่ของเราให้ท่านฟังนะค่ะ ว่าหน้าที่เรามีอะไรบ้าง คงต้องเรียกคุยกันทั้งหมดค่ะ แล้วแบ่งหน้าที่กันใหม่ค่ะ...บอกท่านว่าอย่างน้อยเมื่อทุก ๆ 6 เดือน เราจะต้องประเมินงานในหน้าที่ แล้วเราไม่ได้ทำงานในหน้าที่จะให้ตัวเรารายงานอะไร เพราะหน้าที่ คือ ข้อตกลงในการทำงานค่ะ...สำหรับงานอื่นที่ท่านจะมอบหมายให้ตัวเราทำนั้น นั่นคือ งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เขาอาจมอบหมายได้ค่ะ...
ลูกจ้างประจำต้องการเปลี่ยนตำแหน่ง

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ขณะนี้ได้เปลี่ยนตำแหน่งเข้าสู่ระบบใหม่ ก.พ.รับรองแล้ว จากพนักงานพิมพืดีด ชั้น 4 เป็นพนักงานพิมพ์ เมื่อระบบใหม่

มีตำแหน่งพนักงานธุรการ ก็ต้องการเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานธุรการ จึงขอรบกวนอาจารย์ ขอตัวอย่าง ตั้งแต่เริ่ม คำสั่งแต่งตั้งประเมิน ระเบียบที่อ้างถึง จนถึงคำสั่งแต่งตั้งเป็นตำแหน่งใหม่ เมื่อแต่งตั้งแล้วจะต้องแจ้งส่วนราชการใดบ้าง ขอขอบคุณมากค่ะ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ดิฉันปฏิบัติงานพนักงานพิมพ์ ส.3 ในวิทยาลัยฯแห่งหนึ่ง หน้าที่ที่ดิฉันปฏิบัติมีดังนี้

1) เจ้าหน้าทีการเงิน คือ ตั้งฎีกากาเบิกเงินในส่วนของ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ

2) จัดพิมพ์หนังสือราชการ บันทึกข้อความต่างๆ และเอกสารต่างๆ (มีเจ้าหน้าหน้าที่ธุรการ 1 คน เท่านั้น)

3) จัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ (เกี่ยวกับการเรียนการสอนของนักศึกษาทั้งหมด)

4) จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรม 108 อาชีพ

ถ้าดิฉันจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานธุรการ จะได้หรือเปล่า อาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...ลูกจ้างประจำต้องการเปลี่ยนตำแหน่ง...

  • การเป็นตำแหน่งเป็นธุรการ ขึ้นอยู่กับภาระงานที่เราปฏิบัติว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ และอยู่ที่ส่วนราชการว่าต้องการให้เปลี่ยนหรือไม่ด้วยค่ะ ให้ดูคุณสมบัติของการเป็นพนักงานธุรการนะคะ ว่าได้หรือไม่...สำหรับตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการดีกว่านะคะ คาดว่าเขาคงทำได้ค่ะ...เพราะตอนนี้ที่ ม. งานมากจริง ๆค่ะ ไม่สะดวกในการหาให้ได้ค่ะ เพราะที่ ม. เปลี่ยนมาเมื่อปี 2547 แล้วค่ะ...

ตอบ...คุณตะวัน...

  • ให้ดูคุณสมบัติของการเป็นพนักงานธุรการนะคะ ว่าได้หรือไม่ ตามนี้ค่ะ
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/530/109/original_support_job_8.pdf?1285770040
  • และก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการด้วยค่ะว่าจะให้เปลี่ยนหรือไม่ มีภาระงานที่ได้ปฏิบัติอยู่แล้วเกี่ยวเนื่องกับพนักงานธุรการหรือเปล่า...
  • ไม่สามารถตอบให้ได้ค่ะในข้อนี้...

เรียน อ.บุษยมาศ ว่า ลูกจ้างประจำกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมีความต้องการโอน ย้ายไปสังกัดส่วนท้องถิ่นอบต. เทศบาลได้หรือไม่ครับ

ตอบ...คุณวิรัตน...

  • คิดดูให้ดี ๆ นะคะ ว่า ถ้าไปแล้วยังเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็ยังไม่ควรไปค่ะ เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับการขึ้นเงินค่าจ้าง 5 % ด้วยค่ะ เพราะเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เงินค่าจ้างก็จะขึ้นตามข้าราชการไปด้วย แต่เท่าที่ทราบ ลูกจ้างประจำ ของ อบต. ปัจจุบันยังไม่ได้ขึ้นเงิน 5 % + การปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ด้วยนะคะ เนื่องจากเป็นกฎหมายคนละฉบับกันค่ะ ลองคิดดูนะคะ...ศึกษากฎหมายให้ชัดเจนก่อนค่ะ ค่อยตัดสินใจ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ผมมีเรื่องที่จะเรียนถามอาจารย์ ดังนี้ครับ

1. คำว่า บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่าอะไร และมันครอบคลุมถึงนักการภารโรงโรงเรียนใหมครับ

2. ผมอยากทราบว่า ผมบัญจุงานเป็นลูกจ้างประจำ (นักการภารโรงโรงเรียน) เมื่อ ก.ค. 2538 และเกษียณอายุ ก.ย. 2561 ผมจะมีสิทธ์ได้บำเหน็จรายเดือนใหมเพราะหมดอายุราชการ

ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณ somchai...

  • คำว่า "บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า "บุคลากรทางการศึกษา" หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
  • ให้สอบถามผู้บริหารว่า หมายความรวมถึงนักการภารโรงด้วยหรือไม่ค่ะ
  • การได้รับบำเหน็จรายเดือนมีผล ณ วันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้ค่ะ ผู้เขียนได้เคยนำมาลงในบล็อกนี้ด้วยเหมือนกันค่ะ ให้คลิกที่สารบัญด้านซ้ายนะค่ะ จะมีรายชื่อที่ผู้เขียนนำมาลงเรื่องบำเหน็จรายเดือนค่ะ...คุณเกษียณปี 2561 ก็น่าจะมีสิทธิได้รับด้วยนะค่ะ...ลองศึกษาที่ผู้เขียนได้แจ้งไว้นะค่ะ...

1.ผมติดตามผลงานของคุณบุษยมาศมาตลอดขอแสดงความชื่นชมที่เป็นผู้มีความสามารถและเสียสละไขข้อใจแก่ลูกจ้างประจำ

2.ลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ระดับ 1 อัตราเงินเดือน 17270 บาท  ต้องขอปรับเปลี่ยนเป็นระดับ 2 ก่อนหรือไม่  เมื่อเต็มขั้นจะต้องทำอย่างไร  จะปรับอัตโนมัติหรือต้องขอปรับก่อนจะได้ไม่เสียโอกาส

3.ถ้าจะขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานการศึกษาหรือตำแหน่งอื่น  เช่นพนักงานนำชม  พนักงานจัดการสโมสรพอจะมีโอกาสมั้ย  ผมจบปริญญาตรี เอกการจัดการทั่วไป  มีประสบการดังนี้

      เป็นผู้ฝึกสอนกีฬาเปตองของมหาวิทยาลัยฯและเป็นวิทยากรมา  22 ปี  เป็นผู้ฝึกสอนของจังหวัดราชบุรีตั้งแต่พ.ศ.2545-ปัจจุบัน  เป็นผู้ฝึกสอนดีเด่นของการกีฬาแห่งประเทศไทยประจำปีพ.ศ.2551  เคยทำหน้าที่แนะแนวนักเรียนศึกษาต่อ  เป็นนายกสโมสรบุคลากรหลายสมัย  เป็นวิทยากรวิพากย์แผน 9 ของมหาวิทยาลัย  และเป็นกรรมการอีกหลายตำแหน่ง  พอที่จะใช้ประกอบการเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่  ขอให้ช่วยแนะนำวิธีการปฎิบัติให้หน่อย

ตอบ...คุณดำรง...

  • ขอบคุณค่ะ สำหรับคำชม เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่ดีที่เมื่อทราบหรือรู้ ก็ควรชี้แนะให้กับผู้อื่นเพื่อให้ได้รับความรู้ไงค่ะ...ไม่ใช่ว่าทราบแล้วก็เก็บงำไว้คนเดียวเหมือนคนอมภูมิ เพราะองค์ความรู้จะหายไปกับตัวซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรต่อประเทศชาติเลยค่ะ...ผู้เขียนจะบอกเท่าที่ผู้เขียนทราบเองนะคะ คนที่รู้กว่าผู้เขียนก็คงมีอีกมากค่ะ...
  • เป็นพนักงานขับรถยนต์ระดับ 1 อยู่ เมื่อใกล้จะค่าจ้างเต็มขั้น ควรดำเนินการปรับเปลี่ยนเป็นระดับ 2 ค่ะ พอค่าจ้างไปแตะเพดานสูงสุดของระดับ 1 จึงค่อยปรับมาเป็นระดับ 2 ค่ะ
  • การขอปรับเป็นตำแหน่งพนักงานการศึกษาหรือตำแหน่งอื่น ๆ ควรสอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ ว่าได้หรือไม่ เพราะอาจมีบางตำแหน่งในสมัยก่อนทำไม่ได้ค่ะ ให้ถามเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางก่อนว่าได้หรือไม่ จะได้ไม่เสียเวลาไงค่ะ...อีกอย่างต้องดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของแต่ละตำแหน่งด้วยค่ะ...
  • ศึกษาเรื่องตำแหน่งต่าง ๆ ได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704?page=6#2476885

เรียน อ.บุษยมาศ ที่เคารพ

ผมมีความสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการอยู่เวรยามของลูกจ้างประจำส่วนราชการเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละหน่วยงานจะปฎิบัติไม่เหมือนกัน ผมเป็นลูกจ้างสังกัด สพป. ตามคำสั่งต้องให้ผมอยู่เวรยามตลอด 24 ชั่วโมง จนบางครั้งยังถามตัวเองว่าเราเป็นยามหรือพนักงานพัสดุกันแน่ ผมจึงอยากรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะเกี่ยวกับเรื่องการอยู่เวรยาม ของลูกจ้างหรือพอมีเอกสารประกอบพื่อมาศึกษา อย่างน้อยก็คงเปนประโยชน์กับลูกจ้างอีกหลายชีวิตที่ยังไม่เข้าใจ ขอบคุณครับ

ตอบ...คนไทภู...

  • ปัจจุบันการอยู่เวรยามของลูกจ้างประจำ ถ้าเป็นตำแหน่งยาม ส่วนมากส่วนราชการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นตำแหน่งอื่นแล้วค่ะ เพื่อเป็นการพัฒนาลูกจ้างประจำและต้องดูความรู้ ความสามารถของลูกจ้างประจำที่มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของตน สำหรับเวรยาม ส่วนราชการจะใช้ระบบการจ้างเหมา ฯ ซึ่งสามารถเบิกงบประมาณได้จากกระทรวงการคลังแทนค่ะ คือ จ้างเหมาบริษัท นำคนมาเฝ้ายามแทนลูกจ้างประจำไงค่ะ
  • การอยู่เวรยามตลอด 24 ชั่วโมง ในหลักความจริงก็คงไม่มีใครเขาทำกันหรอกค่ะ ถ้ามีก็จะอยู่เวรกันประมาณไม่เกิน 12 ชั่วโมง แล้วก็ผลัดเปลี่ยนให้อีกคนมาอยู่แทนกันค่ะ...สำหรับหน้าที่ของยามจริง ๆ ลองสอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ ซึ่งในระเบียบเก่าจะมีการกำหนดหน้าที่ให้อยู่ค่ะ...
  • ถ้าปัจจุบันเป็นพนักงานพัสดุ ต้องคุยกับหัวหน้าส่วนราชการแล้วละค่ะ หน้าที่ของเราจริง ๆ คือ พนักงานพัสดุ แต่ถ้าจะให้อยู่เวรยามตลอด 24 ชั่วโมง คงไม่ถูกต้องนัก ให้ ผอ.ร.ร. จ้างเหมาการอยู่เวรแทนสิค่ะ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารค่ะ ยิ่งเป็นตำแหน่งพนักงานพัสดุ เรายิ่งพูดได้ค่ะ เพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงในเรื่องการอยู่เวร ถ้าไม่งั้นก็ทำบันทึกถึง ผอ.ร.ร. ว่าด้วยคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานพัสดุ ว่าไม่มีหน้าที่ที่จะอยู่เวรยาม แต่ถ้าจะให้อยู่ นั่นคือ เป็นภาระกิจรอง ไม่ใช่ภาระกิจหลัก ต้องให้ ผอ.ร.ร. หาคนมาแทนแล้วค่ะ...
ลูกจ้างประจำคนหนึ่ง

ขอเรียนถามว่า

ในการปรับตำแหน่งของลูกจ้าง ตามที่อ่านข้างบนนั้น มีส่วนราชการไหนที่ปรับแล้วบ้างคะ

และมีส่วนราชไหนปรับเข้าแท่งแล้วบ้างคะ

เพราะ ตัวเองเป็นลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลชุมชนค่ะ ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข

ยังไม่มีการปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำ ตามคำชี้แจงด้านบน เลยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ตอบ...ลูกจ้างประจำคนหนึ่ง

  • ที่ ม.ที่ผู้เขียนอยู่ดำเนินการแล้วค่ะ
  • ส่วนที่ส่วนราชการอื่น ๆ ก็เริ่มมีแล้วค่ะ
  • ให้คุณลองสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของคุณดูนะคะว่าส่วนราชการของคุณใช้ระเบียบที่ผู้เขียนได้เขียนนี้หรือไม่
  • ให้คุณศึกษาบล็อกที่ผู้เขียน ๆ นี้นะคะ (ลองศึกษาจากบล็อกด้านล่างขึ้นมาด้านบนนะคะ เพราะบนสุดจะเป็นเรื่องใหม่สุดค่ะ)
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

ปัจจุบันผมเป็นช่างไม้ ระดับ3 จะปรับเปลี่ยนเป็น ช่างไม้ ระดับ4 โดยสอบผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นช่างชั้น2

ซึ่งผมไม่ได้ไปสอบมาตรฐานฝีมือชั้น 3 จะอาศัยใช้คำสั่งแต่งตั้ง และ คุณสมบัติข้อ 1 2 3 และหากเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนให้เราจะสามารถทำอย่างไร ขอคำชี้แนะด้วยครับอาจารย์

เขียนที่โรงเรียนแม่พริกวิทยา

37 หมู่ที่ 5 ถนนแม่พริก

อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52180 (สพม.เขต35)

18 กุมภาพันธ์ 2555

เรื่อง ขอความอนุเคราะห์แจ้งบุคลากรลูกจ้างประจำ กรอกข้อมูลลูกจ้างประจำที่มีวุฒิการศึกษา

ระดับปริญญาตรี มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

เรียน อาจารย์บุษยมาศ ที่เคารพรัก

อ้างถึง หนังสือสพม.เขต 35 ที่ศธ04265/408 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 35 แจ้งว่าศูนย์ประสานงานสมาคมลูกจ้างส่วนราชการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ขอคำชี้แนะจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวทางการถ่ายโอนลูกจ้างประจำ

เพื่อประเมินบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างประจำเป็นข้าราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (กรณีเฉพาะราย) โดยให้ได้รับเงินเดือนและอายุ

ราชการไปด้วย และได้พิจารณาหาช่องทางความก้าวหน้าต่อไป รายละเอียดแจ้งแล้วนั้น

ข้าพเจ้า นายชยมณี คำฟองเครือ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ระดับ 2 โรงเรียนแม่พริกวิทยา วุฒิการศึกษา

ปริญญาตรี เอกสาขาศิลปศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประเภทสามัญ

วันออกบัตรวันที่ 20 มกราคม 2553 บัตรหมดอายุ 14 มกราคม 2558 เคยได้รับคำสั่งมอบหมายให้สอน ระดับชั้นม.1-6

สอนสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพ ธุรกิจ บัญชีเบื้องต้น พิมพ์ดีด สังคมศึกษา สุขศึกษา ศิลปศึกษาและแนะแนว

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการกรอกแบบรายงานข้อมูลฯ ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเสนออาจารย์

บุญเลี้ยง สว่างภพ โรงเรียนบ้านปะคุง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายวิชาการสมาคมลูกจ้างส่วนราชการสพฐ.

เพื่อโปรดพิจารณาต่อไปแล้วนั้น จึงขอความอนุเคราะห์ท่านกรุณาประสานงานให้ตามความประสงค์ของข้าพเจ้า

ต่อไป เพราะอายุราชการผ่านมา 34 ปี เงินเดือนปัจจุบัน 17,570 บาท ปัจจุบันอายุ 53 ปี นะครับ หวังเป็นอย่างยิ่ง

คงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจาณา

ชยมณี คำฟองเครือ พนักงานพิมพ์ ระดับ 2

ปล. ได้จัดทำเอกสารประกอบการพิจารณา การเปลี่ยนสายงาน เป็น พนักงานพิมพ์ ระดับ 3

เป็นเวลานานแล้ว (29 พ.ย.2553) ยังไม่ได้รับการอนุมัติ

ครม.ปล่อยเลื่อนขั้นสูงอัตโนมัติ วันที่ 3 ก.ค.55 นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่ ) พ.ศ.(...) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ซึ่งจะมีผลให้ข้าราชการครูฯ ได้รับขวัญกำลังใจและสิทธิประโยชน์อย่างเป็นธรรมเสมอภาคกันยิ่งขึ้น ดังนี้ 1.ครูผู้ช่วย เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 ตามที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด โดยไม่ต้องใช้ตารางเทียบขั้นเงินเดือน 2.กรณีครูผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยแล้ว ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วย โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนอันดับ คศ.1 ในขั้นหรืออัตราเงินเดือนเท่าเดิม รวมทั้งกรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือน แรกบรรจุวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทด้วย เช่น ข้าราชการครู วุฒิปริญญาเอก เมื่อเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วย หรืออัตรา 17,690 บาท เมื่อมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน ให้ไปรับเงินเดือนอันดับ คศ.1ในอัตรา 17,910 บาท และเลื่อนสูงต่อไปได้ และ 3.ครูที่เงินเดือนถึงขึ้นสูงของอันดับ คศ.2 และ คศ.3 หรือ คศ.4 จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนต่อไปได้ โดยให้ไปรับเงินเดือนในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ ซึ่ง ก.ค.ศ.จะเร่งส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาต่อไป

เรียนถามท่านอาจารย์ ว่าถามข้อ 3. ลูกจ้างประจำ สพป.จะได้รับการเลื่อนเงินค่าจ้างต่อไปได้ โดยให้ไปรับเงินค่างในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ อัตโนมัติเหมือนคุณครูหรือไม่ครับ

3.ครูที่เงินเดือนถึงขึ้นสูงของอันดับ คศ.2 และ คศ.3 หรือ คศ.4 จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนต่อไปได้ โดยให้ไปรับเงินเดือนในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ ซึ่ง ก.ค.ศ.จะเร่งส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาต่อไป

เรียนถามท่านอาจารย์ว่า ตามข้อ 3. ลูกจ้างประจำ สพป.จะได้รับการเลื่อนเงินค่าจ้างต่อไปได้ โดยให้ไปรับเงินค่าจ้างในอันดับถัดไปได้อีกหนึ่งอันดับ อัตโนมัติเหมือนคุณครูหรือไม่ครับ

คือจาก ระดับ 1 เป็น 2,3,4 เมื่อขั้นเต็ม

ขอบคุณครับ

http://nongsoong.blogspot.com/ ชมรมลูกจ้างประจำอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

สวัสดีค่ะคุณบุษมาศ

เพื่อนๆลูกจ้างประจำอยากทราบว่ามีโครงการเออรี่ไหมค่ะ และมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง

อยากรู้ว่าถ้าเออรี่แล้วจะมีเงินเหลือพอใช้หนี้บ้างไหม

 

  • ตอบ คุณ Blank
  • ให้สอบถามที่งานบุคคลที่คุณสังกัดดูนะคะ เพราะนโยบายแต่ละภาคส่วนราชการไม่เหมือนกันค่ะ บางส่วนเขาก็ไม่ได้ให้เช่นที่คุณบอกมานะคะ
  • ตอบ คุณแหม่ม
  • ถ้าเป็นลูกจ้างประจำจะไม่มี early หรอกค่ะ คำว่า early จะมีเฉพาะข้าราชการค่ะ ตอนนี้กำลังดำเนินการกันอยู่ค่ะ สำหรับข้าราชการ ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดอยู่นะคะ
    บันทึกข้อความ     

ส่วนราชการ โรงเรียนบ้านบ้นกกไฮโนนน้ำคำ ที่ .......... / 2555 วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เรื่อง รายงานการอบรม
เสนอ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกกไฮโนนน้ำคำ

    ตามที่ทางโรงเรียนบ้านกกไฮโนนน้ำคำ ได้ส่งนายเจริญฤทธิ์ ทองเฟื่องไปร่วมอบรมการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานลูกจ้างประจำ จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษามุกดาหาร 

ณ ระเบียงแก้วมุกดารีสอร์ท อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 นั้น บัดนี้การอบรมดังกล่าวเสร็จสิ้นตามกำหนดการเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าผู้เข้ารับการอบรม ขอเสนอรายงานผลการอบรม ตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้

    จึงเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณา 

ลงชื่อ  

( นายเจริญฤทธิ์ ทองเฟื่อง)

         ตำแหน่ง พนักงานธุรการ

รายงานการเข้ารับการอบรมการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ณ ระเบียงแก้วรีสอร์ท อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร


หน้าที่และความรับผิดชอบ - การปฏิบัติงานลูกจ้างประจำ เมื่อลูกจ้างประจำเข้าสูระบบตำแน่งใหม่แล้ว การปรับเปลี่ยนสายงานหรือการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ผู้บริหารต้องมอบหมายงานให้ทำตามหน้าที่ที่รับผิดชอบตามตำแหน่งแต่ละกลุ่มงาน การปรับตำแหน่งหรือการเปลี่ยนสายงานลูกจ้างประจำ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและถูกต้องถึงจะสามารถทำได้ พันธสัญญาไม่มีในระเบียบผู้บริหารต้องเชื่อใจลูกน้องของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่เดิม - เก็บผลงานต่างๆ รูปภาพการปฏิบัติงาน คำสั่งมอบหมายงานต่างๆ
- ลูกจ้างชั่วคราวต้องได้รับเงินงบประมาณค่าจ้างที่จัดสรรจากทางเขต (แผ่นดิน) วันละ 300 บาท อนุมัติ วันที่ 1 มกราคม 2555 รอตกเบิก รัฐจะเบิกย้อนหลังให้ ค่าจ้างจากเงินพิเศษที่ทางโรงเรียนจัดหาให้จะไม่ได้ - ผู้บริหาร(ผอ.โรงเรียน) เป็นผู้ประเมินโรงเรียนของตนเอง คะแนนให้ตามเกณฑ์ในแต่ละดับชั้นงาน - รุ่นที่ 2 มี 42 โรงเรียน - รุ่นที่ 3 กำหนดส่งวันสุดท้ายไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2555

     ความต้องการของ  ผอ.โรงเรียนต่อลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว

1.มีความเข้าใจงานในขอบข่ายงานที่ทำ 2.มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน 3.มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 4.มาก่อนนักเรียนกลับหลังคุณครู 5.ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง 6.เข้ากับชุมชนได้ดี 7.สร้างความประทับใจในโรงเรียนละชุมชน 8.สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ความคลาดหวังผู้บริหารใหม่จะมีความคลาดหวังกับการปฏิบัติงานลูกจ้างสูงมาก การพัฒนาเครือข่ายลูกจ้างประจำ แบ่งเป็น 7 อำเภอ 7 เครือข่าย ตามกำหนดการด้านบน พิธีปิด อาจารย์ครับช่วยแนะนำวิธีการบันทึกการเข้ารับการอบรมให้หน่อยครับ

ลูกจ้างประจำเข้ารับการอบรมทางเขตเขาให้เขียนเบิกค่าเดิงทางไปรมรม แต่ไม่ให้ลงจำนวนเงิน แค่ลงลายมือชื่อเฉยๆครับ ค่าเดินทางก็ไม่ได้รับ ผมบอกเจ้าหน้าที่เขตว่าลูกจ้างที่เดินทางมาอบรมส่วนมากเดินทางมาโดยรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ทำไมทางเขตให้เขียนเป็นค่ารถโดยสารประจำทางมาละครับ เจ้าหน้าที่บอกบอกว่าให้ลงลายมือชื่อไปก่อน แล้วค่อยคุยกัย งงครับ ค่าเดินทางก็ไม่ได้รับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท