ส่งสรุปงานวิจัยเรื่องที่ 1


ส่งสรุปงานวิจัยเรื่องที่ 1
สรุปสาระสำคัญของการวิจัยเรื่องที่ 1
1. เรื่อง     ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
2. ผู้วิจัย     วิไลวรรณ  แซ่ชื้อ
3. ปีที่วิจัย    2549
4. วัตถุประสงค
           1. เพื่อศึกษาความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
           2. เพื่อเปรียบเทียบความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1โดยจำแนกตามประสบการณ์  และรายได
5.วิธีวิจัย 
           5.1  วิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษา ระดับความท้อแท้และเปรียบเทียบความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
           5.2  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1ได้จากการสุ่มโดยวิธีการแบบแบ่งชั้น(Stratified  Random  Sampling) จากประชากรแต่ละโรงเรียนได้ 14โรง   และได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)  ได้กลุ่มตัวอย่างครูประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 จำรวน 66 คน
           5.3 เครื่องมือ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยอาศัยแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2  ตอน
           ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1ได้แก่  ประสบการณ์  และรายได้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามสำรวจรายการ(Check  List)
           ตอนที่ 2 แบบสอบถามเพื่อวัดความท้อแท้ของครูโรงเรียนขนาดเล็ก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชลบุรี เขต 1  โดยใช้แบบสอบถามความท้อแท้ซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงและพัฒนามาจากแบบวัดความท้อแท้ที่โรจน์  กลิ่นกุหลาบ (2533) ปรับปรุงและพัฒนามาจากแบบสอบถามความท้อแท้ของแมสแลค  สำหรับใช้วัดกลุ่มอาการแสดงความท้อถอย 3 ด้าน คือสภาวะความอ่อนล้าทางอารมณ์  การสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน ซึ่งแบบวัดความท้อแท้นี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 34 ข้อ สอบถามความรู้สึกในแต่ละด้าน  โดยใช้วัดความบ่อยครั้งที่เกิดขึ้นเป็นตัวเลข 0-6 รวม 7 ระดับ
            5.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
            การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้
             1. ผู้วิจัยขอหนังสือบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา  ถึงผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 เพื่อขอความกรุณาอนุเคราะห์ส่งแบบสอบถาม ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก
             2.  ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมโดยการส่งแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 ฉบับ ไปยังจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 และได้รับคืนครบ คิดเป็นร้อยละ100
6.วิธีวิเคราะห์ผล
            ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติspss for windows
            6.1 สถิติพื้นฐาน
            ได้แก่ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาระดับความท้อแท้ของครูโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
            6.2 สถิติอ้างอิง
            t-test  เพื่อเปรียบเทียบความท้อแท้ในการปฎิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1ระหว่างประสบการณ์ และรายได้
7.ผลการวิจัยพบว่า  
          1. ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับต่ำ
          2. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ของข้าราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
           3. ผลการเปรียบเทียบความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูดรงเรียนขนาดเล็ก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1จำแนก ตามประสบการณ์และรายได้ พบผลดังนี้
          - ประสบการณ์  ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 10 ปี กับประสบการณ์ตั้งแต่ 10ปี ขึ้นไป  มีความท้อแท้ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านความสูญความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
          -รายได้  พบว่า ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีรายได้ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000บาท กับรายได้ตั้งแต่ 15,000  บาทขึ้นไป  มีความท้อแท้ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์  ด้านความสูญเสีย ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
หมายเลขบันทึก: 348897เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท