สรุปสาระสำคัญงานวิจัยเล่มที่ 1 ค่ะ


งานวิจัยค่ะ
ชื่อเรื่อง     รูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา
ผู้วิจัย        สุนันท์   เลิศฤทธิพงศ์
ปีที่วิจัย     2547
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                1. เพื่อศึกษารูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร จำแนกตามลักษณะงานงบประมาณ สถาบัน และภาค
                2. เพื่อศึกษารูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของครูอาจารย์ จำแนกตามประเภทวิชา ลักษณะงานงบประมาณ สถาบัน และภาค
                3. เพื่อศึกษารูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาตามความต้องการของครูอาจารย์ จำแนกตามประเภทวิชา ลักษณะงานงบประมาณ สถาบัน และภาค
วิธีวิจัย      เชิงสำรวจ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูป Krejcie & Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 109 คนและได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างของครูอาจารย์ จำนวน 364 คน และเทียบสัดส่วนบัญญัติไตรยางศ์และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Startified Simpling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี  2 ฉบับ คือ
                เครื่องมือฉบับที่ 1 เป็นการวัดรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 2 ตอน ดังนี้
                ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ (Check list)
                ตอนที่ 2 เป็นแบบวัดรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันอาชีวศึกษา ได้แปลและเรียบเรียงมาจาก What  ’s My Communication Style? ของ Eileen M. Russo ประกอบด้วย 24 คำถามเป็นแบบเลือกตอบ แต่ละข้อมีตัวเลือก ก. ข. ค.และ ง. ซึ่งในแต่ละ ตัวเลือกเป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร 4 รูปแบบได้แก่แบบสั่งการ แบบใช้อารมณ์ แบบเห็นอกเห็นใจและแบบมีระเบียบ
                เครื่องมือฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันอาชีวศึกษา ตามความคิดเห็นและความต้องการของครูอาจารย์ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้
                ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ (Check list)
                ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของครูอาจารย์ ประกอบด้วยคำถามจำนวน 4 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ แต่ละข้อเพียงคำตอบเดียว มีตัวเลือก ก. ข. ค. และ ง. ซึ่งข้อความในตัวเลือกแต่ละข้อ แสดงพฤติกรรมที่เป็นตัวแทนรูปแบบการติดต่อสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษาพูด  ด้านลักษณะการพูด ด้านภาษากายและด้านพื้นที่ส่วนตัว
                ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาตามความต้องการของครูอาจารย์ ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ แต่ละข้อ แสดงพฤติกรรมที่เป็นตัวแทนรูปแบบการติดต่อสื่อสาร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษาพูด  ด้านลักษณะการพูด ด้านภาษากายและด้านพื้นที่ส่วนตัว
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
                1. บันทึกเสนอขอให้งานบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกหนังสือถึงอธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
                2. ส่งแบบวัดรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารที่ลงรหัสของจำแนกตามสถาบันและภาค ให้กลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ โดยใส่ซองผนึกส่งถึงผู้บริหารศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา 109 แห่ง ในเครื่องมือฉบับที่ 1 และในเครื่องมือฉบับที่ 2 ได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ครูอาจารย์ทำแบบสอบถาม และได้แนบซองที่จ่าหน้าซองถึงผู้วิจัยพร้อมปิดแสตมป์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ตอบแบบสอบถามในการส่งคืนทางไปรษณีย์
                3. หลังจากวัดส่งแบบวัดรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาในเวลา 2 สัปดาห์ ในเครื่องมือฉบับที่ 1ได้รับคืน 85 ฉบับ  ส่วนในเครื่องมือฉบับที่ 2 จำนวน 296 ฉบับ สำหรับแบบสอบถามที่ยังไม่ได้คืน ได้สอบถามทางโทรศัพท์และได้คืนในสัปดาห์ถัดมา
                4. ผลการเก็บรวบรวมปรากฏว่าในเครื่องมือฉบับที่ 1 ที่จัดส่ง 109 ฉบับ ได้รับคืนเป็นฉบับสมบูรณ์จำนวน 101 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.66 และในเครื่องมือฉบับที่ 2 ที่จัดส่ง 364 ฉบับ ได้รับคืนเป็นฉบับสมบูรณ์จำนวน  352 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.70
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน
                  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
                1. รูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ส่วนใหญ่มีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผสมผสานกับรูปแบบอื่นทั้ง 4 รูปแบบ โดยมีรูปแบบการติดต่อสื่อสารส่วนใหญ่เป็นแบบใช้อารมณ์ รองลงมาเป็นแบบเห็นอกเห็นใจ แบบมีระเบียบ และแบบสั่งการตามลำดับ
                2. รูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูอาจารย์ส่วนใหญ่มีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผสมผสานกับรูปแบบอื่นด้านภาษาพูดเป็นการสั่งการ  รองลงมาเป็นแบบใช้อารมณ์ แบบมีระเบียบและแบบเห็นอกเห็นใจตามลำดับ ส่วนลักษณะการพูดส่วนใหญ่เป็นแบบมีระเบียบแผน รองลงมาเป็นแบบเห็นอกเห็นใจ แบบสั่งการณ์และแบบใช้อารมณ์ ตามลำดับ ด้านภาษากายส่วนใหญ่เป็นแบบใช้อารมณ์ รองลงมาเป็นแบบมีระเบียบ แบบเห็นอกเห็นใจและแบบสั่งการ ตามลำดับ ทั้งนี้ด้านพื้นที่ส่วนตัวส่วนใหญ่เป็นแบบมีระเบียบ รองลงมาเป็นแบบสั่งการ แบบใช้อารมณ์ และแบบเห็นอกเห็นใจตามลำดับ
                3. รูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความต้องการของครูอาจารย์ ด้านภาษาพูดภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นแบบสั่งการ รองลงมาเป็นแบบมีระเบียบ สำหรับภาคกลางส่วนใหญ่เป็นแบบสั่งการ รองลงมาเป็นแบบเห็นอกเห็นใจ ด้านลักษณะการพูดส่วนใหญ่ทุกภาคเป็นแบบใช้อารมณ์ รองลงมาเป็นแบบเห็นอกเห็นใจ ส่วนด้านภาษากายทุกภาคเป็นแบบใช้อารมณ์ รองลงมาเป็นแบบสั่งการ สำหรับด้านพื้นที่ส่วนตัว ส่วนใหญ่ทุกภาคเป็นแบบมีระเบียบ รองลงมาเป็นมาใช้อารมณ์
หมายเลขบันทึก: 348671เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 02:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะอาจารย์

จะเริ่มทำเล่ม 2 ต่อเลยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท