องค์ชาย…ผู้จุดประกายการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน


เมื่อ 2 ปีที่แล้ว “องค์ชาย” ขอแค่มีชีวิตรอดได้เท่านั้นก็นับว่าดี แต่ในวันนี้เราสามารถทำให้สามชีวิตได้กลับไปอยู่ในสังคมได้ ทุกอย่างที่ได้ทำไป พวกเราเหนื่อย กังวล และตั้งใจอย่างที่สุด เราให้สมยาเขาว่า “องค์ชาย” เพราะพวกเรารวมทั้งแม่ “องค์ชาย” ดูแลเขาเปรียบประดุจ “องค์ชาย”

         ถ้าคุณรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้ความพยายามใช้เวลาที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะดีขึ้น ความตั้งใจ และความพยายามแก่งานอย่างดีที่สุด อาจจำมาซึ่งความสำเร็จได้ ให้คุณได้ชื่นใจเหมือนเช่นกรณี “องค์ชาย” 

         “องค์ชาย”  เด็กชายอายุ 1 เดือน ที่เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติหลายด้าน เช่น นิ้วเกิน  ศีรษะเล็ก ตัวอ่อนปวกเปียก รวมทั้งความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจเป็นโรคปอดเรื้อรัง ทำให้ต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ จนแทบจะไม่ได้กลับบ้าน

         ครั้งแรกๆ ที่มานอน “องค์ชาย”จะมีอาการหอบเหนื่อยมาก บางครั้งหอบมากจนเขียว  ดูดนมไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหาร พ่นยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล โภชนากรและนักกายภาพบำบัด ต้องช่วยกันดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อประคับประคองให้ “องค์ชาย”  ได้กลับบ้าน และให้แม่ของ “องค์ชาย” สามารถกลับไปดูแล “องค์ชาย” ต่อเนื่องที่บ้านได้

         เพราะการที่ “องค์ชาย” จะไปกลับโรงพยาบาลบ่อยๆ หรืออยู่โรงพยาบาลตลอดก็กระทบถึงครอบครัว “องค์ชาย” เป็นอย่างมาก 

         เนื่องจาก “องค์ชาย” อยู่กับแม่ที่มีอายุเพียง 16 ปี และตาที่มีขาพิการต้องใช้ไม้ค้ำยันเวลาเดิน มีอาชีพขายล๊อตเตอร์รี่เลี้ยงครอบครัว ถ้า “องค์ชาย” มีอาการหอบเหนื่อยจะต้องมารักษาที่โรงพยาบาล ก็ต้องรอให้ตากลับจากขายล็อตเตอร์รี่ก่อนจึงจะพามาได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นมันอาจสายเกินไป 

         จากภาวะโรคและสภาพครอบครัวทำให้พวกเราทีมรักษาพยายามให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ “องค์ชาย” ได้กลับบ้าน โดยต้องกลับไปพ่นยา ดูดเสมหะ ให้อาหารทางสายยางและต้องมีอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่บ้าน ลำพังครอบครัวของ “องค์ชาย” แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ในการซื้อหาอุปกรณ์เหล่านี้ไปไว้ใช้ที่บ้าน

          แต่ในความโชคร้ายยังมีโชคดี เราได้ติดต่อกับญาติผู้ป่วยคนอื่นๆ และสโมสรโรตารี่จนได้รับบริจาคเครื่องพ่นยา เครื่องดูดเสมหะและอุปกรณ์ให้ออกซิเจนมา พวกเราช่วยกันสอนแม่ “องค์ชาย” ให้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นหลายครั้งจนมั่นใจ เราได้ประสานงานกับสถานีอนามัยใกล้บ้านขอความร่วมมือในการติดตามไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านและตอบกลับให้เราทราบปัญหา ทำให้เราช่วยแก้ปัญหาในการดูแล“องค์ชาย”ได้อย่างต่อเนื่อง

         จนในที่สุด ปัจจุบัน “องค์ชาย” อายุ 2 ปี ไม่ต้องใส่สายให้อาหาร ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร พูดได้บางคำ นั่งถัดไปข้างหน้าได้ ซึ่งวันนี้กับอดีตถ้านึกย้อนไปจะรู้สึกคุ้มค่ากับการทุ่มเทของเรา

         เมื่อ 2 ปีที่แล้ว “องค์ชาย” ขอแค่มีชีวิตรอดได้เท่านั้นก็นับว่าดี แต่ในวันนี้เราสามารถทำให้สามชีวิตได้กลับไปอยู่ในสังคมได้ ทุกอย่างที่ได้ทำไป พวกเราเหนื่อย กังวล และตั้งใจอย่างที่สุด เราให้สมยาเขาว่า  “องค์ชาย” เพราะพวกเรารวมทั้งแม่ “องค์ชาย” ดูแลเขาเปรียบประดุจ “องค์ชาย” 

         ในปัจจุบันเรามีศูนย์เล็กๆที่รับบริจาคเครื่องพ่นยา เครื่องดูดเสมหะจากญาติที่นำมาบริจาคเพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังที่จำเป็นต้องใช้ มีระบบการสอน ฝึกทักษะและประเมินผลการใช้อุปกรณ์เหล่านั้น มีระบบให้ยืมเครื่องมืออุปกรณ์ไปใช้ต่อที่บ้าน การติดตามดูแลอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้า – ออก โรงพยาบาลบ่อยๆ การทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยและญาติแล้วยังช่วยลดภาระงานของโรงพยาบาลได้ด้วย

 

ข้อคิดท้ายเรื่อง

  • ยามใดที่มีคนเจ็บป่วยที่บ้านหนึ่งคน นั่นหมายถึงว่าทุกๆ คนในครอบครัวพลอยได้รับผลกระทบ ถ้าสามารถช่วยคนเจ็บป่วยคนนั้นได้ หมายถึงได้ช่วยครอบครัวของเขาทั้งครอบครัว
  • การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม การวางแผนจำหน่ายร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพและครอบครัวผู้ป่วยโดยคำนึงถึงข้อจำกัดบางประการที่อาจทำให้ครอบครัวผู้ป่วยปฏิบัติไม่ได้ การแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมอื่นๆ มาช่วย ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาผู้ป่วยได้ตรงจุดและประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
  • ถ้าคุณรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้ความพยายามใช้เวลาที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะดีขึ้น ความตั้งใจและความพยายามแก่งานอย่างดีที่สุดจะนำมาซึ่งความสำเร็จที่ทำให้คุณได้ชื่นใจเหมือนเช่น  กรณี “องค์ชาย” 

 

เรื่องเล่าเร้าพลังจาก "เพื่อนกิ่ง" กิ่งดาว เพชรวัตร หัวหน้าหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ชั้น 5 โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี

 

 

หมายเลขบันทึก: 348570เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จองงงงงงงงงงงงงงงงงค่ะพี่เจี๊ยบ อิอิ

น้ององต์ชาย ได้รับการดูแลอย่างดีเลยค่ะ จากพี่ๆ ที่มีหัวใจงามค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆ ค่ะ พี่เจี๊ยบ

สวัสดี พอลล่า ...คิดถึงนะ

พี่กิ่ง(เพื่อนพี่เอง อิอิ...)และทีมงานสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลเรา ช่วยกันดูแลองค์ชายได้ดีมากๆ และจากกรณีองค์ชายนี้เองจึงเกิดระบบการดูแลด้วยหัวใจอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นเป็นรูปธรรมให้เพื่อนพ้องชาวยมราชได้เรียนรู้อีกด้วยค่ะ

ยังมีเรื่องราวดีๆ อีกหลายเรื่องค่ะ โปรดติดตามตอนต่อไปจ้า

สวัสดีค่ะ  SHA_WanJeab

ปลื้มกับองค์ชายและครอบครัวจังเลยค่ะ

ขอยกให้ทีมงาน Yomraj  เป็นองค์หญิงนะคะ 

ถ้าหากพวกเราทำด้วยหัวใจ  ทำด้วยความตั้งใจ  ไม่มีอะไรที่พวกเราทำไม่ได้

ขอคุณตัวอย่างและเรื่องราวดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ namsha
ขอบคุณค่ะ สำหรับตำแหน่ง"องค์หญิง" ถึงแม้จะทำได้ดีระดับหนึ่งแล้วแต่ทีมเราก็เห็นร่วมกันว่าเรายังมีโอกาสพัฒนาอีกมากมายค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท