Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

วิจิกิจฉา...ความลังเลสงสัย


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

นิวรณ์ตัวที่ ๕ คือ วิจิกิจฉา พอกระบวนการทั้ง ๔ มาครบแล้ว

ขบวนการที่ ๕ ก็ตามมา คือความลังเลสงสัย

ไม่มีความแน่ใจว่า  ท้องพองหรือไม่ หรือท้องยุบหรือไม่

ถ้าสงสัยหนักเข้าไปอีกว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่

พระธรรมมีจริงหรือไม่ พระสงฆ์มีจริงหรือไม่

บาปบุญมีจริงหรือไม่ มันลังเลสงสัยไปตลอดเวลา

 

ในที่สุดเป็นวิปัสสนึก นึกว่าบาปไม่มี บุญไม่มี บิดามารดาไม่มีบุญคุณ

จิตนึกไปและคิดเปรียบเทียบไปต่างๆ นาๆ

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์จึงไม่ให้อ่านหนังสือ ฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์

 

ถ้าจะปฏิบัติเข้าจริงถึงขั้นอุกฤษฏ์  ก็เดินแค่ ๗ ก้าว

มองลงไปแค่คืบ แค่ศอก เท่านั้นเอง ไม่มีการเหลียวซ้ายแลขวา

กำหนดห่างจากตนเองเลยไปแค่ ๑ วา นั่นคือ  อุกฤษฏ์

ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด กำหนดกิริยาอาการการเคลื่อนไหวของกาย

แม้ลมพัดก็ต้องกำหนดเสียงที่มากระทบ กำหนดอาการเย็น ร้อน อ่อน  แข็ง ที่มากระทบ

ถ้าเกิดสภาวะความไม่พอใจหรือความพอใจ

การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ การพลิกขาก็ต้องกำหนด นี่คือการกำหนดสติ

 

กำหนดสติที่รากเหง้าของจิต

 

โดยการกำหนดสตินั้น ถ้าฐานเกิดที่ไหน ต้องกำหนดที่ฐานนั้น

หากใจของเราเกิดไม่พอใจ ก็ให้กำหนดที่ใจ คือ ต้นจิต ต้นขั้วรากเหง้าของจิต

 

ด้วยการกำหนดที่ใจ กำหนดสติตามความรู้สึกเช่นไม่พอใจหนอ หรืออึดอัดหนอ

กำหนดที่ดวงจิต คือดวงใจ คือหัวใจกำหนดตรงนี้ทันที  อย่าปล่อยให้ผ่านไป

เมื่อกำหนดสติทันอย่างนี้ ตัวสภาวธรรมที่จะหนุนเนื่องขึ้นมา คือขันติ แปลว่า ความอดทน

 

พอขันติมา สติก็เริ่มมา

เมื่อสติมา สมาธิมา จึงเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ 

 

อัปปนาสมาธิ ตามลำดับ จิตใจก็จะเบาขึ้นมา

เราก็กำหนดดูอาการพองยุบชัดเจนยิ่งขึ้น ดูสภาวะที่เกิดขึ้นชัดเจน

ถ้าเรามีสติแก่กล้า เรากำหนด  ๒-๓ ครั้ง สภาวะอารมณ์นั้นตัดจบลงไปทันที

ต่อไปก็กำหนดพองหนอ ยุบหนอให้ต่อเนื่องกัน

อาการทุกอาการต้องกำหนดทุกระยะ

 

เมื่อกำหนดอย่างนี้เราเรียกว่าเป็นการหนุนสภาวธรรม

จะเห็นได้ว่าธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นการหนุนเนื่องซึ่งกันและกัน

อย่างเช่นกามฉันทะเกิดขึ้นมาก่อน องค์พยาบาทตามขึ้นมาเรา

เรียกว่าอธิบดีอารมณ์หรือเอกัคคตาอารมณ์ คือ  ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว

ซึ่งจะเป็นอารมณ์ทางไหน เป็นอารมณ์ทางบุญหรือเป็นอารมณ์ทางบาป

ตรงนี้เราต้องรู้เท่าทัน บางครั้งพอนั่งภาวนานิ่งไป

จนไปเจอถีนมิทธมาก่อน มันหนุนขึ้นมาชัดเจน  

 

ตัวอุทธัจจกุกกุจจะ หนุนให้สูงขึ้นทั้งง่วงทั้งฟุ้ง

มันหนุนให้เกิดเป็นแรง ๒ เท่า

เป็นแรงผลักเหมือนกับแม่น้ำเอ่อล้นที่เขื่อนหรือประตูน้ำ

หากเราเป็นผู้คอยเฝ้าดูประตูน้ำ

ถ้าน้ำเกิดไหลไปในช่องทางเดียว มันก็ไหลอย่างแรง

จนสามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างได้

เพราะแรงหนุนมันมีมาก มันตัดพยาบาทหนุนเข้าไปอีก

มันก็ยิ่งหนัก แต่ถ้าตัวศีลมันมีแล้ว สมาธิมันมีขึ้นมา

ความบริสุทธิ์เกิดขึ้น ตัวศีล สมาธิก็เกิดขึ้นด้วย

บางครั้งสมาธิเกิดขึ้นมามาก เช่น ผู้ปฏิบัติที่นั่งสมาธิภาวนาไป

 โดยมันไม่รู้อะไร มันนิ่งเฉย

นี่คือ  สภาวะของสมาธิมาก พอสมาธิมาก

ถ้ามีสติเข้ามาหนุน สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ดี

 

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

  

 

หมายเลขบันทึก: 348528เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณที่นำธรรมะมาให้อ่านทบทวนครับ

...สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ...

แล้วนำมาให้อ่านอีกนะครับ

ขอบคุณค่ะที่เมตตาให้กำลังใจในการเผยแผ่ธรรม

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจด้วยสายฝนเย็น ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณธรรมะดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท