สหกิจศึกษา จากแนวคิดหลักวิชาสู่การปฏิบัติจริง


ได้คนไม่ตรงกับงาน ความล้มเหลวแรกของการบริหารงานบุคคล

ในปีการศึกษา 2553 นี้ สาขาบริหารโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ส่งนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสหกิจศึกษา(HM 4179) ไปฝึกงานเสมือนจริงที่โรงพยาลทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงในการทำงาน ทั้งนี้จะได้ลบคำว่า  "ได้คนที่ไม่ตรงกับงาน ความล้มเหลวแรกของการบริหารงานบุคคล" ออกจากโรงพยาบาลที่รับบัณฑิตสาขาการจัดการโรงพยาบาลเข้าทำงาน และพื้นที่นี้เป็นที่เรียนรู้ของนักศึกษาร่วมกัน และอาจารย์ปรึกษา

คำสำคัญ (Tags): #สหกิจศึกษา
หมายเลขบันทึก: 348230เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (91)

         หากเราได้ให้โอกาสตนเองย้อนกลับไปดูเวลาที่องค์กร/โรงพยาบาลรับคนเข้ามาทำงาน เราก็จะคาดหวังว่าบุคลากรใหม่สามารถทำงานได้ทันที โดยโรงพยาบาลจัดให้มีระบบในการสรรหา คัดเลือกและก็ได้คนเข้ามาทำงาน ที่พบเสมอเลยก็คือว่าหน่วยงานที่จะใช้คนแทบจะไม่ได้มีโอกาสสัมผัสผู้ที่มาสมัครเลยหรืออย่างดีก็หัวหน้าหน่วยใช้เวลาสั้นในการสัมภาษณ์ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบุคลากรใหม่น้นจะสามารถทำงานได้ตามความคาดหวังของหน่วยงาน

          สหกิจศึกษามหาวิทยาลัยร่วมมือกับสถานประกอบการที่ส่งนักศึกษาไปทำงานจริงในหน่วยงานที่ตนเองชอบ ถนัด โดยใช้เวลา 4 เดือน ตรงนี้น่าจะเป็นหลักประกันได้ว่าบัณฑิตสาขาบริหารโรงพยาบาลจะสามารถทำงานในหน่ยงานนั้นๆได้ดีระดับหนึ่งที่ตอบสนองต่อภารกิจของหน่วยงานนั้นได้ คือ ได้บุคลากรที่ ตรงกับงานนั้นๆ

 

          ผลผลิตของบัณฑิตที่ผ่านวิชาสหกิจศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2552 ในภาคการศึกษาที่ 1 เกือบทุกคนได้งานทำในเดือนมีนาคม 2553 ยังเหลืออีก 3 คนที่ยังไม่คิดจะทำงาน 1 คน ต้องมาเก็บตกอีก 1-2 วิชา และ อีกคนก็ไปทำงาน 4 วันเห็นว่าองค์กรใช้ประโยชน์มากกว่าค่าตอบแทน เลยไม่อยากทำงาน ขอหยุดทำใจก่อน

          ปรากฏการณ์เหล่าที่เห็นสื่อให้เราได้รู้ว่าวิชาสหกิจศึกษามีประโยชน์มากต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว บางคนก็ได้เจรจากับองค์กรถึงความถนัด ชอบของตนเองและโรงพยาบาลก็กรุณาย้ายไปทำงานในที่นั้น โรงพยาบาลก็ได้ประโยชน์เต็มที่ บัณฑิตก็ได้ใช้พลังอย่างคุ้มค่า บางคนก็ได้ไปเรียนรู้งานใหม่ๆและก็ทำได้ดี การปรับตัวง่ายยิ่งขึ้น ที่สำคัญผมสื่อบอกบัณฑิตทุกคนที่มีโอกาสได้พูดคุยก็คือ ปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่หล่อหลอมทุกคนมา 4 ปี และทุกคนก็ยังใช้สิ่งนี้ขับเคลื่อนชีวิตการทำงาน

          "เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม"

         ตอนก่อนจะปิดภาคการศึกษาสาขาบริหารโรงพยาบาล ได้เริ่มสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชานี้ไว้ 11 คน โดยนักศึกษาต้องกลับไปทบทวนองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดโดยเฉพาะวิชาเอกที่เป็นวิชาหลักๆ เท่าที่ผมจำได้ก็ได้แก่ การจัดการโรงพยาบาล 1 การจัดการโรงพยาบาล 2 ระบบสุขภาพ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยเบี้ยงต้น อนามัยสิ่งแวดล้อมและการจัดการ การวิเคราะห์สถิติเพื่อการบริบาล การบัญชีเพื่อการจัดการโรงพยาบาลระบาดวิทยาและการจัดการ การจัดการการบริบาลสุขภาพ การจัดการการเงินสำหรับโรงพยาบาล กฎหมายสำหรับการจัดการโรงพยาบาล การพัฒนาระบบคุณภาพในโรงพยาบาล การจัดการระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การบริหารการจัดชื้อและพัสดุสำหรับโรงพยาบาล การนำระบบคุณภาพไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล ระบบเวชระเบียนเพื่อการจัดการในโรงพยาบาล การจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาล การปฐมพยาบาล การวิจัยด้านการจัดการโรงพยาบาล เป็นต้น ตรงนี้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้เรียนผ่านมาแล้ว และสัมฤทธิผลของนักศึกษาในรุ่นนี้ต้องไม่น้อยกว่า 2.5 แสดงให้เห็นเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องราวของโรงพยาบาล

          ในด้านความประพฤตินั้น นักศึกษากลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงามไม่ถูกตัดคะแนนความประพฤติเลย ผมเคยเห็นนักศึกษานำเกียรติบัตรมาแสดงให้เห็นก็พอจะเป็นหลักค้ำประกันว่านักศึกษาจะออกไปสร้างสิ่งดีงานให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการที่ได้เลือกไป

          ประเด็นต่อมาที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานจริงก็คือการศึกษาบริบท(context)ของโรงพยาบาล และหน่วยงนที่เป็นแหล่งฝึก โดยให้นักศึกษาไปเรียนรู้ตอนที่ไปติดต่อกับโรงพยาบาลเท่าที่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นต้นทุนของนักศึกษาแต่ละคน มีนักศึกษาหลายคนมาถามผมว่าแล้วบริบทของโรงพยาบาลเป็นอย่างไร? ผมก็บอกว่าให้กลับไปทบทวนตอนที่ผมนำเขาเรียนรู้ในวิชาการวิจัยฯ เรื่องการหาหัวข้อวิจัยในระบบบริหารสุขภาพ ว่าหากเราได้เรื่องที่เป็นจุดอ่อนหลักๆของโรงพยาบาลมาทำการศึกษาก็จะช่วยให้โรงพยาบาลบรรลุเป้าหมายได้อย่างตรงเรื่องตรงประเด็น......ที่ดูผ่านระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล

 

รู๋ยังไม่ได้ไปส่งคำร้องที่โรงบาลเลย

เดี๋ยวจะไปอาทิตย์หน้านี้

รอวันหยุดงานก่อนค่ะ

+++

สวัสดีค่ะ อาจารย์ยงยุทธ

อีเมล์ฉบับแรกที่อาจารย์ส่งให้ ไฟล์ที่แนบมา เปิดไม่ได้นะค่ะ

เพื่อนหลายคนก็เปิดไม่ได้ ก็เลยไม่รู้ว่าอาจารย์ส่งอะไรมาให้

          การติดต่อกับโรงพยาบาลมีความสำคัญ และต้องใช้เวลา หากโรงพยาบาลตอบตกลงแล้ว มหาวิทยาลัยต้องทำหน้งสือขอเป็นทางการอีกครั้ง เท่าที่ทราบมีโรงพยาบาลในต่างจังหวัดตอบกลับมาแล้ว 3 แห่ง ระยอง ชลบุรี และขอนแก่น

          เอกสารที่ส่งไปนั้นเป็นรายชื่อนักศึกษา การติดต่อ และอาจารย์ที่ปรึกษาอาทิตย์หน้าจะส่งให้ใหม่นะครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ โรงพยาบาลยังไม่ตอบกลับมาเลยค่ะ ต้องทำยังไงค่ะถึงจะทราบอย่างเร่งด่วนค่ะ

           ในช่วงนี้ต้องประสานงานกับโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิดนำเสนอให้เห็นความมีคุณค่าที่เราจะเข้าไปทำงานในแก่โรงพยาบาล พยายามต่อไปนะครับ แต่ต้องเตรียมแผนสำรองไว้เหมือนกัน ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษานะครับ

สวัดดีวันสงกรานต์ค่ะ อ.ยงยุทธ

อ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ขอนแก่น ตอบรับการฝึกงานของหนูยังคะ

ตอบมาแล้วครับตั้งแต่ต้นเดือน 2 เม.ย. 2552

สาขาวิชาบริหารโรงพยาบาล แจ้งเปลี่ยนวันปฐมนิเทศสหกิจศึกษามาเป็นวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2553 เวลา 08.30 - 16.00 น. ห้องประชุมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

นักศึกษาจะเตรียมตัวอย่างไรในการฝึกงานเสมือนจริง ที่เรียกว่าสหกิจศึกษาเป็นคำถามที่ทุกคนคุ้นเคย ที่มีคำตอบที่หลากหลายลองเอามาแบ่งปันกันนะครับ

 

 

พิกุลแก้ว ทองกันยา

+++

สวัสดีค่ะ อ.ยงยุทธ และอ.ทุกท่าน

โรงพยาบาลอำนาจเจริญส่งใบตอบรับการฝึกงานหรือยังค่ะ

อาจารย์ค่ะ ช่วยติดต่อโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาให้เพื่อนหนูด้วยค่ะ

อาจารย์ไปคุยให้หน่อย มันจะสิ้นเดือนแล้วค่ะ ยังไม่เสร็จเลย

จนถึงเวลานี้มีสถานบริการได้เลือกนักศึกษาเข้าฝึกงาน ได้แก่ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลอำนาจเจริญ โรงพยาบาลราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และโรพยาบาลกรุงเทพระยอง

วิชาสหกิจศึกษา นักศึกษาต้องนำเสนอสถานประกอบการให้เขามันใจว่าเราจะไปทำอะไรให้แก่โรงพยาบาล มิใช่ว่าโรงพยาบาลจะให้อะไรแก่เรา ต้องได้ทั้งสองฝ่าย ยังพอมีเวลาสำหรับคนที่โรงพยาบาลยังไม่ตอบรับได้แสดงศักยภาพ

 

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

เจอกันวันที่ 17 พ.ค. นะค่ะ

+++

เครียดตั้งแต่ยังไม่ฝึกจริงเลยนะค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ หนูอยากทราบรายละเอียดของจดหมายที่โรงพยาบาลสิริกิติ์ส่งมานะค่ะ

ขอบคุณค่ะ เคารพยิ่ง คนึงนิตย์

                

มนุษย์เราก็จะคุ้นเคยกับความรู้สึก ความคิดเดิมๆ และที่อยู่ในที่เดิมๆ ผมอยากชวนให้ทุกคนได้ทบทวนความคิดว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร การเรียนรู้ที่ดีไม่ได้เกิดจากความกลัว ความกังวลจนเกินเหตุ ไม่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมเดิมๆ เราต้องก้าวออกจากจุดเดิมที่เราอยู่ด้วยตัวเราเองอย่างมั่นใจ เรามีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา ที่สำคัญที่เราไปอยู่ในโรงพยาบาลเรากำลังออกไปเรียนรู้ออกไปสร้างเรียนราวดีๆ ออกไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพถึงจะเป็นจุดเล็กๆ การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยเราก็ได้เรียนรู้ในหลักการ ทฤษฎี แนวความคิดต่างๆ การทำงานจริงในโรงพยาบาลๆเราจะได้เห็นความเป็นจริง(ปรากฎการณ์) สาขาคาดว่านักศึกษาจะนำความรู้ที่ได้เรียนมาจนเกือบจะเป็นบัณฑิตอยู่แล้วเอามาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น และแสดงออกมาเป็นความคิดเห็น

ความวิตกกังวล ความกลัว ความเครียดนั้นล้วนเป็นอุปสรรค์การเรียนรู้ทั้งสิ้นเราต้องก้าวผ่านจุดนี้ให้ได้อย่างรวดเร็ว

หากเราไม่พร้อมรับในโอกาสที่เราได้สร้างขึ้นและเข้ามาในชีวิตเราอย่างนี้ เราก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ของเราได้เองซึ่งอาจจะเป็นเส้นทางเหมาะสมกับตัวเรา เราเลือกได้เองและปรึกษาอาจารย์ท่านนะครับ

"พลังทางความคิดที่ดีและทรงพลังนั้นควรเริ่มจากการคิดจุดเดียวอย่างยาวนานระยะหนึ่ง เริ่มจากเรื่องในตัวเราและขยายออกไปสู่สังคมตามสิ่งที่เราสนใจจะเรียนรู้ เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม"

รายละเอียดตามแบบตอบรับนักศึกษาสหกิจเข้าทำงานครับ

 

หนูได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์มาแล้วค่ะ แล้วที่หนูจะไปฝึกงานนั้นทางโรงพยาบาลเรียกว่า สำนักงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลค่ะ ส่วนบริบทของโรงพยาบาลนั้นหนูจะศึกษาอย่างต่อเนื่องค่ะ เคารพยิ่ง คนึงนิตย์

ดีมากครับ การเตรียมตัวที่จะเข้าไปฝึกงานเสมือนจริงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาต้องเรียนรู้เรื่องราวของโรงพยาบาล(บริบท)ให้ได้มากที่สุด เป็นโอกาสดีมากๆที่ได้ฝึกที่สำนักงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล 4 เดือนเราเห็นการทำงานของโรงพยาบาลทั้งโรงละครับ

โรงพยาบาลวิภาราม ตอบรับนักศึกษาให้เข้าฝึกงานในวิชาสหกิจศึกษาแล้ว

                 

โรงพยาบาลวิภาวดี ถ.งามวงศ์วาน และโรงพยาบาลไทยครินทร์ ตอบรับนักศึกษาเข้าฝึกงานในวิชาสหกิจศึกษาแล้ว

วันที่ 17-21 พฤษภาคม 2553 มีการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสหกิจที่คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ประเด็นที่นักศึกษาจะต้องเตรียมมาเพื่อเรียนรู้ร่วมกันได้แก่ลักษณะ (บริบท)ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่จะลงไปฝึกจริง

 

อ.ค่ะ ไฟล์ที่อ.ส่งมาเกี่ยวกับอ.ที่ปรึกษาสหกิจ หนูยังเปิดไม่ได้เลยค่ะ แล้วตกลงของหนูใช่อ.ธิติมาส หรือป่าวค่ะ

 ท่านนายกรัฐมนตรี มาเปิดงานวันสหกิจศึกษาครั้งที่ 1 ที่เมืองทองธานี ปีที่แล้ว                    

                     

ตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2553 นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสหกิจศึกษาได้กลับเข้ามารับการปฐมนิเทศ ซึ่งใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ เป็นการนำเอาความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดมาบูรณาการกับงานที่นักศึกษาจะออกไปทำจริงในโรงพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลที่รับนักศึกษาทั้งสิ้น 9 โรงพยาบาล หน่วยที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานเสมือนจริงได้แก่ ผู้ป่วยใน ศูนย์จำหน่าย - ศูนย์เคลม ศูนย์พัฒนาคุณภาพ ศูนย์ข้อมูลประกันสังคม ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการตลาด และฝ่ายจัดซื้อ

นักศึกษาบางคนก็ไปปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เหมือนกันในคนละโรงพยาบาล เริ่มต้นวันแรกในวันนี้ และจะใช้เวลาทั้งสิ้น 15 สัปดาห์

ผลการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมของนักศึกษาทุกคนก็คือ โครงการพัฒนางาน หรืองานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาล 

ในโอกาสนี้ต้องให้กำลังใจนักศึกษาทุกคนที่กำลังออกไปเรียนรู้ในชีวิตจริงของการทำงาน และฝากภูมิคุ้มกันที่นักศึกษามีและใช้ในรั่วมหาวิทยาลัยเอาไปใช้ด้วย คือคุณธรรม 6 ประการของทุกคน ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และกตัญญู จะทำให้นักศึกษาอยู่ได้กับทุกสภาวการณ์

 

 

          อาจารย์ที่ปรึกษาได้นัดกับนักศึกษาของตนเองที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลจากสาขา(ที่จริงแล้วนักศึกษาจะปรึกษาอาจารย์ท่านไหนก็ได้)ว่าภายใน 3 อาทิตย์นักศึกษาต้องส่งหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานการพัฒนา หรือเรื่องที่ต้องการศึกษาที่เป็นงานวิจัย

          เวลาเลือกหัวข้อและเรื่องดังกล่าวนั้นพื้นฐานที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ นักศึกษาชอบ สนใจเป็นพิเศษแต่ต้องประเมินศักยภาพของตนเองไปพร้อมกันด้วยว่าองค์ความรู้ของเรา ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนพอหรือเปล่า ประการที่ 2 เป็นโอกาสพัฒนา(ภาษาที่โรงพยาบาลคุ้นชินความหมายเดียวกับคำว่า "ปัญหา")ของหน่วยงานที่เราได้เข้าไปทำงานซึ่งจะเป็นประเด็นหลักๆตามจุกมุ่งหมาย(purpose)ของหน่วยงานหรือประเด็นรองๆก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นประเด็นย่อยๆจะเสียเวลาและหน่วยงาน โรงพยาบาลจะได้รับประโยชน์น้อย ประการที่ 3 นักศึกษาจะต้องดูนโยบายของหน่วยงาน โรงพยาบาลว่าต้องการได้อะไรจากการฝึกงานเสมือนจริงของเรา หากสามารถตอบสนองได้ก็จะสร้างมั่นใจให้แก่ตัวเราเองและโรงพยาบาล

สวัสดีค่ะอาจารย์ทุกท่าน

สหกิจวันแรก ราบรื่นดีค่ะ รอใบส่งตัวจากทางมหาวิทยาลัย

หน่วยงาน มีความเข้าใจในการฝึกสหกิจ

ให้ความสำคัญกับทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องขอบเขตการฝึกปฏิบัติงานและเรื่องรายงาน

การเข้าทำงานวันแรกของนักศึกษานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การได้รับการตอนรับเป็นอย่างดี การปรับตัวให้เป็นไปตามแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดความประทับใจทั้งตัวนักศึกษาเอง และพี่ๆที่อยู่ในหน่วยงานเป็นความสำเร็จของการเริ่มต้น ที่เกิดจากการก้าวเข้าไปเรียนรู้ของนักศึกษา

ต่อจากนี้ไปนักศึกษาจะได้รับการหล่อเลี้ยงทั้งทางจิตใจ องค์ความรู้ และแบบอย่างต่างๆ ที่สำคัญคือการเปิดใจรับองค์ความรู้ และประสบการณ์เหล่านั้น เราก็จะได้อะไรอีกมากมาย  การเตรียมตัวที่ดีของนักศึกษาจะทำให้เราเกิดความมั่นใจที่จะเผชิญในเรื่องราวใหม่ๆดีๆในชีวิตทุกๆเรื่องและตลอดเวลา

เอกาสารจากมหาวิทยาลัยฯจะแล้วเสร็จวันนี้ อย่างช้าวันพุธ จะถึงอำนาจเจริญแน่นอน

คุณพ่อของธิดารัตน์ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลขอนแก่น เมื่อวานนี้ (6 มิ.ย.) ช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกันนะครับ พวกเราคงไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงานได้ สำหรับอาจารย์ที่สาขาทุกท่าน "ขอแสดงความเสียใจในความสูญเสียครั้งนี้ของธิดารัตน์และครอบครัวมา ณ โอกาสนี้"

ฝึกงานสนุกดีค่ะได้ดูทุกซอกทุกมุมของโรงพยาบาลเลย แถมได้ดูแลรับผิดชอบไซร์งานก่อสร้างด้วย หัวข้อรายงานได้แล้วรออาจารย์รับรองอยู่ ส่งให้อาจารย์ทาง E-mail แล้วและหนูกำลังรอการมาของอาจารย์อยู่ ที่สำคัญที่นี่เขาทำ CSI ด้วยค่ะอาจารย์ กำลังเรียนรู้จากพี่ทุกคนอยู่ค่ะ

ร่วมแสดงความเสียใจกับอุ้ยด้วยค่ะ

กำลังใจจากทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ

 

การทำโครงการที่เกี่ยวกับเรื่อง"อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล...." ที่ทางโรงพยาบาลให้นักศึกษารับผิดชอบเกี่ยวกับด้านนี้ และช่วงนี้โรงพยาบาลกำลังทำการก่อสร้างอยู่นั้น ซึ่งอาจจะมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เป็นโครงการที่ดีมากเลยครับ และอยากให้นักศึกษาทบทวนการเลือกทำโครงการที่ผมได้บันทึกไว้เมื่อ 3 มิ.ย. ที่ผ่านมา และประเมินดูว่าสามารถทำได้หรือไม่

ในการบริหารโครงการก่อสร้างนั้นคนที่รับผิดชอบโครงการจะนำเสนอวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในเบี้องต้นในขณะที่มีการก่อสร้าง ตอนที่เราเรียนวิชากฎหมายในการบริหารโรงพยาบาลอาจารย์ผู้สอนที่อยู่สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมก็ได้สอนเรื่องอย่างนี้อยู่ ศึกษาข้อมูล และตรงนี้น่าจะมีหน่วยงานพิเศษที่ดูแล เช่นผู้บริหารโครงการก่อสร้าง เป็นต้น

ส่วนเรื่องอาชีวอนามัยนั้นที่โรงพยาบาลก็น่าจะมีระบบตรงนี้อยู่บางแล้ว เร่งศึกษารายละเอียดและตัดสินใจอีกครั้งนะครับว่าจะทำต่อหรือไม่ หากทำลองดูว่ามูลเหตุสำคัญคืออะไร (ปัญหาที่แท้จริง/โอกาสพัฒนา) วัตถุประสงค์ควรเป็นอย่างไร อย่าเสียเวลาคิดนานนักนะครับ

เวลาเพื่อนเราคนหนึ่งคนใดประสบกับเรื่องราวที่เป็นทุกข์ กำลังใจเท่านั้นจะทำให้เขายืนต่อสู่ต่อไปได้ อย่าลืมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่แบ่งพลังดังกล่าวไปให้เพื่อนเราที่กำลังเป็นทุกข์นะครับ
ซึ่งนี้ อาจารย์คิดเห็นว่ายังไงบ้าง ทำได้ไหม
เพราะหนูกับพี่วางแผนกันบ้างแล้ว

คิดว่าจะตั้งชื่อเรื่องโครงการว่า "การป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพในบุคลากรของโรงพยาบาล........"

เดี๋ยวจะส่งฉบับเต็มบทที่ 1 อย่างเป็นทางการไปให้อาจารย์อีกที ตอนนี้กำลังพิมพ์อยู่ค่ะใกล้เสร็จแล้ว

ตอนนี้กำลังเดิน Round ไปแต่ละแผนก ทำการประเมินและเก็บข้อมูลอยู่เพื่อทำการพัฒนาได้ตรงจุด

การฝึกงานช่วงนี้ ได้รับผิดชอบด้าน SHE (Safety, Health, Environment) งานเต็มโต๊ะเลย และสนุก มีความสุขดีค่ะ

เรียนมาเพื่อแจ้งความคืบหน้า

ฉวีวรรณ โว้ๆๆ จะเร็วไปไหนค่ะ

ไปที่สมิติเวชก็ดีนะคะอาจารย์เค้ารู้ว่าต้องทำอะไรกะเราบ้าง

นู๋ไป2วันแรกก็เรียนรู้จะหมดแล้ว

นี้เขาให้นู๋ฉายเดี่ยวไปพบคนไข้เองแล้ว

เค้าปล่อยให้ไปติดต่อตามขั้นตอนAdmissเองแล้ว

แต่ถ้าcaseไหนต่างชาติพี่ก็ไปด้วย

ไปชี้แจงเรื่องห้อง จองห้อง

เขาจะให้อยู่ที่Admiss2อาทิตย์แล้วจะส่งไปดูที่ฝ่ายประกัน

เพราะงานAdmissอย่างเดียวมานมีไม่เยอะ

เดือนหน้าเขาให้นู๋เข้า7โมงเลิก3โมง

เพราะระบบเขาเริ่มตอน7โมง

ตอนนี้นู๋รู้จักพี่ที่โรงบาลเกือบทุกชั้นแระ

งานก็เลยง่ายขึ้นพี่เขาก็จะช่วยตลอด

เรื่องหัวข้อพี่เขาคิดอยู่ว่าตรงไหนที่ต้องการให้ทีมทำได้100%อีก

เพราะพี่เขาทำเกือบทุกเรื่องแล้ว

เพราะงานนี้มีน้อยดูง่าย

สวัสดีค่ะทุกๆคน สบายดีไหม? เขาสบายดีมาก

หนูเพิ่งเปิดดูของอาจารย์ค่ะ ขอแสดงความเสียใจกับอุ๊ยด้วยนะ ตั้งใจเรียนเพื่อครอบครัวต่อไปนะ ทุกคนจะได้ภูมิใจกับเรา

อาจารย์ค่ะ วันแรกพี่เขาบอกให้นั่งดูการทำงานไปก่อน มีให้ส่งเอกสารทุกวัน เดินขึ้นward เก็บเอกสารค่ะ ทำเอกสารตั้งแฟ้ม

หัวหน้ายังไม่ได้สอนงานเลยค่ะ มีแต่คอยช่วยเหลือพี่เขาไปก่อน หนูขอดูผลการดำเนินงานCQI ของพี่เขาแล้วค่ะ แต่พี่ยังไม่ได้หา

ให้ค่ะงานยุ่งมาเลยแผนกนี้ พี่เขาบอกว่ามีเรื่องจะให้รับผิดชอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้คุยสักทีเลย ไม่เหมือนกับที่เรียนเลยค่ะ งงมากๆๆ

หนูจะพูดยังไงดีค่ะให้พี่เขาสอนงานในบ้างอย่าง พี่เขาไม่กล้าให้รับผิดชอบเหมือนเขาค่ะ เพราะว่าเดี๋ยวหัวหน้าจะว่า ก็เลยให้ทำ

เล็กๆน้อยๆ หนูต้องศึกษาเรื่องบริษัทประกันอย่างมาก หนูจะเข้าไปหาข้อมูลได้ที่ไหนดีค่ะ พี่เขามีอบรม RMด้วยค่ะ การทำงานใน

แผนกเป็นระบบมากค่ะ ในแต่ละวันจะกำหนดหน้าที่ของใครของมันไม่ก้าวก่ายกันค่ะ

ในการทำงานจริงนั้นมีความหลากหลาย "ไป2วันแรกก็เรียนรู้จะหมดแล้ว"..."พี่เขาสอนงานในบ้างอย่าง พี่เขาไม่กล้าให้รับผิดชอบเหมือนเขาค่ะ"....."ตอนนี้นู๋รู้จักพี่ที่โรงบาลเกือบทุกชั้นแระ งานก็เลยง่ายขึ้นพี่เขาก็จะช่วยตลอด"....."สวัสดีค่ะทุกๆคน สบายดีไหม? เขาสบายดีมาก" มีหลายอารมณ์มั่นใจในการทำงานมาก วิตกกังวล และก็สบายๆ

เราต้องก้าวออกไปจากจุดที่เรายืนอยู่อย่างมั่นใจเพื่อออกไปเรียนรู้เรื่องราวของโรงพยาบาล ความวิตกวังวลไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการการเรียนรู้และยังเป็นอุปสรรคการเรียนรู้อย่างมาก

เมื่อวานได้มีโอกาสไปเยี่ยมนักศึกษา 4 คน จาก 3 สถานประกอบการและพบว่านักศึกษามีได้รับสิ่งดีๆที่โรงพยาบาลมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นภาระงานที่ค่อยเป็นค่อยไปมีอาจารย์ที่ปรึกษาในโรงพยาบาลที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความเข้าหลักการของวิชาสหกิจศึกษา 3 ท่านเป็นคนใหม่ และ 1 ท่านที่เมตตาที่ให้การปรึกษามาตั้งแต่ปีที่แล้ว

งานโครงการของฉวีวรรณ

วัตถุประสงค์ทั่วไป

                 เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล... 

วัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้

                1. เพื่อศึกษาพัฒนาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากรทางกายภาพ

การยศาสตร์ อุบัติเหตุจากการทำงานและจิตวิทยาสังคมของโรงพยาบาล...

                2. เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน ค้นหาความเสี่ยงตรวจสอบสภาพการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล...

                3.เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นจากบุคลากรในโรงพยาบาลได้รับหรือสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานของโรงพยาบาล...

                4. เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคมของบุคลากรในโรงพยาบาล... 

 

เป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจ มีประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก ที่สำคัญเราต้องกลับมาดูว่า นักศึกษาเองมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งวัตถุประสงค์เพาะทั้ง 4 ข้อ เราจะทำให้มันแล้วเสร็จในเวลา 3.5 เดือนได้อย่างไร เรียนให้อาจารย์ที่ปรึกษาที่โรงพยาบาลลดขอบเขตของโครงการดูว่าเอาเพียงใด

สวัดดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน

ได้หเรื่องที่จะทำกันยัง

เค้าเครียดมากเลย

ช่วยด้วยๆ

 

                                    

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา พระองค์ท่านมีพระคุณอันประเสริฐ ทรงพระกรณียกิจมากมายที่เกิดคุณประการแก่ประชาชน  เวลาที่เราทุกข์ เครียดก็อาศัยภาพนี้แล้วมองให้เห็นเบี้องหลังภาพก็เห็นความงดงามอย่างมากที่พระองค์มีความกรุณาแก่พวกเรา(ทรงปลูกต้นโพธิที่ศูยน์พัฒนาเขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา เมื่อ 30 ปีมาแล้ว)

การเครียดเกิดจากความสามารถการปรับตัวของเราให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ ผมมักจะบอกกับนักศึกษาเสมอว่าเราต้องก้าวเความเครียดไป มันเกิดจากเกิดจากการับรู้และปรุงแต่งที่ไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของเรา หากห่างกันมากก็จะเครียดมาก (ความคาดหวังของเราห่างจากการปรุงแห่งที่เราเห็นว่าเป็นความเห็นจริงมาก)

วิธีการที่ลดความเครียดที่ทุกคนมีประสบการณ์จากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ลองทบทวนว่าเราเคยใช้มาอย่างไร กลับมาอยู่กับตนเองค่อยลดการรับรู้จากภายนอก หากจะรับรู้ก็ต้องด้วยความมีสติและที่เกี่ยวกับตัวเราในขณะนี้เท่านั้นอย่างปรุงแต่งให้เกินเลยไป (การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง) และหยุดการรับรู้เรื่องราวที่ไม่เกิดประโยชน์ เรื่องของคนอื่น ไม่เปรียบเทียบกับเพื่อน เพราะว่าแต่ละแห่งสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ฯ ต่างกัน (บริบท) แต่ก็นำมาเรียนรู้ได้

เปิดตัวเองเปิดการเรียนรู้ของตนเองอย่างไว้วางใจตนเอง(ทุกตนมีคุณค่า)อย่างมีสติ และผู้อื่นที่เป็นมิตรของเรา(กัลยาณมิตร) (หากไม่วางใจเขา เราจะไปไม่ถึงจุดนี้เป็นอันขาด) เราเป็นนักศึกษาเข้าไปช่วยโรงพยาบาลทำงานไม่มีใครคิดไม่ดีหรือร้ายต่อเราแน่  ก้าวเดินออกจากความคุ้นชินไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วยความไว้วางใจเพื่อออกไปเรียนรู้

ความกลัว ความกังวล ความเครียด เป็นความคิดที่เกิดจากการทำงานของสมองและเป็นอุปสรรคของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ความไว้วางใจตนเองและผู้อื่นที่อยู่รอบตัวเราเท่านั้นที่จะช่วยเราได้ โดยเริ่มจากไว้วางใจตนเองอย่างมีสติก่อน

ก้าวผ่านจุดนี้ให้เร็วนะครับเพื่อนและอาจารย์ทุกท่านให้กำลังใจ 

 

 

พยายามปรับตัวสุดชีวิตเลยค่ะ จะเรียนรู้ให้มากๆๆให้ได้ค่ะ

เมื่อวานนี้เวลา 15.30 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสร็จราชดำเนินมาเปิดหอประวัติ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

(ผมเอาภาพมาจากสำนักข่าวเจ้าพระยา ที่สมเด็จพระเทพฯเสร็จในงานอื่นๆ)

http://www.ch7.com/news/news_royal.aspx

ตามไปดูว่าในวันนั้นบรรยากาศในมหาวิทยาลัยฯ เราเป็นอย่างไร

 

 

สวัดดีค่ะอาจารย์ โรงพยาบาลราชพฤกษ์มีคนชื่อ คุณสุรเดช ทวีผล ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้วยค่ะ

เดินจนน่องโป่งแล้วค่ะ ที่ผ่านมางานในแผนกยุ่งมากค่ะ มองจนตาลายเลยค่ะ เอกสารกองเป็นตั้งเลยค่ะ เคลียร์กันถึงเย็นเลยค่ะ ตอนนี้ห้องพักไม่พอ มีผู้ป่วยมากกว่าจำนวนเตียง ต้องให้ผู้ป่วยรอก่อน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนโรงพยาบาลเป็นคนไทยค่ะ

ชาวต่างชาติน้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสิทธิการรักษา

ตอนนี้เริ่มชินแล้วค่ะ แล้วก็สนุกด้วยพี่ๆดูแลเป็นอย่างดี จะคอยถามอยู่ตลอดและเป็นห่วงเมื่อแผนกอื่นใช้ให้ไปทำงานให้ด้วย พี่จะบอกปฎิเสธให้ตลอดค่ะ พี่ทุกคนทำงานเก่งมากๆๆการทำงานเป็นระบบ แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน ไม่เกิดข้อผิดพลาดเลย แต่ไม่ค่อยมีเวลาพักเท่าไร เพราะผู้ป่วยมาตลอดเลย

จะโครงการดี จะวิจัยดี ตอนนี้งง มากกกก ไม่เข้าใจๆ

ทฤษฎีสู่การปฏิบัติยากจริง เพื่อนๆสนุก ทำไมหนูเครียด

          โครงการก็ดี หรือจะวิจัยก็ดี ทั้งนั้นอย่าเสียเวลาคิดเลยท้ายสุดเราก็เดินไปถึงจุดหมายจุดนั้นเช่นกัน

          ถึงเวลานี้ต้องเลือกหัวข้อ/เรื่องได้แล้ว ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ นักศึกษาชอบ สนใจเป็นพิเศษแต่ต้องประเมินศักยภาพของตนเองไปพร้อมกันด้วยว่าองค์ความรู้ของเรา ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนพอหรือเปล่า ประการที่ 2 เป็นโอกาสพัฒนา(ภาษาที่โรงพยาบาลคุ้นชินความหมายเดียวกับคำว่า "ปัญหา")ของหน่วยงานที่เราได้เข้าไปทำงานซึ่งจะเป็นประเด็นหลักๆตามจุกมุ่งหมาย(purpose)ของหน่วยงานหรือประเด็นรองๆก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นประเด็นย่อยๆจะเสียเวลาและหน่วยงาน โรงพยาบาลจะได้รับประโยชน์น้อย ประการที่ 3 นักศึกษาจะต้องดูนโยบายของหน่วยงาน โรงพยาบาลว่าต้องการได้อะไรจากการฝึกงานเสมือนจริงของเรา หากสามารถตอบสนองได้ก็จะสร้างมั่นใจให้แก่ตัวเราเองและโรงพยาบาล ประโยชน์เกิดขึ้นทั้งเราและโรงพยาบาล(3 มิ.ย.)

          การฝึกงานแบบสหกิจศึกษาอย่างที่นักศึกษาได้ไปประจำอยู่หน่วยงานมาเกือบ 3 อาทิตย์แล้วก็น่าจะรู้ว่าจุดมุ่งหมายของหน่วยงานเป็นอย่างไร เป้าหมายการทำงานเป็นอย่างไร ความสำเร็จแสดงออกมาเป็นตัวชี้วัดอะไร หากนักศึกษาเข้าใจเรื่องราวดังกล่าวเหล่านี้หัวข้อที่นักศึกษาจะทำโครงการพัฒนา หรือหัวข้อวิจัยก็ง่ายมาก

          อาทิตย์นี้แล้วที่นักศึกษาต้องส่งหัวข้อตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนดซึ่งจะเป็นเข็มมุ่งจุดแรกที่ทุกคนต้องเดินมาให้ถึงในอาทิตย์นี้และหลายคนก็เดินผ่านจุดนี้ไปแล้วและก็ควรแบ่งปันการเรียนรู้ให้กับเพื่อนๆของเราที่กำลังเดินมา ณ จุดนี้ ........

ตอนนี้งานยุ่งมากๆ ปัญหาที่พบในโรงพยาบาลมีเยอะจริงๆ แผนกเราก็ต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ทุกๆๆอย่าง คนนึงมีงานเข้าตั้ง 3-4 งาน เยอะมาก ทั้งก่อสร้าง ,กระบวนการทำงาน, ระบบ ,IC ,เอกสาร ,CSI ,สถิติ ,...........

แต่ก็สนุกดีคะ ที่ไม่สนุกก็คือ ต้องนั่งทำรายงานนี่แหละ ปวดหัวมากเลยค่ะ คิดถึงทุกๆๆๆๆคน

 

การทำงานเสมือนจริงอย่างนี้ หลายคนในโรงพยาบาลเห็นว่านักศึกษาเราทำงานเหมือนนักศึกษาที่มาฝึกงานเป็นครั้งคราว 1-2 อาทิตย์บ้าง เป็นเดือน หรือหลายเดือนบ้าง นักศึกษาระดับปริญญาตรีบ้าง ปวช. และปวส.บ้าง แล้วก็ให้ไปเรียงchart  ค้นchart ที่ใครก็ทำได้เป็นความคิดที่ถูกต้องอยู่และนักศึกษาก็เห็นกันอยู่แล้ว

ความแตกต่างของนักศึกษาสาขาบริหารโรพยาบาลก็คือนอกจากที่เราสามารถทำงานต่างๆในโรงพยาบาลได้แล้วไม่ว่าจะเป็น เรียงchart  ค้นchart หรืองานอื่นๆนักศึกษายังรู้ว่าระบบงานแต่ละงานเป็นเช่นไร การบริหารเวชระเบียนที่โรงพยาบาลทำงานอยู่นั้นเป็นระบบใด ข้อดี และด้อยเป็นอย่างไร ผมบอกนักศึกษาเสมอว่าอย่างทำงานแค่แล้วเสร็จเท่านั้น เราต้องคิดทบทวนการทำงานกับที่เราเรียนรู้มาแล้ว ความมีคุณค่าอยู่ตรงนี้ครับ เราเรียนบริหารโรงพยาบาล เราก็ควรจะเรียนรู้ว่าระบบที่นำมาใช้ในการเรียงแฟ้มเวชระเบียนนั้นเป็นระบบใด ระบบใดควรเป็นระบบที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลแห่งนี้ การค้นchart เรียง chart การเก็บถูกที่ ข้อมูลความถูกต้องเป็น ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนเป็นอย่างไร ความสมบูรณ์ตรงไหนเป็นหัวใจของโรงพยาบาล การนำเอาสารสนเทศที่สำคัญที่อยู่ในรูปของตัวชี้วัดที่สำคัญ (KPI)ของงานเวชระเบียนไปใช้ในการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพงาน และทางการบริหารโรงพยาบาลนั้น ล้วนแล้วมาจากระบบบริหารเวชระเบียนทั้งสิ้น

หากทำงานให้เสร็จไปวันๆมิได้คิดทบทวนไม่รู้คุณค่าตรงนี้หรอกครับ ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่เขา ของให้นักนักศึกษาบริหารโรงพยาบาลรู้ว่าเรากำลังมีส่วนทำให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพผ่านการทำงานอย่างตั้งใจของพวกเราทุกๆคน

ตรงนี้แหละครับคือความมีคุณค่าที่นักศึกษาของเรามีอยู่และฝากไว้กับผลงานที่เราได้ออกไปฝึกสหกิจศึกษา เราเดินทางของเราต่อไปนะครับ ทิ้งเรื่องเหล่านี้ไว้ตรงนี้ สิ่งดีๆกำลังรอการรังสรรค์ให้เกิดขึ้นอีกมากมายจากการทำงานสหกิจศึกษาของพวกเรา เอาสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันและชื่นชมยินดีกับสิ่งที่เราเห็นมีคุณค่ามากกว่า

...................................................................

พื่อนเราบางคนก็ได้รับความไว้วางใจให้ทำงานเยอะทั้งงานก่อสร้าง กระบวนการทำงานคุณภาพต่างๆ เช่น ระบบIC ระบบเอกสาร,CSI เป็นต้น..... ก็ดีครับนักศึกษาก็สนุกกับการทำงาน

เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรืออาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำงานได้ดี ถูกต้อง เป็นไปตามเป้าหมายร่วมกันที่เราได้กำหนดเอาไว้แล้ว

คำตอบคือทำรายงานนี่แหละ ที่พวกเราและคนในโรงพยาบาลก็ปวดหัวไม่น้อยกว่านักศึกษา เรียนรู้กับมันนะครับ นำเอาความจริง ความดี และความงามที่เราได้ทุ่มเท พยายามทำมา มาเขียนให้ผู้อ่านเห็นความงดงาม ผ่านเอกสารที่เราเรียกมันว่ารายงาน ดีไหมครับ

อาจารย์ยงยุทธบทที่ 2 เมื่อ Reference ทฤษฎีของคนอื่นแล้ว จะต้องสรุปใจความตอนท้าย เหมือนกับ Reference อันอื่นๆหรือไม่

ดีค่ะ

ตอนนี้งานที่รพ.เยอะมากเลยค่ะ เพราะที่รพ.ทำ IQA กัน หนูก็มีหน้าที่ที่ต้องมานั่งคีย์ใบประเมินลงคอมอ่ะค่ะ เพื่อที่จะเอาไปนำเสนอ งานที่ทำส่วนมากจะเกี่ยวกับเอกสารซะส่วนใหญ่อ่ะค่ะ ปวกหัวมากๆๆ ลายมือพวกหมอ เภสัชอ่านยากจิงๆเลย

ส่วนเรื่องรายงาน หนูทำเรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพการรายงานอัตราการติดเชื้อค่ะ พี่ที่โรงพยาบาลบอกว่าอันนี้โอเค เพราะการรายงานช้ามากๆค่ะ

แต่หนูยังไม่ทราบเลยค่ะว่า ควร reference เรื่องไรบ้างอ่ะค่ะ ต้องเกี่ยวกับสาเหตุหรือการป้องกันการติดเชื้อด้วยหรือป่าวค่ะ เพราะหนูคิดว่ารายงานที่หนูทำ เกี่ยวกับการลดระยะเวลาในการรายงานการติดเชื้อจาก Ward ต่างๆ มาให้ IC อ่ะค่ะ...............

การอ้างอิงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากไม่ว่าเราจะทำโครงการพัฒนา หรือการวิจัย การอ้างอิงจะทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เป็นไปตามหลักการ ไม่ได้ใช้หลักของตัวเรา จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เราประมวลมาเป็นของตัวเราเอง ลองกลับไปดูที่ผมเคยบันทึกเอาไว้ในเรื่องความจริง ความรู้ และความคิดเห็น ความคิดเห็นอย่างไรที่มีหลักที่ผมพานักศึกษาเรียนรู้ได้แก่ A B C ทบทวนดูนะครับ

อ้างอิ่งอะไร นักศึกษาดูว่าประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเรื่องนั้นๆอย่างไร ก็เอาประเด็นเหล่านี้แหละไปทบทวน ดูA B C ที่เคยบอกไว้

มีไม่กี่อย่างที่มันย้อนกลับมาไม่ได้ เวลาเป็นอย่างหนึ่งครับ

ตอนนี้ถึงเวลาที่นักศึกษาต้องส่งหัวเรื่องตามแบบฟอร์มของมหาวิทยาลัยแล้ว ที่เห็นผ่านสายตาก็มีแต่พิกุลแก้ว โดยนักศึกษาต้องใช้วิธี scan ทำให้เป็น file ที่มีรายมือของนักศึกษา หรือเอาตัวจริงส่งทางไปรษณีย์มาที่อาจารย์ที่ปรึกษาที่คณะฯ เอกสารนี้ต้องส่งให้ คณบดี ท่านลงนามก่อนเริ่มทำโครงการ

เวลาเดินมาเกือบครบเดือนแล้ว และเราทุกคนมีเวลาอย่างเท่าเทียมกันใช้มันให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเรา หน่วยงาน โรงพยาบาล และสังคมให้มากที่สุดนะครับ

นู๋จะทามเรื่องลดขั้นตอนและลดความสูญเสียเวลาของกระบวนการให้บริการผู้ป่วย ADMIT จากOPD MEDICINE

ไม่รู้มานจะใหญ่เกินไปรึเปล่า

เพราะนู๋อยู่ADMITในแผนกเวชระเบียน

แต่ที่ก็เป็นงานที่เกี่ยวข้องกันแผนกMED ด้วย

เลยว่าทำเรื่องนี้

          การส่งหัวข้อรายงานที่มีเข้ามาแล้วได้แก่ เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพเวชระเบียนเพื่อการเบิกจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์” เรื่องการพัฒนาสินค้าและการบริการ ในโครงการ “กลับมาดูแลสุขภาพคุณแม่ของเรา ในเทศกาลวันแม่แห่งชาติ” เรื่อง "การป้องกันความเสี่ยงของบุคลากรโรงพยาบาล......." ที่จริงมีอีก 4 คนแต่อยู่ในช่วงการปรับให้เหมาะสม

เรื่อง "ลดขั้นตอนและลดความสูญเสียเวลาของกระบวนการให้บริการผู้ป่วย ADMIT" หากอยู่ในระบบงานของเวชระเบียนก็น่าสนใจ โครงการอย่างนี้ทำในงานของแผนกเวชระเบียนเป็นการศึกษาขั้นตอนการทำงานเอาขั้นตอนที่ไม่สำคัญออกไป....ดีครับ ลองเขียนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด แล้วส่งรายละเอียดโครงการมาให้อาจารย์ที่ปรึกษาดู....

อาจารย์ค่ะ เรื่องที่หนูเสนอไม่ผ่านเหรอค่ะ มันต้องเพิ่มข้อมูลในเรื่องไหนค่ะถึงจะทำได้ หนูอยากจะพัฒนาในเรื่องหัวข้อที่หนูจะทำเพราะเห็นขั้นตอนของพี่ที่ทำงานแล้วค่ะว่ามันเกิดความล้าช้าในบ้างขั้นตอน พวกพี่เขาก็อยากให้ทำเหมือนกันค่ะ ส่วนเรื่องนำหนักข้อมูลมีอยู่ค่ะกับพี่ หนูข้อดูข้อมูลพี่เขาแล้ว แต่ว่าพี่ยังไม่ได้หาให้ค่ะ พี่เข้าทำงานตอนกลางคืนเลยไม่ได้เจอกัน อาจารย์ค่ะหัวข้อที่หนูจะทำไม่ผ่านเหรอค่ะ ช่วยตอบให้ดูเข้าใจด้วยนะค่ะ ต้องอธิบายเยอะๆหน่อยนะค่ะ หนูเข้าใจอยากค่ะ อาจารย์ตอบหนูเร็วๆๆหน่อยนะค่ะหนูจะได้เข้าใจ

         "หนูอยากจะพัฒนาในเรื่องหัวข้อที่หนูจะทำเพราะเห็นขั้นตอนของพี่ที่ทำงานแล้วค่ะว่ามันเกิดความล้าช้าในบางขั้นตอน พวกพี่เขาก็อยากให้ทำเหมือนกันค่ะ" หากมองข้อความดังกล่าว เราเห็นว่าเกิดความล่าช้าในบางขั้นตอน และก็เห็นว่าคนทำงานก็ต้องการจะพัฒนาเรื่องนี้ด้วย นักศึกษารู้ได้อย่างไรว่าเกิดความล่าช้าในบางขั้นตอน อะไรที่แสดงให้เห็นว่าความล่าช้าปัญหา ต้องหาคำตอบก่อนที่นักศึกษาเอาเรื่องนี้มาเป็นโครงการการพัฒนา....

         ปัญหาคืออะไร "สิ่งที่มันไม่เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน คือปัญหา (เพียงตัวอย่างเดียว)ทางโรงพยาบาลเรียกโอกาสพัฒนา

          เป้าหมายของหน่วยงานคืออะไร อะไรบอกว่าหน่วยงานยังไม่บรรลุเป้าหมาย ลองกลับไปดูตัวชี้วัดหน่วยงานซิครับว่าเป็นอย่างไร พอเห็นปัญหาแล้วหรือยัง

          ในบางโรงพยาบาลระบบสารสนเทศไม่เกื้อต่อการเข้าถึง หรือสารสนเทศไม่สะท้อนความสำเร็จของเป้าหมายหน่วยงาน หากเป็นอย่างนี้ควรกลับไปชวนพี่ๆที่หน่วยงานมาวางระบบให้คนทำงานสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญของหน่วยงานที่มองผ่าน KPI หรือชวนมาพัฒนาการสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จหลัก(KPI)ของหน่วยงานกันดีกว่า.........

ถึงอาจารย์ยงยุทธที่เคารพ ด่วน!!!!

อาจารย์ส่ง E-mail ใน Hotmail มาว่าอะไรค่ะ หนูอ่านไม่ออก มันเป็นภาษาต่างดาว อาจารย์คงต้องใช้ Mail Hotmail ของอาจารย์ แทนการใช้ Mail HCU ส่งมาดีกว่าค่ะ

เรียนอาจารย์ตอบกลับด่วน

จาก ฉวีวรรณ ค่ะ

เรียนอาจารย์ยงยุทธที่เคารพ (เหมือนฉวีวรรณค่ะ)

บทที่1 ส่งไปให้ตั้งแต่คืนวันพุธ แต่ไม่เห็นอาจารย์ตอบมาว่ายังไง

ไม่ทราบว่าได้รับแล้วหรือยัง

ถ้าอาจารย์ใช้hotmailส่งมา หนูก็จะตอบกลับhotmailนะคะ

รบกวนอาจารย์ด้วยค่ะ...ไม่ด่วนค่ะ ทางปกติก็ได้

สวัดดีอาจารย์และเพื่อนๆนะ

รายงานถึงไหนกันแร้ว..

ฝึกงานหนุกป่าว ส่วนเค้าหนุกดี

แต่รายงานปวดหัวมักมากกกกกกกกกกกกกกกก

รายงาน

อยากจะกรี๊ด

ระยะทำใจ อิอิ

ได้รับทั้ง 2 คน และในช่วงนี้ขอตามหัวข้อก่อน วันจันทร์หน้า(12 ก.ค.)จะตอบกลับนะครับ mail ที่ส่งทาง hotmail ขออภัยด้วยต่อไปนี้ใช้ของมหาวิทยาลัยฯ อย่างเดียว

อาทิตย์สุดท้ายแล้ว ที่นักศึกษาต้องส่งหัวข้อโครงการฯ ไม่อย่างนั้นโครงการฯทำไม่ทัน ฉวีวรรณ์ และพิกุลแก้ว หัวข้อผ่านแล้วทำต่อได้เลย เวลาเราเหลืออีก 3 เดือนเท่านั้น อย่าให้เวลามันไล่ล่าเรานะครับ

เวลาเราฝึกงานต้องให้ได้ทั้งสาระ และความสนุกสนาน อาจารย์บางท่านเรียกว่า "สาระสุข"

อาจารย์หนูหมายถึง Mail HCU มันอ่านไม่ได้ มันเป็นภาษาต่างดาว แต่ของ Hotmail อ่านได้ค่ะ ส่งข้อมูลทาง Hotmail ดีกว่าค่ะ

เพื่อนๆๆโครงงานไปถึงไหนกันแล้วอ่ะ

อาจารย์ส่งไฟล์อะไรมา หนูเปิดอ่านไม่ได้ อาจารย์ส่งมาทาง Hotmail เถอะ ....ได้โปรด.....ขอร้อง.....ขอความอนุเคราะห์......

เรียนมาเพื่อทราบ

ได้เลยครับ เป็นที่ต้องทำอย่างยิ่งส่งทาง hot.mail

โครงงาน/โครงการ/งานวิจัย ที่ผ่านตาผมแล้ว 6 ราย ปรับให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4 ราย 2 รายผ่านแล้ว(พิกุลแก้ว และฉวีวรรณ)

อาจารย์ค่ะ ข้อความ บทกลอนที่อาจารย์อยากได้ หนูจะส่งทาง e-mail.ให้นะค่ะรอรับได้เลยค่ะ

ที่อาจารย์ถามถึง อาจารย์ปิโยรส นั้น ท่านเป็นรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ะ

ขอบคุณครับ บทกลอนก็ได้เห็น และรับรู้ความรู้สึกของคนทำงานคุณภาพของโรงพาบาล

ในการทำโครงการ หรืองานวิจัยของนักศึกษาตอนนี้ทุกคนเดินทางมาเกือบครึ่งทางแล้ว ในรายงานน่าจะถึงบทที่ 2 และบทที่ 3

บทที่ 3 เขียนอย่างไร ลองช่วยกันซิครับว่า งานวิจัยบทที่ 3 เราเคยเขียนอะไรกันบ้าง และเป็นโครงการพัฒนาละเราจะเขียนอะไรกับ้าง........

 

อาจารย์ค่ะ ของหนูต้องทำส่งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลด้วยค่ะ แล้วต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์ เพื่อรออนุมัติแล้วถึงจะเก็บข้อมูลได้

ดวงอาทิตย์ ดวงบักใหญ่ ก็ยังมีจุดดับเล็กๆ

งานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลที่เฟื่องฟูมากมายทั่วทั้งประเทศ ก็ย่อมมีจุดดับในตัวของมันเอง

ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่าจะมองเห็นมันรึเปล่า

......

"ทำ HA "

คำพูดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่ก่อนจะออกมาเป็นคำพูดเสียด้วยซ้ำ

แม้ว่าจะทำได้มากมายจนสามารถ accredit ได้ ก็ย่อมจะมีจุดดับอยู่ภายในตัวของมันเอง

สังเกตได้ง่ายๆว่าโรงพยาบาลชองคุณมีจุดดับหรือไม่ โดย

1.พอได้ยินคำว่า จะประเมินแล้วนะ จะรู้สึกว่าใจห่อเหี่ยว

2.ก่อนวันประเมินอย่างน้อย 1 วัน แทบจะไม่ได้นอน

3.ขณะถูกพรพ.ถาม จะนึกอะไรไม่ออก ตอบตะกุกตะกัก (เพราะว่าตื่นเต้นจนลืมที่ท่องเอาไว้)

4.เมื่อประเมินเสร็จแล้ว จะรู้สึกโล่งสบาย และอยากลางานหลายๆวัน

5.หลังจากนั้น ทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติสุขเหมือนเดิม

6.ชีวิตการงานที่ตื่นเต้นจะกลับเวียนมาหาใหม่ เมื่อใกล้จะ Re-accredit

วนไปวนมาเป็นวัฏจักร เป็นวัฏสงสาร เหมือนชีวิตของเรา มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย

ตราบใดที่ยังเป็นสิ่งสมมติ ก็ย่อมจะวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

....

HA เป็นเครื่องมือ ที่ฝรั่งคิดขึ้นมา

ถูกนำมาใช้ในเมืองไทย โดยผู้ที่เข้าใจ และผู้ที่ไม่เข้าใจ(ว่ามันเป็นแค่เครื่องมือ)

เมื่อเป็นเครื่องมือ ก็ย่อมเข้ากฏธรรมชาติ คือ ใช้ไม่ได้กับทุกที่ ทุกสถานการณ์

คนที่มองเห็นปัญหา คนที่สามารถคิดวิธีแก้ปัญหา และคนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือ ตัวเราเอง

เพราะฉะนั้น HA บอกไม่ได้หรอก ว่าทำยังไงรพ.ของคุณจะมีคุณภาพ

พรพ. ก็บอกไม่ได้

รพ.อื่นที่ผ่านแล้ว ก็บอกไม่ได้

คิดไปคิดมาก็วนไปวนมา นี่แหละ ที่มันผิดตั้งแต่ต้น

ผิดที่เอาเครื่องมือมาเป็นตัวตั้งต้น

แล้วให้คนของเราทำตามเครื่องมือ

เมื่อคนไม่ทำตาม ก็แก้ไขกันไปเรื่อยๆ บังคับก็แล้ว ให้รางวัลก็แล้ว ให้ความรู้ก็แล้ว กระตุ้นก็แล้ว

แต่ คน ไม่ใช่เครื่องจักร

HA สำหรับผู้ใช้ที่ไม่เข้าใจ จึงทำไปโดยมีความทุกข์

จุดเริ่มต้น ไม่ใช่บอกว่าจะทำ HA

ไม่ใช่ไปอ่านหนังสือแล้วมาทำตาม

ไม่ใช่ไปดูคนอื่นทำแล้วทำตาม

ไม่ใช่ไปเชื่อพรพ.หมดทุกอย่าง

แต่ต้องเริ่มต้นด้วยการ ดูตัวเราเอง

เรียนแต่เรื่องนอกตัว ไปอบรมเรื่องภายนอกมาเยอะ จนลืมไปว่า ตัวเราเองเป็นอย่างไร

"หัวใจของการพัฒนาคุณภาพ มีอยู่ในคนทุกคน"

เชื่อไหมล่ะ...

แต่วิธีการของเรา ไม่เหมือนในหนังสือเท่านั้นเอง

วิธีการของเรามาจากประสบการณ์การทำงานของเราเอง จึงไม่มีตราอะไรรับรองให้มันดูน่าเชื่อถือ เหมือนของฝรั่งเค้าทำกัน

คิดไปคิดมาก็เป็นทุกข์

ทุกข์ที่คนอื่นไม่เชื่อเรา

ทุกข์เพราะคิดว่าเราเก่ง

ทุกข์เพราะว่ายังมี "เรา"

"อิทัปปัตจยตา = มันเป็นเช่นนั้นเอง"

"ฟ้าครามงามยิ่งแท้        สิริกิติ์

 มะขามหวานเปรี้ยวสนิท  แซ่บหลาย

 เคี้ยวข้ามความมืดมิด     เดียวดาย

 บ่ คร้ามครามวุ่นวาย      HA. HA."       (บทกวีจากโรงพยาบาล)

"ใจมั่นสถิตแน่น   คุณภาพ

ฮ่า(HA) ฮ่า(HA)ลั่นกึกก้อง   ริบเร่

นายขยับลูกน้องตาม   เห็นกัน

มวลทหารชาวบ้านล้วน  เปรมปรีย์"    (ผมมาเขียนต่อ และยังไม่จบ)

          เราต้องให้กำลังใจคนทำความดี ก่อนที่ผมจะเข้ามาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยฯ ที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา และการให้แห่งนี้ ไม่มีโอกาสออกไปสร้างการเรียนรู้ในโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้วยความรักของ พรพ. ทีมเราพบว่าคุณหมอ พยาบาล เภสัช ทุกวิชาชีพ รวมถึงคนทำงานในโรงพยาบาลทุกคนที่ได้ทุ่มเทกันทำความดีแต่กลับเป็นทุกข์ โครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้วยความรัก ก็เข้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนทำงานได้เห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อตนเอง ต่อผู้อื่นทั้งที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและญาติตลอดจนสังคมโดยรวม คนทำงานก็มีความสุขมากขึ้น (ไม่ออกจากระบบราชการไป ขาด ลา มาสายลดลง) โครงการนี้ทำปีเดียว(2551)โดยมีโรงพยาบาลนำร่อง 6 โรงพยาบาล อย่างที่ผมเอาไปบอกนักศึกษาในห้องเรียน

          การประเมินเป็นส่วนหนึ่ง จุดเล็กๆของการพัฒนาคุณภาพ ที่มีเป้าประสงค์ให้เกิดการพัฒนา โดยเริ่มจากทำจิตของคนทำงานให้เจริญขึ้น (วิวัฒน์)ได้ใจ ให้แสดงคุณค่าของตนเองออกมาเป็นผลงาน เอาผลงานดีๆมาเรียนรู้ และทำให้งานนั้นดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินก็ชื่นชมยินดี คนโรงพยาบาลก็เปรมปรีย์ในหัวใจที่ตั้งใจทำความดีต่อไป ผมก็ว่าดีนี้

          หากการประเมินแล้วคนทำงานในโรงพยาบาล ผู้คนที่ทำความดีอยู่ทุกวันจิตใจห่อเหี่ยวหมดกำลังใจ ท้อแท้ เป็นทุกข์ กังวล ผู้ประเมินที่เป็นผู้เยี่ยมสำรวจต้องเปิดใจเรียนรู้ที่จะทบทวนบทบาทของตนเองว่าไม่สามารถนำให้โรงพยาบาลมุ่งไปสู่เป้าหมายได้ เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในบทบาทผู้เยี่ยมสำรวจ พร้อมทั้งเดินข้ามแบบอย่างที่ผู้เยี่ยมหลายคนพยายามทำตามแบบของผู้เยี่ยมสำรวจท่านหนึ่งท่านใด และก็รับรู้และจดจำพร้อมทั้งนำไปปฏิบัติ และเข้าไปเยี่ยมคนโรงพยาบาล พร้อมทำให้ผู้คนในโรงพยาบาลก็มีความกังกล และความทุกข์อย่างยาวนานอย่างที่นักศึกษาได้เห็น หัวใจสำคัญตรงนี้คือ การเรียนรู้ การเรียนรู้ การเรียนรู้ ของคนทำงานในโรงพยาบาล และผู้เยี่ยมสำรวจ

          ที่จริง ที่เป็นความจริงผู้ประเมิน/ผู้เยี่ยมสำรวจต้องเข้าไปเรียนรู้ที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนโรงพยาบาลให้ได้คิดในเรื่องราวของโรงพยาบาลนั้นๆ และทำให้ดียิ่งขึ้นในเรื่องราวหลักๆโรคภัย ไข้เจ็บ ที่รวมไปถึงอุบัติการณ์ที่สำคัญที่เป็นความต้องการของผู้รับบริการ และโรงพยาบาล (ทั้งทางคลินิก และอื่นๆ) โดยใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล (บริบท) อย่างที่นักศึกษาได้เรียนในวิชาการพัฒนาคุณภาพ

(ผมยังค้างประเด็น HA เป็นเครื่องมือพัฒนาที่ฝรั่งคิดไว้ก่อน ขอตัวไปร่วมสร้างบัณฑิตของมหาวทยาลัยฯ ผ่านกิจกรรมการสอบกลางภาคก่อนนะครับ)

 

หลายคนยังเข้าใจว่า HA เป็นเครื่องมือ ที่ฝรั่งคิดขึ้นมา ความเป็นจริงนั้นเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการของการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการตามกลไกลของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม โดยเอาเรื่องคุณภาพมาเป็นตัวตั้ง และก็เน้นไปในการบริการเป็นหลักในช่วงแรกเมื่อ "หน้าไม่งอ รอไม่นาน บริการดี" เกือบ 30 ปีมาแล้ว และเอาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพเข้ามาภายหลัง ในตอนต้นเริ่มจากคุณภาพของปัจจัยนำเข้า อย่างเช่นโครงการพัฒนาระบบสาธารณสุข เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วของกระทรวงสาธารณสุข แล้วขยับมาดูเรื่องกระบวนการในเวลาต่อมา

เรื่องมาตรฐานโรงพยาบาล ผมบอกเท่าที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย จุดเริ่มต้นนั้นน่าจะมาจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทำโครงการมาตรฐานสถานพยาบาลที่เป็นสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม เมื่อทำเสร็จและนำไปใช้ก็เห็นว่าดีมีประโยขน์ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นประธานโครงการนี้ ท่านอาจารย์นายแพทย์ปัญญา สอนคม อาจารย์นยแพทย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล เป็นหลักอยู่และได้เริ่มทำมาตรฐานโรงพยาบาลร่างแรกที่เกิดจากการทบทวนมาตรฐานของอเมริกา แคนาดา เป็นต้น มาเป็นตัวแบบ พร้อมทั้งปรับให้มาเป็นมาตรฐานแบบไทยๆแล้วเสร็จประมาณปี 2539 เรียกมาตรฐานฉบับนั้นว่า "มาตรฐานโรงพยาบาล ฉบับปีกาญจนาภิเษก" โรงพยาบาลเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นโรงพยาบาลแรกที่ผ่านการรับรอง มาตรฐานมีการพัฒนามาอีกเมื่อใช้มาได้ 4-5 ปี ก็มีมาตรฉบับ "ฉบับบูรณาการ" เล่มสีเหลืองเล็กๆเหมาะการเอาไปอ่านในที่ต่างๆมี 6 หมวด 20 บท และในปัจจุบันมาตรฐานก็พัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสากลมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น NBMQA TQA หรือของประเทศไทยเรา PMQA เรื่องเหล่านี้ผมได้นำพาให้นักศึกษาได้รับรู้ไปบ้างแล้ว มาตรฐานฉบับใหม่ใช้ชื่อเป็นการเฉลิมฉลองว่า "มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพแบบเลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี" มาตรฐานนี้เราไม่ได้ไปเอาของเขามานะครับมันเป็นวิวัฒนาการของสังคมที่จะตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงาน

หัวใจสำคัญของการพัฒนาเราต้องดูตัวเอง  ดูโรงพยาบาลของเราเอง           ทำให้ดีขึ้นโดยคนของโรงพยาบาลเอง ตามบริบทของโรงพยาบาล ทำให้น่าเชื่อถือที่จะให้ประชาชนเข้ามารักษา ทำให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จริงก็ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานตรงไหน หลายโรงพยาบาลทำตามมาตรฐานครบทุกข้อ ทำตามโรงพยาบาลอื่นที่ไปดูงานมาแต่โรงพยาบาลก็ไม่มีคุณภาพ  ผมก็ฝากให้นักศึกษาที่กำลังจะเป็นบัณฑิตไว้ให้ได้คิดเท่านั้นนะครับ รีบกลับไปทำงานวิจัย / โครงการพัฒนาต่อจะดีกว่า.............

บทที่ 3 กำลังทำอยู่ มันต้องใช้เวลา กำลังเก็บข้อมูลค่ะ ช่วงนี้งานกำลังชุกยุ่งมากๆเลย เวลาเร่งรีบ รอ...รอ.....รอ...สักครู่

รายงานการฝึกงานสหกิจศึกษาทั้งหมด บทที่ 3 น่าจะเขียนง่ายที่สุด หากเป็นงานวิจัยก็ต้องยึดหลักการระเบียบวิธีวิจัยอย่างที่นักศึกษาได้เรียนผ่านมาแล้วตอนอยู่ปี 3 และหากเป็นโครงการพัฒนาก็ต้องดูว่าเราทำการพัฒนาอย่างไร เอาเฉพาะวิธีการหลักๆนะครับ ผลยังไม่ต้องซึ่งผลยังไม่ออกมาตอนนี้หรอก

เมื่อเราเอาระเบียบวิธีการวิจัยไปใช้ หรือดำเนินการตามวิธีการพัฒนา ระยะหนึ่งสก 1 เดือน แล้วก็ต้องเริ่มเก็บเกี่ยวผลงานแล้วก็เอาไปไว้ในบทที่ 4

ไม่มีอะไรใหม่เลยในเชิงกระบวนการ บริบทของโรงพยาบาลเท่านั้นที่เปลี่ยนไปเรียนรู้ เรียนรู้ และก็เรียนรู้  สู้ๆๆๆ อีก2 เดือนก็กลับมามหาวิทยาลัยฯ ของเราแล้วอาจารย์ และน้องๆ รอคอยความสำเร็จของนักศึกษาอยู่นะครับ

อาจารย์ ห่างหายจากการทำรายงานนาน

บทที่3 กำลังดำเนินการ >>> บทที่2 อาจารย์ยังไม่ดูเหรอค่ะ ส่งไปนานมากมาย

ไปไม่เป็นเลยค่ะ

ดูแล้ว ดีมากครับ ผมรู้ว่านักศึกษาใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก ปรับให้สมบูรณ์ขึ้นนะครับ

อาจารย์จะมานิเทศที่ รพ. วันที่ 26 สิงหาคม ใช่ไหมค่ะ เวลาเดิม 9.00 น. หรือต้องรอใบขอนิเทศจากอาจารย์อีกทีก่อน เพื่อจะได้นัดพี่เขาไว้

ใช่แล้วครับ วันที่ 26 สิงหาคม 2553 เวลา 9.00 น เป้าหมายเป็นการติดตามการทำโครงการหรือการิจัยของนักศึกษา ความคาดหวังทุกคนต้องผ่านบทที่ 3 แล้วในขณะนี้ และบางคนเริ่มเก็บผลการดำเนินงานแล้ว

หากใครยังไม่ได้ส่งบทที่ 3 ก็ต้องเร่งส่งโดยด่วน

อาจารย์ ยังงงๆกับการเขียนผลในบทที่ 3 กับการเขียนบทที่ 4 อ่ะค่ะ

เพราะว่า CQI ในขั้นที่ 7 ,8,9 ก็เปนการเขียนผลแล้ว แล้ว บทที่ 4 ผลการวิจัย สองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

ส่วนตอนนี้หนูก๊รอเก็บผลการพัฒนาอยู้อ่ะค่ะ คงได้ประมาณหลังวันที่ 20 ค่ะ

+++++++++++++++++++++++++++++++++

ช่วงก่อน JCI มาตรวจโรงบาล วุ่นมากเลยค่ะ Policy ก็ทำไม่ทันต้องมาทำงานเสา อาทิด มาตั้งแต่เช้า กลับก็ทุ่ม สองทุ่ม พี่บางคนต้องนอนที่โรงบาล นี่หรือชีวิตคนทำงาน ไม่เหมือนเรียนเลย มีไรให้ต้องรับผิดชอบมากกว่าที่คิด....................

ดีใจที่ได้อ่านข้อความ คิดถึงมากจำเพื่อนเก่าได้ไหม

อาจารย์ บทที่3 งง มากค่ะ ทำไม่ถูก

ระบบงานเดิม....ทราบค่ะ

แต่ระบบงานใหม่ หาไม่เจอ

ด้วยความพยายาม ส่งไปแล้วนะคะ

กลับมาดูโครงสร้างของรายงานก่อน จะประกอบด้วย

     บทที่ 1 บทนำ

          1.1 ความสำคัญของการศึกษา

          1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา

          1.3 ขอบเขตในการศึกษา

          1.4 วิธีการศึกษา

     บทที่ 2  แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

     บทที่ 3  การศึกษาและการวิเคราะห์

     บทที่ 4  สรุป อภิปรายและเสนอแนะ

     บรรณานุกรม

     ภาคผนวก

 "งงๆกับการเขียนผลในบทที่ 3 กับการเขียนบทที่ 4" ในบทที่ 3 บอกให้รู้ว่าเราศึกษาแล้วมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างไร เราต้องศึกษา วิเคราะห์กระบวนการทำงาน หรือ RCA หรือวิเคราะห์หาสาเหตุของเรื่องที่เราต้องการปรับปรุง บ้างครั้งผมก็บอกว่าเดิมเขาทำกันอย่างไร ปัจจุบันมีการปรับระบบงานตรงใดบ้าง ในขั้นตอนการทำ CQI กับบทที่ 4 นักศึกษาทำอย่างที่เราเข้าใจ คือผลที่ออกมาเกิดจากการปรับเปลี่ยนระบบ ในบทที่ 3

การสื่อสารอย่างนี้บางที่ก็มีข้อจำกัด โทรมาคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษานะครับ

คุณอัญชลี ครับพออายุมากขึ้นความจดจำมันหายไปมากเลย

ขอโทษนะครับ ดีใจที่แวะมาทักทายกันขยายความอีกหน่อยผมจะได้จำได้

หรือ โทร 089-927-9028

...บางครั้งเราก็ไปยึดหลักการอะไรมากเกินไป แต่บ้างครั้งเราก็ทำอะไรแบบขาดกฎเกณฑ์ หาความพอดีโดยใช้สติ คิดตรึกตรอง หรือใคร่ครวญ เกิดปัญญาที่มีฐานมาจากความรู้ที่เป็นสัจธรรม.....

...และลงมือทำ ตามแนวทางที่ทุกคนได้กำหนดขึ้นเอง อย่างเสียเวลากับการคิดว่าใช่หรือไม่ ของมอบคาถาเมื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จ 3 คำ ได้แก่ ลงมือทำ อย่างมีสติ โดยใช้ปัญญา......

ป๊าดดดดดดด อาจารย์คะ

สติสตังไม่ค่อยจะมี แล้วปัญญาจะเกิดไหม

ยึดหลักการ ขาดกฎเกณฑ์ ไม่ดีสักอย่าง???

ส่งบทที่3-4 บางส่วนให้แล้วค่ะ ตามคำเรียกร้อง

ดีมากเลยครับ หากเรารู้ว่ามันไม่สติ เราก็ต้องฝึกสติของเราอย่างที่ได้เคยนำพาให้นักศึกษาได้เรียนรู้

เรื่องที่ส่งเข้ามารออีก 2-3 วันนะครับ

ขณะนี้ผมอยู่ที่หาดใหญ่ สงขลา มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการนำเอาระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และคลองสำโรง ที่กำลังมีปัญหาเรื่องน้ำเสีย

ฉวีวรรณ >>>> เยี่ยมมากค่ะอาจารย์

ยังไงต่อดี

เราเดินทางใกล้ถึงจุดเป้าหมายแล้ว ทุกคนอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลงาน รวบรวมผลงาน ช่วง 3 อาทิตย์สุดท้ายเอามาเขียนให้เป็นเรื่องราว และนำเสนอโรงพยาบาล  ที่สำคัญเมื่อนำเสนอให้นำเสนอ 2-3 ประเด็น คือ โอกาสพัฒนาที่นักศึกษาไปพบคืออะไร (อ้างหลักฐานเชิงประจักษ์ ผมมักเรียกตรงนี้ว่าความจริง)  ประเด็นที่ 2 กระบวนการทำงานเดิมของโรงพยาบาลเป็นอย่างไร และนักศึกษาได้ช่วยปรับไปอย่างไรบ้าง ตรงนี้ที่เราเคยเรียนรู้ว่าเราต้องอาศัยหลักการ (ไม่ใช่หลักของนักศึกษา หลัก ก. เราเรียกตรงนี้ว่าความรู้) เมื่อเราใช้หลักวิชาการแล้ว ยึดหลักการแล้วความผิดพลาดก็น้อยลง แต่ที่สำคัญต้องให้เข้ากับความเป็นตัวตนของโรงพยาบาลด้วย (บริบท) ประการสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ผลเป็นอย่างไร เป็นอย่างไร เก็บเอามาเรียนรู้นะครับ มิใช่จะสำเร็จอย่างเดี่ยวบางที่ก็ผิดพลาดและเราก็เรียนรู้กับสิ่งที่ผิดพลาด อย่างไปกังวลมากกับความผิดพลาด

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างเพียรพยายามของนักศึกษาเอามาทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีฐานจากองค์ความรู้  ตรงคือความคิดเห็น

ต้องออกไปเยี่ยมนักศึกษาที่ระยอง และชลบุรีแล้วของเดินทางก่อน

นักศึกษาทุกคนเดินทางมาถึงอาทิตย์สุดท้ายแล้ว อาทิตย์หน้านำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนา หรืองานวิจัยที่นักศึกษาได้ทำไว้พร้อมทั้งจัดทำรูปเล่มเพื่อกลับมานำเสนอให้คณาจารย์ที่สาขาวิชาอีกครั้งหนึ่ง

เก็บเอาประสบการณ์การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล การให้บริการลูกค้าผูรับบรอการ ความรู้สึกดีๆ ความประทับใจเอาไว้ในความทรงจำและเขียนเป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆเหล่านั้นเพื่อเอามาเรียนรู้ต่อไป

ขอให้ทุกคนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

พบกันที่มหาวิทยาลัยในวันที่ 20 กันยายน 2553

อาทิตย์สุดท้ายของการฝึกงานสหกิจศึกษาแล้ว เป็นสัปดาห์แห่งการชื่นชมยินดีที่เอาผลงานไม่ว่าจะเป็นผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนา หรือผลการวิจัยนำเสนอท่านผู้บริหารโรงพยาบาล และการลาอาจารย์พี่เลี้ยง พี่ๆทุกคนที่ช่วยทำให้งานของเราบรรลุความสำเร็จ

นอกจากเอกสารที่เราต้องจัดทำส่งโรงพยาบาลแล้ว ผมอยากเห็นนักศึกษาของสาขาวิชาบริหารโรงพยาบาลบันทึกเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ทั้งในเรื่องงาน ชีวิตความเป็นอยู่ตอดเวาล เกือบ 4 เดือน ที่ได้รับความเมตตาจากผู้ที่คิดดีและหวังดีต่อเราเหมือนอย่างที่นักศึกษาเคยบันทึกเรื่องราวดีๆที่หัวเฉียวฯเมื่อปีที่แล้ว มาเป็นเรื่องราวดีๆที่โรงพยาบาล...  ที่เราได้เข้าไปเรียนรู้และส่งมอบให้กับโรงพยาบาลพร้อมเอกสารโครงการ/งานวิจัดที่จะส่งให้โรงพยาบาล.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท