sakura


กฎกระทรวง ว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 ข้อที่ 1-2
 
       อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 16 วรรคสอง และ มาตรา 74 แห่ง พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
     ข้อ 1 การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แบ่งออกเป็นสามระดับ ดังนี้
(1) การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา    โดยปกติเป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุสามปีถึงหกปี     เพื่อเป็นการวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ    สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมในสังคม
(2) การศึกษาระดับประถมศึกษา      เป็นการศึกษาที่มุ่งวางรากฐาน     เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์   ทั้งในด้านคุณธรรม  จริยธรรม    ความรู้และความสามารถขั้นพื้นฐานโดยปกติใช้เวลาเรียนหกปี
(3) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
(ก) การศึกษา     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น     เป็นการศึกษา    ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ  ต่อจากระดับประถมศึกษา   เพื่อให้รู้ความต้องการ   ความสนใจ และความถนัดของตนเอง    ทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ    ตลอดจนความสามารถในการประกอบการงานและอาชีพตามควรแก่วัย โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี
(ข) การศึกษา    ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย     เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความถนัดและความสนใจ  เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพรวมทั้งการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและทักษะทางสังคมที่จำเป็น โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี
      ข้อ 2 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตาม ข้อ 1 (3) (ข) แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
(1) ประเภทสามัญศึกษา   เป็นการจัดการศึกษา   เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดความสนใจ ศักยภาพ และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
(2) ประเภทอาชีวศึกษา    เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้    และทักษะในการประกอบอาชีพให้เป็นกำลังแรงงานที่มีฝีมือ หรือศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
                                                                  ที่มา : กฎหมาย.คอม
คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 347872เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2010 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ^__^

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท