คืนต้นไม้สู่ผืนป่า คืนยางนาสู่ท้องทุ่ง


ยางนาคืนถิ่น

โครงการ คืนต้นไม้สู่ผืนป่า คืนยางนาสู่ท้องทุ่ง

ยางนา เป็นไม้ที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง เพราะเป็นที่นิยมใช้สอยกันมากในการก่อสร้างบ้านเรือน และในการทำไม้อัด รวมทั้งส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ยังให้น้ำมันยางซึ่งใช้ในการยาเรือ ทำน้ำมันทาบ้าน ตลอดจนใช้เป็นยารักษาโรค อีกทั้งต้นยางนา เป็นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมให้ชาวไทยปลูก เพราะเป็นไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายนั่นเอง

          แต่ปริมาณไม้ยางนาในปัจจุบันได้ลดน้อยลงมากจากการทำไม้ และโดยที่ไม้ยางนาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ในที่ราบริมน้ำ ซึ่งจะถูกบุกรุกแผ้วถางกลายเป็นเรือกสวนและไร่นา ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องทำการปลูกสร้างสวนป่าไม้ยางนาขึ้นทดแทนในพื้นที่ที่เหมาะสม และหาวิธีเพิ่มปริมาณไม้ยางนาในป่าธรรมชาติ ป่าสาธารณประโยชน์ และในท้องทุ่งนาให้มากขึ้น

          โรงเรียนบ้านกันตรง  ตำบลบึง  อำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  โดยผู้นำเยาวชนพลังเด็กไทยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแกนนำเข้ารับการอบรมผู้นำค่ายเยาวชน พลังเด็กไทยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม(นำร่อง)  ณ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ  จังหวัดอุบลราชธานี  เมื่อวันที่  30  มีนาคม -  3  เมษายน  2552  ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) หลังจากการอบรมสิ้นสุดแล้ว ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการจากการไปเข้าค่ายดังกล่าว เผยแพร่ให้แก่เพื่อนๆ นักเรียนในโรงเรียน และได้  ริเริ่มจัดทำโครงการ “คืนต้นไม้สู่ผืนป่า คืนยางนาสู่ท้องทุ่ง” ด้วยเห็นว่า         ในปัจจุบันไม้ยางนาเหลืออยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนและชุมชนน้อยมาก ซึ่งในสมัยก่อนพื้นที่ของชุมชนมีไม้ยางนาอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับไม้ยางนาเป็นไม้ที่ปลูกง่าย โตเร็ว และสามารถหาเมล็ดพันธุ์ได้ในท้องถิ่น  จึงได้เกิด   แนวคิดในการจัดทำโครงการ “คืนต้นไม้สู่ผืนป่า คืนยางนาสู่ท้องทุ่ง” ขึ้น 

         โดย โรงเรียนบ้านกันตรง ได้เพาะต้นยางนา เพื่อนำไปปลูกในป่าปะกัง ซึ่งเป็นป่าสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน จำนวน 80 ไร่ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าในชุมชน  อีกส่วนหนึ่ง นำไปปลูกในแปลงนาของโรงเรียน และอีกส่วนหนึ่ง แจกจ่ายให้ชาวบ้าน โดยมีข้อแม้ว่าต้องนำขยะมาแลก เพื่อนำต้นยางนาไปปลูกตามหัวไร่ปลายนาของชุมชน

        โรงเรียนบ้านกันตรง  อาจจะเป็นหน่วยงานเล็กๆ ในสังคม แต่โครงการ  ดังกล่าวข้าง จะทำให้โลกของเราเขียวขจี ชาวบ้านมีไม้ไว้ใช้ประโยชน์ในรุ่นลูกรุ่นหลาน และสุดท้าย คือ ช่วยลดภาวะโลกร้อน ได้อีกด้วย

         

คณะครู นักเรียน เก็บเมล็ดยางนา ในช่วงต้นเดือนเมษายน

        

เด็ดปีกยางนาออก เพื่อให้เมล็ดยางนางอกได้ง่ายขึ้น

        

นำเมล็ดยางนาที่เด็ดปีกเรียบร้อยแล้ว กองรวมกัน คลุมด้วยกระสอบป่าน รดน้ำทุกวัน

            

เตรียมถุงเพาะ 

        

ต้นยางนาที่งอกได้ ประมาณ 1 สัปดาห์

        

เปลี่ยนถุงเพาะต้นยางนาขนาดใหญ่ เพื่อให้ต้นยางนาสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

       

ต้นยางนาของโรงเรียนบ้านกันตรงที่เพาะได้

       

       

        

       

                 ชาวบ้านนำขยะมาแลกต้นยางนาเพื่อนำไปปลูกตามหัวไร่ปลายนาของตนเอง
คำสำคัญ (Tags): #ยางนาคืนถิ่น
หมายเลขบันทึก: 347602เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2010 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

      เป็นโครงการที่ดีมาก น่าชื่นชม  น่าดีใจ ที่ร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ส่งเสริมให้ปลูก ยางนา ที่หน้าบ้านมีต้นอายุ 100 กว่าปีเหลืออยู่ 1 ต้นค่ะ แค่ที่เชียงใหม่ก็มีอนุรักษ์ไว้มากค่ะอยู่สองฝั่งถนนเชีบงใหม่ -ลำพูน อายุมากๆทุกต้น

       

                  ต้นนี้อายุ 100 กว่าปีค่ะ

...นำขยะมาแลก ยางนา...ชื่นชอบมากเลยเจ้าค่ะ...(หากไม่มีขยะมาแลก..ถือเป็นนิมิตรที่ดี..ต่อไปแจกฟรี..เป็นการเพิ่มพูลคุณค่าต้นไม้..และต่อๆไป...ให้นำต้นไม้แดงไม้เคี่ยม ไม้มะค่า ขานาง...อีกเยอะแยะที่ศูนย์หายไปจากความทรงจำของคนไทยเพาะๆๆๆแล้วเอามาแลกกันไปปลูก...เพื่อ ตัวเองและลูกหลาน..ไม่นานเห็นกัน..ทันใช้..ได้ลูกหลาน...)...ยางนาที่ยายธีปลูกตอนอายุเกือบห้าสิบ..เดี๋ยวนี้เห็นลูกหลานยางนาแล้วเจ้าค่ะ...เส้นผ่าศูนย์กลางเกือบห้าสิบเซนต์เข้าไปแล้ว....เจ้าค่ะ

ชาวบ้านนำขยะมาแลกต้นยางนาเพื่อนำไปปลูกตามหัวไร่ปลายนาของตนเอง เป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชม และน่าขยายผลไปพื้นที่อื่นครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท