การจัดการความรู้ชาวบ้านที่ร้านน้ำชา


การเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงเรียน

“การจัดการความรู้ชาวบ้านที่ร้านน้ำชา”             ว่ากันไปแล้วการจัดการความรู้ของชาวบ้านใช่เพิ่งจะมีขึ้นในปัจจุบัน มีมานานแล้วแต่ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นการจัดการความรู้  การลงแขกถางไร่  ลงแขกดำนา  ลงแขกเกี่ยวข้าว  หรือการร่วมมือจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่น
    ร้านน้ำชาบ้านลุงแนมบ้านน้ำพุ หมู่ที่ 4 ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมืองนครศรีฯเป็นอีกที่หนึ่งที่ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่เรียนรู้  สมาชิกประมาณ 30 – 40 จะมาจิบน้ำชา กาแฟ แล้วพูดคุยเล่าประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมา หลายกิจกรรมในหมู่บ้านที่เกิดที่ร้านน้ำชาแห่งนี้  ผมเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่มีโอกาสได้ใช้ร้านน้ำชาแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรม กศน.  
    กิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต ก็เกิดขึ้นที่นี่ จากการพูดคุยการเล่าประสบการณ์ที่ได้พบเห็นจากหมู่บ้านข้างเคียง  จากการพูดคุยนี้ทำให้สมาชิกเกิดความอยากได้ อยากมี อยากทำ คืนแล้วคืนเล่า ที่เฝ้าเพียรพูดคุยแลกเปลี่ยนในที่สุดก็ตกลงร่วมกันทำ ผมซึ่งเป็นครูอาสาสมัคร กศน. ในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ก็รับปากที่จะทำสมุดเงินฝากให้กับกลุ่ม  ในครั้งแรกเริ่ม กลุ่มนี้มีสมาชิก  90  กว่าคน  ในปีต่อมา มีสมาชิก  ประมาณ 180  คน  และ ตอนนี้ มีสมาชิก ประมาณ  200กว่าคน  กลุ่มได้พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  การกู้เงินของสมาชิกจะทำในลักษณะของการนำไปประกอบอาชีพ  ซึ่งนอกจากจะกู้เป็นเงินแล้วยังสามารถกู้เป็นวัสดุได้ด้วย  
    ยังมีกิจกรรมของชาวบ้านต่างๆอีกมากมายที่เกิดขึ้นที่ร้านน้ำชาแห่งนี้ เช่นกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โอกาสหน้าจะเขียนมาเล่าใหม่นะครับ

หมายเลขบันทึก: 34753เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ร้านน้ำชาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านได้อย่างน่าสนใจครับ ที่แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านไทใหญ่ไม่มีร้านน้ำชาครับ แต่จะมาชุมนุมเป็นกลุ่มเล็กๆนั่งดื่มชากันใต้ถุนบ้านกัน ส่วนใหญ่เป็นบ้านญาติพี่น้อง มากันทุกเพศทุกวัย ที่น่าสนใจ คือเป็นการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศแห่งสันติอย่างมาก เห็นด้วยครับ ที่ครูจะเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้านในพื้นที่ร้านน้ำชาอย่างนี้ จะติดตามอ่านนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท