ความรู้มือหนึ่ง : คิดได้ไง? เล่นว่าวหน้าบ้าน (อย่าเพิ่งคิดลึก) ในพื้นที่แคบก็เล่นว่าวได้


วันนี้มาเป็นวิทยากรกระบวนการเรื่องการจัดการความรู้ กับทีม  คุณอ้อ และน้องก๊ก

ตอนเย็นให้การบ้านผู้เข้าร่วมไปค้นหา "ความรู้มือหนึ่ง"  ในรีสอร์ท  หรือบริเวณชุมชนละแวกใกล้ๆสถานที่จัด workshop  แล้วทีมวิทยากรก็ต้องออกไปมองหาเช่นกัน

โชคดีมากตอนที่เราออกไปเดินเป็นเวลาประมาณ เกือบห้าโมงเย็น  แว๊บไปเห็นลุงคนหนึ่งกำลังเล่นว่าวอยู่หน้าบ้านซึ่งมีพื้นที่แคบมากๆ  ใกล้บ้าน ใกล้สายไฟ  ใกล้ถนน  แต่สามารถนำว่าวขึ้นไปลอยลมบนได้  ทำได้อย่างน่าทึ่งมาก

ทราบนามว่าลุงชื่อ  ลุงบุญส่ง  หมู่ ๔  ตำบลคลองเขิน  อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

ลุงบุญส่งใช้ไม้ใผ่ลำยาว ๒ ท่อนมัดต่อกัน  และนำไปมัดติดกับต้นมะพร้าวหน้าบ้านสูง กว่ายอดมะพร้าวประมาณ ๓-๔ เมตรเห็นจะได้    และบริเวณลำต้นมีเหล็กปักติดบริเวณลำต้น  เพื่อใช้ขัดไม้ใผ่ไม่ให้หมุน  ที่ปลายไม้ใผ่ติดห่วงเหล็ก  เพื่อนำเชือกว่าวสอดไว้  ปลายเชือกผูกขวดหนักๆถ่วงเอาไว้  ไม่ให้เชือกว่าวหลุดออกมา 

ลุงบุญส่ง สาธิตวิธีเอาว่าวจุฬาขึ้นท้องฟ้าให้เราดูขณะนั้นเลย  ลุงไปหยิบว่าวจุฬาตัวขนาดกลาง  และเปลี่ยนเชือกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  ผูกติดกับสายคันธงที่ติดกับตัวว่าว  จากนั้นลุงก็ดึงเชือกคล้ายกับดึงรอก   ว่าวก็ถูกดึงขึ้นไปที่ปลายไม้ใผ่   ลุงบอกเคล็ดลับว่า  ระดับความสูงที่มีลมส่งดีๆ  คือ  ต้องสูงกว่ายอดมะพร้าว  เมื่อว่าวถูกดึงขึ้นและปะทะกับลมในระดับความสูงที่มีลม   มันก็จะเริ่มส่ายไปส่ายมา  ลุงบุญส่งก็จะคอยบังคับเชือกดูว่าอยู่ในระยะที่ปลอดภัยจากหลังคาบ้าน  สายไฟ  เสาโทรทัศน์  และเมื่อตัวว่าวถูกแรงลมดึง  ลุงก็จะปล่อยเชือกให้ยาวขึ้น   ว่าวก็จะเริ่มขึ้นสูงขึ้น  ปล่อยเชือกไปจนว่าวขึ้นสูงจนติดลมบน   ลุงบอกว่า  ที่นี่เขาเรียกว่า  "แพ้ว"  คือว่าวไม่ตกแล้วมีลมพัดตลอด

ปกติผมจะเห็นคนเล่นว่าวในพื้นที่กว้างๆ  พอที่จะวิ่งดึงว่าวให้ขึ้นสูงและปล่อยเชือกยาวๆ ได้  แต่วันนี้ทึ่งไอเดียลุงบุญส่งจริงๆครับ  คิดได้ไง!

เราคุยกับลุงไป สัมภาษณ์ลุงไปเรื่อยๆ  ถ่ายรูป และบันทึก clip VDO เอาไว้  แต่ตอนนี้ลองดูภาพไปก่อนนะครับ  

ตอนนี้ upload clip VDO สั้นๆ มาให้ดูด้วยนะครับ  click ที่นี่ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 346869เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2010 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ อาจารย์

พอลล่ามาเรียนรู้ ความรู้มือหนึ่งที่ถูกถ่ายทอดมาเป็นอย่างดีค่ะ อิอิ

ยังไม่ได้คิด..ก็มาชวนคิด..

กีฬาพื้นบ้าน เราสอนทำว่าวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท