Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

การที่พวกเราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสมาพบกัน

และเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานร่วมกัน

เราเข้ามาประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสงบทางจิต

และความสงบทางกาย

ซึ่งการปฏิบัติธรรมในหลักสูตรนี้เป็นการปฏิบัติธรรมแบบสติปัฏฐาน ๔ แบบละเอียด 

บางคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย ก่อนอื่นอาตมาขอชี้แจงรายละเอียดในเบื้องต้นก่อนที่จะปฏิบัติในเรื่องการเดินจงกรมและการทำสมาธิภาวนา

จึงเริ่มต้นจากการอุ่นเครื่องเล็กๆน้อยๆ เป็นลำดับถึงขยับขึ้นไปสู่ความละเอียดของอินทรีย์มากขึ้นทีละนิดทีละนิด

แต่ไม่ต้องกังวลใจ  บางคนยังไม่ได้เริ่มสตาร์ทเครื่องออกจากเส้นชัยก็กลับบ้านไปก่อนเสียแล้ว เพราะว่าเขาเตรียมใจมาน้อย พอมาฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ จึงบอกว่าผมทำไม่ไหว เพราะทำแล้วมันเครียด ขอกลับบ้านก่อนดีกว่า

หากเขาเป็นอย่างนี้ก็น่าเห็นใจ เพราะสภาวจิตนั้น ถ้าไม่รู้จักมันจริงๆ มันก็เป็นนายขับเคลื่อนกายของเราออกจากสถานที่ปฏิบัติ  พอปฏิบัติไป นักปฏิบัติบอกว่ามีญาณพิเศษเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นอย่างไรนั่นคือการหอบเสื่อและหอบหมอนกลับบ้าน ซึ่งญาณพิเศษเป็นเรื่องปกติ

 

หากเราเข้าใจเรื่องของจิตแล้ว เราจะปฏิบัติแบบไหนหรืออย่างไรก็ได้ เพราะในหลักความจริง สภาวะการปฏิบัติธรรมนั้นการปฏิบัติธรรมแบบสติปัฏฐาน ๔ แบบละเอียด บางการบรรลุธรรมเป็นการบรรลุธรรมทางจิตใจ ซึ่งวิธีการปฏิบัติธรรมต้องมีรูปแบบ แต่การบรรลุธรรมไม่มีรูปแบบ

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อน

เปรียบเหมือนกับกายและใจ กายก็เป็นรูป ใจที่ไปรู้ก็เป็นนาม

เขาเรียกว่า รู้รูปนาม

หากเข้าใจหลายๆ อย่าง เราก็ไม่เครียดและไม่วิตกกังวล แต่ส่วนใหญ่มักจะวิตกกังวลใจเกินไปก็ได้

 

สมถะและวิปัสสนาต้องอาศัยซึ่งกันและกัน 

         

วิธีการปฏิบัติมีหลายอย่าง โดยปกติแล้วในทุกที่ทุกสำนักทุกสภาวะ ที่มีการปฏิบัติธรรมต้องมีการอาศัยกันทั้ง ๒ อย่าง คือ  สมถกรรมฐานและ วิปัสสนากรรมฐาน  เราต้องเข้าใจความหมายในเบื้องต้น  กล่าวคือ

 

สมถะ  หมายถึง การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ

 

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม 

 

ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง อุบายหรือวิธีที่ทำให้เกิดการเห็นแจ้ง 

โดยวิธีการปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีนี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เหมือนร่างกายกับจิตใจอาศัยซึ่งกันและกันอยู่

เพราะว่าผู้ปฏิบัติธรรมมีใจสงบหรือจิตสงบ  โดยที่เราเพ่งภาวนาอยู่ที่เดียวตรงนั้ นคือสมถะ

แต่เมื่อเรามีสติปัญญาดูรู้เห็นอยู่ตลอดตรงนั้นเป็นวิปัสสนา ง่ายๆ แค่นี้เอง เพียงแต่ความเข้าใจของเรานั้นไม่ถ่องแท้

พออารมณ์สมถะเกิดขึ้น รู้สึกสบายใจ ก็นั่งได้นาน

แต่พออารมณ์วิปัสสนาเกิดปัญญาให้พิจารณา เรากลับทนไม่ได้

เรียกว่ามันฟุ้ง เพราะเรารู้ไม่ทันมัน จึงทำให้ทรมาน

กายเป็นทุกขเวทนาทั้งภายในและภายนอก

เราต้องรู้ว่าการที่มาภาวนานี้ เพื่อค้นหาอะไร

เรามาค้นหาพระพุทธเจ้าองค์จริง คือองค์ที่อยู่ภายใน

การที่เราเป็นชาวพุทธนั้น  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นพระพุทธเจ้าที่อยู่ภายในเท่าไรนัก

เราเห็นกันแต่พระพุทธเจ้าภายนอก ในคัมภีร์ตามหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า  

ริยัติ คือ  การศึกษาเล่าเรียนหลักการพระอภิธรรมต่างๆให้เข้าใจ  

ส่วนการปฏิบัติ  คือวิธีการทดลองปฏิบัติด้วยตัวเอง ด้วยการเข้ามาสัมผัส การลงมือกระทำให้เกิดความชำนาญ

เมื่อทำบ่อยๆ เรียกว่าภาวนา

การภาวนาบ่อยๆ เรียกว่าเจริญ

ถ้าเจริญบ่อยๆ เรียกว่า  สติมา อาตาปี สัมปชาโน

ก็คือการทำบ่อยๆ จนสติขยับเข้ามาแก่กล้าขึ้นมาจนเกิดความชำนาญ

เขาเรียกว่าทำแล้วมันเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ฉะนั้น  การที่ท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามาตรงนี้

เรามาแต่เบื้องต้น ถ้าจะกล่าวเป็นหลักของปริยัติ

เพราะว่าอารมณ์ของสมถะและวิปัสสนามันแตกต่างกัน

มันแยกกันนิดเดียว สมถะมีอารมณ์ทั้ง๔๐ ประการ ไล่ไปตั้งแต่การพิจารณา

กสิณ ๑๐

อสุภะ ๑๐

อนุสติ ๑๐ 

อัปปมัญญา ๔

อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑

จตุธาตุววัฏฐาน ๑

อรูป ๔  

สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าอาการของสภาวะอารมณ์ทางสมถะ

ขึ้นอยู่กับใครชอบแบบไหน แต่ในที่นี้มุ่งเน้นให้ปฏิบัติแบบวิปัสสนาล้วนๆ

บางครั้งบางหลักสูตรจะมีปฏิบัติอย่างละเอียดยิบ

แต่หลักสูตรนี้เคร่งหรือไม่ ผู้ปฏิบัติอย่าเคร่งเครียด

ต้องทำให้ใจสบาย ทำให้กายสบาย อยู่ตรงกลางๆ

เพราะสิ่งใดที่มันเคร่ง มันเครียด มันจะทนไม่ได้

ตรงนั้นเรียกว่าทุกข์เกิด ซึ่งอารมณ์ของวิปัสสนามี ๓๗ ประการ

เรียกว่า วิปัสสนา

หากจะถามว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เราก็ไม่ต้องทำอย่างไรหรอก

 

เพียงแต่พิจารณาดูที่กาย คือ  การเคลื่อนไหวของกาย

 

เพียงแต่พิจารณาดูจิต  คือ การเคลื่อนไหวของจิต

 

การผัสสะของจิตว่าชอบหรือชัง ชอบหรือไม่ชอบ

ตรงนี้เป็นจุดสำคัญเป็นบทพิสูจน์

และเป็นข้อสอบที่จะกระทำกัน

 

จิตท่องเที่ยวอยู่ในคูหา

 

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราก็มาพิสูจน์ด้วยวิธีการดังนี้ คือ

การเดิน การยืน การนั่ง การนอน เรียกว่า  อิริยาบถ

ถ้าหากอิริยาบถย่อย ยืน เดิน  นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด

คิด เหยียดแขนไป คู้แขนเข้า เหยียดขาไป

คู้ขาเข้า มองซ้าย แลขวา

มองหน้า มองหลัง มองสูง มองต่ำ มองใบไม้  มองดูไฟ

กระพริบตา อ้าปาก

กิริยาอาการเหล่านี้มีสติเป็นที่ตั้ง หากไม่มีสติเรียกว่าใจลอย

คือจิตมันลอย ถามว่ามันลอยอย่างไร

จิตมันไม่ลอยหรอก แต่ความรู้สึกนึกคิดมันลอยไปที่อื่น

ความรู้สึกมันแยกไปก่อนที่เราจะกำหนดได้ทัน

พอสติกำหนดไม่ทัน จิตมันลอยออกจากกายไป

 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สรีรญฺชีวิตํ จิตฺตํ, เสยฺยํ ชีวิตํ จิตฺตํ

จิตท่องเที่ยวอยู่ในคูหา

 

คูหาก็คือถ้ำ ถ้ำนี้มีช่อง มีประตู มีหน้าต่าง

ซึ่งโดยธรรมชาติมี ๙ ช่องบ้าง ๖ ช่องบ้าง ๑๒ ช่องบ้าง

อันนี้คือถ้ำ ถามว่าใครสร้างไว้

คำตอบ คือ ธรรมชาติสร้างไว้

ซึ่งร่างกายของเราเปรียบเสมือนคูหา  คือ  

ถ้ำ จิตของเราจะท่องเที่ยว มันจะไปมองหน้าต่างบานโน้นบ้าง บานนี้บ้าง ประตูตรงนี้บ้าง

เพราะอะไร เพราะจิตเปรียบเหมือนเด็ก 

หรือบางครั้งท่านว่า จิตของเราเปรียบเหมือนลิง

ดังนั้น  เราจะทำอย่างไร จึงให้ลิงมันเชื่อง ให้ลิงมันหยุดนิ่งได้  

ถ้าอยากให้ลิงมันหยุดนิ่ง ก็ต้องมีเชือกผูกไว้ มีเชือกผูกคอไว้

วิธีการที่จะทำให้จิตหยุดนิ่ง เราจะทำอย่างไร

เราก็ต้องมีองค์ภาวนา องค์ภาวนาในที่นี้เราใช้คำว่า

พองหนอ ยุบหนอ

มันพองตรงไหน พองตรงหัว พองตรงคอ พองตรงท้อง หรือพองตรงก้น

อันนี้คนที่เคยปฏิบัติแล้วจะเข้าใจ

 

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 346820เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2010 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ  กำลังสงสัยอยู่พอดี

ตอนนี้คงต้องฝึก  การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ  ให้มาก  ให้ไม่ฟุ้งค่ะ

เพราะมันฟุ้งจัง มันไหล  ตามทันบ้าง  ไม่ทันบ้าง....

ขอบคุณมากค่ะ ^_^

  • แวะมาอ่านความรู้ธรรมะ
  • บุญรักษาครับ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านค่ะ

เพื่อเพิ่มพูนความรู้

ขอบคุณค่ะ

สันติ สันติ สันติ

ขอบคุณค่ะ

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านนะคะ

หวาดดีคับ

แวะมาอ่านธรรมมะ

เพื่อเพิ่มความรู้จ้า

และฝึกจิตให้สงบด้วยคับ

สาธุ...

ธรรมะ มาตรงเวลา

เป้นบุญของผมจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท