Needs for Cultural Knowledge of International Program Students at Ed. Hub, Hatyairatprachasun School(4)


ความรู้ด้านวัฒนธรรมที่จำเป็นสำหรับนักเรียน โปรแกรมนานาชาติ ในโครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา: โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำโครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้มีนโยบายให้โรงเรียนที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษรวมทั้งหลักสูตรปกติมีการพัฒนาสู่ระดับนานาชาติ

โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ เป็น 1 ใน 14 โรงเรียนทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่ามีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Education Hub) ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จึงเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่จะนำร่องในโครงการดังกล่าว เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนในภาคใต้ของประเทศไทย

โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์จึงต้องจัดการศึกษาแบบนานาชาติ ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน เนื่องจากภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษานานาชาติและเป็นภาษากลางที่ผู้คนจากทั่วโลกใช้ในการสื่อสารกัน หน้าที่พื้นฐานอย่างหนึ่งของภาษาอังกฤษคือ สามารถทำให้ผู้ได้แสดงความคิดเห็นและสามารถสื่อสารถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลและวัฒนธรรมของตนเองกับผู้อื่นได้

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม การเรียนรู้วัฒนธรรมจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนต้องใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ การเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดั้งนั้นความรู้ในด้านเนื้อหาทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเองจึงมีความสำคัญและเป็นคลังข้อมูลพื้นฐานในการใช้แลกเปลี่ยนและสื่อสารกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมของตนเองเป็นภาษาอังกฤษด้วยแล้วก็จะทำให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดและสื่อสารวัฒนธรรมของตนเองเป็นภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ด้าน คือ ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communications) ภาษาและวัฒนธรรม (Cultures) ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระอื่น (Connections) และภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก (Communities) โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

ในการจัดหลักสูตรนานาชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรายวิชาที่มุ่งเน้นการสอนวัฒนธรรม เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในประเทศไทย ฉะนั้นเนื้อหาด้านวัฒนธรรมไทยจึงมีความจำเป็นเพื่อให้นักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติได้เรียนรู้และสามารถปรับตัวได้อย่างกลมกลืน จากนั้นจึงค่อยศึกษาวัฒนธรรมอื่น

สำหรับนักเรียนไทยหากไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตนเองอย่างชัดแจ้ง ก็จะไม่สามารถอธิบายแก่ชาวต่างชาติได้อย่างถูกต้องหรือไม่อาจคาดหวังให้เขาเข้าใจได้ ปัญหาคือยังไม่มีข้อมูลว่าวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่ต้องสอน นักเรียนไทยมีความรู้ด้านวัฒนธรรมพอหรือยัง มากน้อยแค่ไหนและเนื้อหาด้านวัฒนธรรมด้านใหนบ้างที่นักเรียนจำเป็นจะต้องรู้ ทั้งในด้านเนื้อหาและภาษาที่ใช้สื่อเรื่องราวด้านวัฒนธรรม

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าแนวทางหนึ่งที่จะได้มาซึ่งหัวข้อด้านวัฒนธรรมไทยที่ความจำเป็น คือการศึกษาและสำรวจความรู้ด้านวัฒนธรรมที่จำเป็น เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างรายวิชาความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยต่อไป

 

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

 

เพื่อรวบรวมข้อมูลความจำเป็นและความต้องการความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยเพื่อเป็นฐานในการสร้างรายวิชาความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทย สำหรับนักเรียนโปรแกรมนานาชาติ ในสามด้าน ดังนี้

  1. เพื่อศึกษาว่าความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่จำเป็นสำหรับนักเรียนโปรแกรมนานาชาติ

  2. เพื่อศึกษาว่าความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่นักเรียนต้องการและเป็นที่สนใจของนักเรียนไทย

  3. เพื่อศึกษาว่าความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่จำเป็นสำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

     

 

คำถามการวิจัย

 

  1. ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่จำเป็นสำหรับนักเรียนโปรแกรมนานาชาติ

  2. ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยด้านใดบ้างที่นักเรียนต้องการและเป็นที่สนใจของนักเรียน



นิยามศัพท์เฉพาะ

 

ความรู้ด้านวัฒนธรรม ความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยที่จำเป็นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำเป็นจะต้องเรียนรู้โดยเฉพาะนักเรียนในหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตร Mini English Program(MEP) ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ

 

โปรแกรมนานาชาติ เป็นโปรแกรมการศึกษาของโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ตามโครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)

 

โครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา จัดทำโดยด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

  1. เป็นฐานในการสร้างรายวิชาความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยสำหรับนักเรียนโปรแกรมนานาชาติ และหลักสูตร Mini English Program (MEP)โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

  2. เป็นกรอบความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยที่จำเป็นสำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติ ให้คนไทยและคนต่างชาติสามารถใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างกลมกลืน

  3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้วิจัยและผู้มีส่วนรับผิดชอบ สามารถปรับปรุงแก้ไข สอดแทรกเนื้อหาด้านวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนให้มากที่สุด



วรรณกรรม/เอกสารงานวิจัย/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

1. โครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3. หลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

4. วัฒนธรรมกับการเรียนรู้ภาษา

5. หัวข้อวัฒนธรรมที่ควรสอนแก่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศ

6. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

1. โครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)

 

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำโครงการพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้มีนโยบายให้โรงเรียนที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษรวมทั้งหลักสูตรปกติมีการพัฒนาสู่ระดับนานาชาติ อันได้แก่โรงเรียนที่กำหนดให้มีการสอนภาษาต่างประเทศที่หลากหลาย ตามความต้องการของผู้เรียน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษญี่ปุ่น และภาษามลายู รวมทั้งโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่อยู่ติดชายแดนที่มีศักยภาพสามารถรองรับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาได้

โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ เป็น 1 ใน 14 โรงเรียนทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่ามีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Education Hub) ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จึงเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่จะนำร่องในโครงการดังกล่าว เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนในภาคใต้ของประเทศไทย

 

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้
การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต

ภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภาษาอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

  • ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม

  • ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม

  • ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

  • ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

 

3. หลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์



1. หลักสูตร International Programme (IP)

หลักสูตรมัธยมศึกษานานาชาติแบบบูรณาการ โดยอาศัยโครงร่างหลักสูตรของประเทศอังกฤษ (Cambridge) ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ หลักสูตร International Baccalaureate(IB) นำมาผสมผสานและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย สภาพท้องถิ่นและวัฒนธรรมทางภาคใต้ ที่ใช้ภาษามลายู

2. ชื่อหลักสูตร Hatyairatprachasun International Programme”



3.ระดับชั้นที่เปิดเรียน Year 7 - Year 9

อายุตามชั้นเรียน

Lower SecondaryAgeYear 711-12Year 812-13Year 913-14

4. ระบบภาคเรียน

ภาคเรียนที่ 1 15 สิงหาคม – 14 ธันวาคม

ปิดภาคเรียนที่ 1 15 ธันวาคม - 14 มกราคม

ภาคเรียนที่ 2 15 มกราคม – 14 มิถุนายน

ปิดภาคเรียนที่ 2 15 มิถุนายน – 14 สิงหาคม

 

 

 

5. โครงสร้างหลักสูตร (เช่นวิชาที่เรียนในแต่ละชั้นปี)

 

Tentative Course Structure for Year 7-9

SubjectsYear 7Year 8Year 9

Semester1Semester2Semester1Semester2

Semester1

Semester2

Core Subjects

4

4

4

 

 

2

2

2

2

1

1

2

2

4

4

4

1

 

2

2

2

2

1

1

2

2

4

4

4

1

 

2

2

2

2

1

1

2

2

4

4

4

1

 

2

2

2

2

1

1

2

2

English

Math

Science

Thai/Thai culture

Elective Subjects

Arts

Music

Social study

Computer study

Health

Physical Education

Work Education

ASEAN Language

 

4

4

4

 

 

2

2

2

1

1

2

2

2

 

4

4

4

1

 

2

2

2

2

1

1

2

2

Total25252525

25

25

Tentative Schedule of School Day

TimePeriodActivities08.15-09.00HomeroomCounselling/Guidance etc.09.00-10.00110.00-11.00211.00-01.00BreakLunch Time01.00-02.00302.00-03.00403.00-04.005Extra-Curricular Activities

 

4. วัฒนธรรมกับการเรียนรู้ภาษา

 

แมกคี (Mckey. 2002) กล่าวว่าลักษณะเฉพาะของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศคือ 1. ในฐานะภาษานานาชาติ การใช้ภาษาอังกฤษนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่แต่เฉพาะวัฒนธรรมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่งเท่านั้น 2. หน้าที่พื้นฐานอย่างหนึ่งของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ คือต้องทำให้ผู้พูดสามารถแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดเห็นกันได้

 

ธนานันท์ ตรงดีและคณะ (2548) แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมมีมาช้านานแล้ว จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังของกลุ่มนักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยายุโรปตะวันตก ไทเลอร์ ได้บัญญัติศัพท์ว่า culture และได้ให้คำอธิบายความหมายไว้ว่า Culture : the complex whole…acquired by man as a member of society แปลว่า สิ่งทั้งปวงซึ่งสับซ้อน ประกอบด้วย ความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ คุณธรรม กฎหมาย ธรรมเนียมประเพณี และสมรรถภาพด้านอื่นๆ รวมทั้งนิสัยต่างๆ ที่มนุษย์ได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคม

 

สุพรรณี ปิ่นมณี (2549) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชาติต่างๆ ได้ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศในส่วนต่าง ๆ ของโลกย่อมมีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความคิด การกระทำต่างๆ เช่น การกิน การนอน การปฏิบัติตัวในกาลเทศะต่าง ๆ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรม ปัญหาความไม่ลงรอยกันระหว่างชนชาติจะเกิดขึ้นง่ายๆ หากผู้คนไม่พยายามศึกษา หรือทำความเข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่น เมื่อต้องพบปะติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนในชาตินั้นๆ

งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยยังมีน้อย เด็กไทยยังขาดความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและไม่สามารถถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษได้ งานวิจัยชิ้นนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นฐานในการสร้างรายวิชา Thai Culture Course สำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนหรือชาวต่างชาติได้เรียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย

 

 

แมกคี (Mckey. 2002) ได้แบ่งเนื้อหาด้านวัฒนธรรมของเป็น 3 ส่วนคือ

  1. Target culture materials วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

  2. Source culture material วัฒนธรรมของผู้เรียน

  3. International target culture materials วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก



 

สรญี วงศ์เบี้ยสัจจ์ (2537) การศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและสถาบันอังกฤษและอเมริกา/แคนาดา ได้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของหลักสูตรสำหรับโรงเรียนในทวีปยุโรป และอเมริกาเนื้อมานานแล้ว บางครั้งอาจแฝงอยู่ในรูปแบบกระบวนวิชา เช่น วิชา Civilisation ในประเทศฝรั่งเศส และวิชา civilt ในประเทศอิตาลี กระบวนวิชาเหล่านี้เน้นศึกษาทั้งองค์ประกอบต่างๆ ในวัฒนธรรมอังกฤษและอเมริกา เนื้อหาวิชาวัฒนธรรมศึกษาในปัจจุบันขยายขอบข่ายกว้างขึ้น การศึกษาวัฒนธรรมแบบ “ว ตัวใหญ่” (คือวัฒนธรรมเชิงอารยธรรม) การศึกษาวัฒนธรรมแบบ “ว ตัวเล็ก” (คือวัฒนธรรมเชิงวิถีชีวิตของผู้คน)

กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม Cultural Awareness ที่จะนำมาใช้วัดความรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียน ได้แบ่งกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมออกเป็น 7 ตอนดังนี้

 

  1. เข้าใจภาพลักษณ์และสัญลักษณ์เชิงวัฒนธรรม (Recognizing cultural images and symbols)

  2. สำรวจวัสดุเชิงวัฒนธรรม (Working with cultural products)

  3. ศึกษาแบบแผนความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน (Examining patterns of everyday life)

  4. ศึกษาแบบแผนปฏิบัติทางวัฒนธรรม (Examining cultural behaviour)

  5. ศึกษารูปแบบการสื่อสาร (Examining patterns of communication)

  6. สำรวจค่านิยมและทัศนคติ (Exploring values and attitudes)

  7. สำรวจและสร้างเสริมประสบการณ์เชิงวัฒนธรรม (Exploring and extending Cultural experrinces)

 

วอลเลซ (Wallace. 1970) ให้คำจำกัดความวัฒนธรรมว่า วัฒนธรรมคือผลรวมของระบบความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม กฏหมาย ประเพณี ตลอดจนความสามารถและอุปนิสัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นสมาชิกของสังคมในทางสังคมศาสตร์

 

บราวน์ (Brown. 1980: 122) ภาษากับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ผสมผสานกลมกลืนเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่นจนแยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสองอย่างจะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยคงความสำคัญของกันและกันไว้ เพราะภาษาเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมในขณะเดียวกันก็เป็นสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ทางวัฒนธรรม

 

ครีมซ์ (Kramsch. 1993) เห็นว่าเนื้อหาวัฒนธรรมในการสอนภาษานั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้โดยเฉพาะ 1. สร้างบรรยาการของวัฒนธรรมนานาชาติ เพราะการเรียนรู้วัฒนธรรมนั้นไม่ใช่แค่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางวัฒนธรรมกันเท่านั้น

 

คอร์ทาซีและจิน (Cortazzi and Jin 1999) ได้แบ่งเนื้อหาด้านวัฒนธรรมที่ใช้สอน ได้เป็น 3 แบบ

'sourse culture materials' เนื้อหาด้านวัฒนธรรมของตัวผู้เรียนเอง 'target culture materials' วัฒนธรรมของประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ 'international target culture materials' วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

 

  1. หัวข้อวัฒนธรรมที่ควรสอนแก่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศ

 

จากหนังสือกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์ (2537) เนื้อหาวิชาวัฒนธรรมศึกษาในปัจจุบันขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้น การศึกษาวัฒนธรรมแบบ “ว ตัวใหญ่” (คือวัฒนธรรมเชิงอารยธรรม) ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่การศึกษาวัฒนธรรมแบบ “ว ตัวเล็ก” (คือวัฒนธรรมเชิงวิธีชีวิตของผู้คน) ได้ขยายขอบเขตครอบคลุมถึงความเชื่อและมุมมองที่ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรม โดยเฉพาะที่สื่อผ่านภาษา แต่ก็รวมถึงที่สื่อผ่านแบบแผนประพฤติปฏิบัติที่มีผลต่อการยอมรับในหมู่ผู้คนในประเทศเจ้าของวัฒนธรรมด้วย

 

จากงานวิจัยของ สำรวย วงศ์มุณีวร (2542) หัวข้อด้านวัฒนธรรม ที่ครูผู้สอนควรจะแนะนำให้ผู้เรียนรู้จัก และอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจเพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่าง ๆ และของชนชาติเจ้าของภาษา ซึ่งได้แก่

 

  1.  
    1. หัวข้อเกี่ยวกับสังคม ได้แก่ การบริการแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ,ความสัมพันธ์ทางสังคม, ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อย่อยๆ คือ การกล่าวคำอำลาและทักทาย, วันหยุด, การติดต่อสื่อสาร, ธุรกิจ, อาหาร, เสื้อผ้า, การขนส่ง, การศาล, แบบแผนการปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ, การจัดเครื่องอุปโภคบริโภค

 

  1.  
    1. หัวข้อเกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่

โอกาสในการศึกษาต่อ

คุณสมบัติของผู้เรียนในการศึกษาขั้นสูง

ทุน

การฝึกงาน

ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และแหล่งความรู้อื่นๆ

 

  1.  
    1. หัวข้อเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำภายหลังจบการศึกษา ได้แก่

คุณสมบัติของผู้สมัคร

วิธีหางาน

การเขียนใบสมัครงาน

การดำรงรักษางานของตน

กฎหมายแรงงาน ภาษี เงินบำนาญ สิทธิและความรับผิดชอบ

 

  1.  
    1. หัวข้อเกี่ยวกับกิจกรรมยามว่าง ได้แก่

สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน

งานอดิเรก

งานฝีมือ การเต้นรำ กีฬา

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

กีฬาที่มีชื่อเสียงในชุมชน

ชุมนุมต่างๆ ในโรงเรียน

 

  1.  
    1. หัวข้อเกี่ยวกับค่านิยมทางศีลธรรม ได้แก่

เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

สิทธิและความรับผิดชอบส่วนบุคคล

สถานที่ทางศาสนา

 

  1.  
    1. หัวข้อเบ็ดเตล็ด ได้แก่

การแสดงออกเกี่ยวกับเวลา

เดือนและวันต่างๆ ในสัปดาห์

อากาศและความปลอดภัย

ฤดูกาล

มาตราชั่ง ตวง วัด

เงินตรา

รูปแบบพฤติกรรมที่สุภาพ

กล่าวโดยสรุป พื้นฐานวัฒนธรรมไทย ควรจะมีซึ่งมีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนไทย  ความคิด  ค่านิยมและศิลปะ  แบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมไทย

 

  1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

4.1 งานวิจัยในประเทศ

 

เมธนี อารยะสกุล (2538) ศึกษาความต้องการในด้านเนื้อหาวัฒนธรรมอังกฤษของนิสิตปริญญาตรี พบว่านิสิตมีความต้องการเนื้อหาวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสถานที่สำคัญทางการท่องเที่ยว รองลงมาคือเนื้อหาเกี่ยวกับการสมัครงาน และการกรอกใบสมัคร

 

นิสากร จารุมณี (2549) ศึกษาความคาดหวังในการเรียนภาษาอังกฤษกับประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในด้านเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษและเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา พบว่าระดับความคาดหวังของนักศึกษาสูงกว่าประสบการจริง นั้นแสดงให้เห็นว่าควรแทรกเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและวัฒนธรรมไทยในเนื้อหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน

 

วาลี ขันธุวาร (2007) ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางวัฒนธรรมไทยกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ของนักศึกษาชาวต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาวัฒนธรรมเฉพาะวัฒนธรรมไทยในด้านวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยและการรับประทานอาหารตลอดจนกริยามารยาท และการแต่งการของคนไทย ผลการวิจัยพบว่าความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศคือเมื่อมีความรู้ทางวัฒนธรรมไทยมากขึ้นจะมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยสูงขึ้นตามไปด้วย

 

4.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

 

ในงานวิจัยของ Bilal Genc and Erdogan Bada ได้ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการเรียนวัฒนธรรม ผลของการศึกษาพบว่าการเรียนวัฒนธรรมนั้นมีนัยสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางภาษา การกระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และได้รับประโยชน์ในด้านการสอนภาษา



วิธีดำเนินการวิจัย

 

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

  1. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ หลักสูตรพิเศษ Mini English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทย จำนวน 10 คน ครูชาวต่างประเทศ จำนวน 5 คน

  2. เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งถามเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการเนื้อหาในด้านวัฒนธรรมไทย และแบบสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก

ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสำรวจรายการ (Checklist) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการในด้านวัฒนธรรมไทย

ซึ่งกำหนดระดับของคะแนน 5 ระดับดังนี้

5 หมายถึง ระดับมากที่สุด

4 หมายถึง ระดับมาก

3 หมายถึง ระดับปานกลาง

2 หมายถึง ระดับน้อย

1 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด

  1.  
    1.  
      1. การสร้างเครื่องมือวิจัย มีดังนี้

2.1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในด้านวัฒนธรรมไทย

2.2 กำหนดหัวข้อวัฒนธรรมไทย จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สอบถามและสัมภาษณ์จากครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษ ครูชาวต่างประเทศและนักเรียน

2.3 นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้องของภาษา

2.4 ปรับปรุงแบบสอบถามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ

2.5 นำแบบสอบถามที่ปรับแก้แล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม

2.6 ทำแบบสอบถามฉบับจริง

  1. การเก็บรวมข้อมูล

  • แจกแบบสอบถามและนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์

  • สัมภาษณ์ครูชาวไทย ครูชาวต่างประเทศ และซุ่มสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก

  1. การวิเคราะข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่และหาค่าร้อยละของคำตอบที่ได้จากคำถามแบบเลือกตอบ และสรุปคำตอบให้เป็นหมวดหมู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

หมายเลขบันทึก: 346410เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2010 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 05:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท