แนวทางการพัฒนางานฝึกอบรมของสำนักฝึกอบรม


พัฒนาการฝึกอบรม
แนวทางการพัฒนางานฝึกอบรมของสำนักฝึกอบรม                                                                             นายทันดร  ธนะกูลบริภัณฑ์   *บทนำ                การแข่งขันในการเป็นหน่วยงานที่เป็นเลิศนั้น สิ่งที่ต้องนำมาคิด นำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการนั้นต้องมีการใช้วิทยาการบวกประสบการณ์รวมทั้งคิดถึงอนาคตหรือแนวโน้มที่น่าจะเป็นเพราะปัจจุบันในการทำงานนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามกระบวนการที่ไม่แน่นอน (Chaos) ทุกวินาที ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มของการเป็นบริโภคนิยม นั่นหมายถึงการยอมเป็นหนี้เป็นสินเพื่ออยู่ในสังคมอย่างมีหน้ามีตา                ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้คือความรู้ของบุคลากร หรือความรู้ที่มีอยู่ในสมองที่เก็บมาจากการเรียนในศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีการศึกษากันตามมหาวิทยาลัย หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากหนังสือ วารสาร Internet แล้วนำมาเป็นความรู้ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงาน เป็นทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ แต่แล้วเมื่อปฏิบัติไประยะหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงขององค์การ การเติบโตขึ้น โครงสร้างการบริหารจัดการ ทำให้คนต้องมีการพัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด คือพัฒนาไปรวดเร็วอย่างไม่อาจคาดได้ดังนั้นคนส่วนหนึ่งจึงไปศึกษาต่อภาคพิเศษ เรียนนอกเวลาในภาคค่ำที่หลายๆมหาวิทยาลัยเปิดสอน การเรียนทางไกล    การเรียนผ่านจาก Internet ก็แล้วแต่ใครจะถนัดและมีทุนทรัพย์หรือเวลาช่วงใดว่างหรือปลีกไปศึกษาได้ตามแต่ที่จะใฝ่หาความรู้ที่ต้องการมาใส่ตัว                ในการพัฒนาคนนั้น การฝึกอบรมเป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นระบบ รวมยอดหรือมีเวลาระยะสั้นที่ให้สาระมากและตรงกับความต้องการเฉพาะด้าน เฉพาะเรื่อง เน้นที่คนทำงานแล้วในสายงานนั้น ๆ แล้วมาเพิ่มพูนความรู้ให้นำไปใช้ได้มากขึ้น จากที่รู้แล้วก็ให้รู้จริงที่รู้จริงก็ให้  รู้แจ้งนำไปใช้งานได้ดียิ่งขึ้น จึงเกิดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เรียกว่า สำนักฝึกอบรม และมีหลากหลายชื่อแล้วแต่ใครจะเป็นผู้ตั้ง   ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยก็จะชื่อตรงๆว่าสำนักฝึกอบรม    สำนักเสริมศึกษา สำนักพัฒนามนุษย์ ฯ  เป็นต้นซึ่งที่ระบุชัดว่าเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาคน เพิ่มคุณภาพการทำงานที่เป็นสิ่งที่ตรงกับงานที่ปฏิบัตินั้น ๆ อยู่โดยมีการจัดหลักสูตรที่หลากหลาย                สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจัดตั้งมา เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการดำเนินการในสภาวะที่มีการแข่งขันเป็นอย่างสูงมากกันทั้งทางภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินการด้านด้านการฝึกอบรม                 กิจกรรมด้านฝึกอบรม ที่ดำเนินการกัน อยู่นั้น  มีการจัดหลักสูตรระยะสั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีระยะเวลาในการจัดประมาณ 1- 5 วัน ในหลักสูตรปกติ หลักสูตร In house ที่ไปจัดให้ตามความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ กำลังเป็นที่นิยมสูงขึ้น เพราะเป็นการยกระดับความรู้ความเข้าใจพร้อมกันทั้งระบบ จะทำให้เกิดการประสาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน  เป็นการพัฒนาที่ได้ผลมากกว่าการส่งไปอบรมทีละคนสองคน  และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ที่ต้องอบรมอีกด้วยเพราะจัดในที่ๆหน่วยงานนั้นรับผิดชอบเอง                ปัจจุบันพบว่าไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการที่เป็นมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งในระบบและนอกระบบ เกือบทุกสถาบัน บริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ ต่างก็มีการดำเนินงานด้านการฝึกอบรม ดังนั้นการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาพัฒนางานหรือแนวทางการพัฒนางานด้านฝึกอบรม จึงจำเป็นต้องมีวิธีการที่หลากหลายนำมาใช้   ที่จะนำมาใช้ประกอบการดำเนินการ เช่น         -    การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการเปิดหลักสูตร-          การประชาสัมพันธ์ก่อนการดำเนินการเปิดอบรม-          การบริการที่เป็นเลิศระหว่างการอบรม-          การติดตามผลการอบรมประเมินความสำเร็จของหลักสูตร-      การแจ้งข้อมูลใหม่ ๆ ในวิชาการนั้น ที่ได้อบรมไปแล้ว-          การจัดส่งของขวัญและ ข้อมูลให้ผู้ผ่านการอบรมแล้วจากหัวข้อต่าง  ๆ ที่พอจัดเป็นแนวทางพัฒนาจากการเสนอจึงขอนำเสนอรายละเอียด ดังนี้1.การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการเปิดหลักสูตร                การที่จะเปิดหลักสูตรใดก็ตามมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่าถ้าเปิดแล้วจะมีคนสนใจมาเข้ารับการฝึกอบรมหรือไม่  เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจ หรือแม้ยังไม่เห็นความสำคัญในขณะนี้แต่ในอนาคตจะเป็นเรื่องที่มีคนต้องมาเข้ารับการอบรมเช่นเป็นเรื่องใหม่ๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยงานหรือเป็นข้อกำหนดที่ผู้ทำงานนั้นต้องรู้หรือต้องมีใบรับรองการผ่านการฝึกอบรม การดูแลคนชรา  การให้ความรู้แก่แม่บ้าน  เป็นต้น2.  การประชาสัมพันธ์ก่อนการดำเนินการเปิดอบรม     วิธีการการประชาสัมพันธ์ก่อนการดำเนินการเปิดรับสมัครการฝึกอบรมที่ประหยัดที่สุดนั้นคือการส่งขึ้นบน Internet  ที่ใช้คำนำค้นเรื่องว่า ฝึกอบรม/ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ อบรมระยะสั้น  /สัมมนา ที่ Search engine เช่น Google (ไทย)จะค้นพบได้ทันที นับได้ว่าเป็นการพัฒนาเนื้อหา รูปแบบ มีการตกแต่งให้มีข้อมูลภายใน 1 หน้า สามารถพิมพ์ออกไปดูได้ ไม่เติมสีสัน เป็นเพราะคนพิมพ์จะมีความรู้สึกว่าแพง สำหรับเครื่องพิมพ์สี และเปลี่ยนหมึกสำหรับ Laser ชื่อเรื่องก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เป็นคำค้นได้ถ้าไม่ยาวมากนัก                3.  การบริการที่เป็นเลิศระหว่างการอบรม              ความประทับใจตั้งแต่พบกับเจ้าหน้าที่ การต้อนรับที่อบอุ่น เป็นกันเอง เป็นมิตรยิ้มละไม  สถานที่อำนวยความสะดวกให้  แสงสว่าง  บรรยากาศ  การพูดจาของผู้ต้อนรับ  ป้ายชื่อบอกทาง  ป้ายชื่อ แฟ้ม ปากกา ดินสอ สมุด  เอกสารประกอบ หลากหลายสิ่งที่เตรียมพร้อมไว้ ให้ผู้เข้ารับการอบรมแทบไม่ต้องถามเพิ่มเติมก็สามารถดำเนินกิจกรรมของเขาได้ก่อนการฝึกอบรม                      ในระหว่างการฝึกอบรมนั้น แสงสว่าง การจัดโต๊ะ  เก้าอี้ อุณหภูมิของอากาศที่มักเปิดครื่องปรับอากาศจนเย็นเกินความต้องการ ต้องมีการดูแลปรับให้เหมาะสม        อุปกรณ์เครื่องใช้ของวิทยากร เสียงจากไมโครโฟนที่ไม่หอนเวลาพูด  ที่วิทยากรใช้มี ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมครบถ้วน เช่น ห้องพัก  อาหาร ห้องน้ำ กิจกรรมจะมีอะไรในช่วงใดโดยประมาณ ที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องทราบ เส้นทางการคมนาคม แหล่งพักผ่อนระหว่างการพักการอบรม เหล่านี้จะเป็นจุดเสริมความประทับใจให้แก่ผู้เข้าอบรมได้4.  การติดตามผลการอบรมประเมินความสำเร็จของหลักสูตรลูกค้าหรือผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้วเปรียบเสมือนหนึ่งทูตสวรรค์หรือกระบอกเสียงที่สำคัญของสำนักหรือหน่วยที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมที่จะไปทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ที่กระจายไปแบบคนสู่คน ปากต่อปาก ที่ดีกว่าการประชาสัมพันธ์ประเภทอื่น ๆ เพราะมีผู้รับรองผลคือผู้พูดหรือเป็นตัวชี้แนะเปรียบเทียบให้เห็นว่างานที่ไป อบรมมาหรือวิชาการที่รับไปนั้น จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหรือไม่ ความประทับใจจากผลงานของหน่วยงานที่ทำหน้าที่อบรม ดังนั้นผู้ผ่านการอบรมนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ นำไปสู่การเพิ่มหรือลดจำนวนผู้อบรมได้ชนิดที่หากมีความเข้าใจผิดแล้วแก้ยาก                เมื่อใดก็ตามหากได้รับความประทับใจกลับไป การร้องขอให้ไปช่วยประชาสัมพันธ์ ในสิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ได้เห็นได้รับ    สิ่งที่เขาควรได้รับเมื่อครบหลักสูตรที่มาอบรมเข้าแล้วควรมีดังนี้กระเป๋าใส่เอกสารที่ในกระเป๋ามีสิ่งต่างๆต่อไปนี้      1.  เอกสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรต่าง ๆทุกประเภทของหน่วยงาน      2.  เอกสารแนะนำหน่วยงาน/แนะแนวการศึกษา      3 . ไปรษณียบัตรจ่าหน้าถึงสำนัก ให้แจ้งข้อมูลเมื่อมีการย้ายที่อยู่ สำหรับจัดส่ง   เอกสารต่าง ๆ ให้ หากมีการเปลี่ยนที่อยู่                  4 . เอกสารการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับหัวหน้างานต้นสังกัดประเมินผลการทำงานหลังอบรม   5 . หนังสือ /CD รุ่นที่มีเพื่อนร่วมรุ่นและสรุปสาระสำคัญของหลักสูตรนั้น   เพื่อเสริมความรู้และการประสานเพื่อนร่วมรุ่น  6.  เอกสาร สื่อ ประกอบการฝึกอบรมที่น่าอ่าน  นำไปเผยแพร่ได้ 5.   การแจ้งข้อมูลใหม่ ๆ ในวิชาการนั้น ที่ได้อบรมไปแล้วโดยที่วิทยาการความรู้ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาใช้ได้ไม่นานก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ดังนั้นวิทยาการใหม่ ๆ ผู้ที่อบรมไปแล้วก็มีความต้องได้รับเพิ่มเติม ซึ่งในกระบวนการนี้ ควรมีการดำเนินการดังนี้5.1    จัดเอกสารสรุปเพิ่มเติม ภายใน 6 เดือน หลังฝึกอบรม5.2     แจ้งเรื่องหลักสูตรที่เทียบเคียงหรือสูงกว่าให้รับทราบ5.3      จัดส่งข้อแนะนำเสนอแนะแนวทางการทำงานใหม่             6.    การจัดส่งของขวัญและ ข้อมูลให้ผู้ผ่านการอบรมแล้วธรรมชาติของทุกคนย่อมเป็นฝ่ายที่ป็นผู้รับเสมอ ๆ ดังนั้นการให้จึงเป็น สิ่งผูกใจได้อีกทางหนึ่ง  สำนักต้องจัดงบจัดทำของที่ระลึกที่เป็นของสำนักเอง   ที่มีสัญลักษณ์ มีข้อความเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้รับเห็นแล้วระลึกถึงสำนัก  เช่น ไม้บรรทัด  สมุดพกจดบันทึก  ปฏิทินเล็ก-พก   ให้  อย่างน้อยก็เป็น สคส. ปีใหม่  ส่งพร้อมข้อมูลการอบรมใหม่ ๆ แปลก    แตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ  เป็นการประชาสัมพันธ์ที่คุ้มค่าซึ่งจะมีผลได้ทั้งน้ำใจและการที่ผู้ที่จะกลับเข้ามาเป็นลูกค้าอีกครั้ง            การพัฒนาหลักสูตร                       เป็นที่ทราบกันว่าถ้าพูดถึงทฤษฎีความพึงพอใจ ก็ต้องเป็นของ MOSLOW และความต้องการของคนนั้นไม่มีที่สิ้นสุด หลักสูตรการฝึกบรมก็เช่นกัน ปกติเมื่อเกิดปัญหาการลดลงของผู้เข้าอบรม ต้องมาวิเคราะห์ปัญหาที่เรียกว่า SWOT ว่าจุดอ่อน จุดแข็ง ของหลักสูตรนั้น ๆ คืออะไร ตลาดการฝึกอบรม การแข่งขันของภายนอก อะไรเป็น ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น ฯลฯ                แต่ที่สำคัญที่สุดหลักสูตรนั้นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งทั้งกลวิธี  ความรู้  เอกสารประกอบมิใช่เปิดมา หลายๆครั้งหลายรุ่น  ก็ยังเป็นเช่นเดิม เพราะโลกของความรู้ มีพัฒนาการไปไม่หยุด วิธีการทำงานมีการปรับเปลี่ยน   การอบรมก็ต้องให้ความรู้ที่ใหม่ๆตลอด เวลา  วิธีการที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าอบรมมีหลายวิธีที่จะทำให้หลักสูตรเป็นที่น่าสนใจ1.       ปรับปรุงหลักสูตร ในการดำเนินการนั้นหากชื่อไม่ติดตลาดก็ต้องปรับแก้-          ชื่อต้องเปลี่ยนให้ดูน่าสนใจ-          หัวข้อการบรรยายเปลี่ยน   วิธีการ-          วิทยากรเปลี่ยน  ตามเหมาะสม        จัดเป็นหลักสูตร 2-3 ระดับ เป็นขั้นต้น  กลาง  สูง และเป็นหลักสูตรที่เป็นความต้องการของตลาดหรือหน่วยงานที่เห็นว่าส่งคนอบรมแล้วได้ประโยชน์ คุ้มกับการลงทุนเพราะทุกคน (หน่วยงาน) ก็หวังกำไรเช่นกัน                ชื่อหลักสูตรหากค้นจาก Web site ต่าง ๆ แล้วพบว่าจะใช้ชื่อซ้ำ ๆ กันเป็นส่วนใหญ่ หากหาคำดี ๆ สะดุดตา เตะหัวใจ ใครก็ต้องการ ยกตัวอย่าง หลักสูตรยอดนิยม การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม เปลี่ยนเป็น หนังสือราชการกับการปฏิบัติ งานสารบรรณ    เทคนิคการจัดการฝึกอบรม เปลี่ยนเป็น อบรมอย่างไรจึงจะสำเร็จเห็นผล      คิดอย่างไรให้เป็นระบบ  ปรับเป็น ระบบการคิดที่พัฒนาความรู้    หลักสูตรยอดนิยม การจัดการความรู้   จัด 3 ระดับได้               นี่ก็เป็นแนวทางการที่จะปรับราคาค่าอบรมให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน                2.   วิทยากร                    วิทยากรควรเป็นใคร ข้อเสนอนี้เป็นเรื่องที่ยากที่จะทำแต่ถ้าทำได้ก็สร้างชื่อเสียงให้กับสำนักก้าวสู่ความเป็นสากลได้เช่นกัน-          คนที่มาบรรยาย ต้อง/ควรเป็นคนแต่งตำราในวิชานั้นๆ  เป็นGURU จริงๆ-          วิทยากรจากสาขาวิชาของ มสธ. จาก  อาจารย์   ผศ. รศ.   ศ.   ที่มีอยู่กว่า 250  คน ต้องมีดีกันหลากหลาย  จัดทำเป็นข้อกำหนด หรือการผูกพันในระบบของ มสธ. ที่อาจารย์ที่มีเวลาว่างจากงานงานกันแล้ว เมื่อเขียนชุดจบ มาเป็นวิทยากร กันคนละ 2 3 หัวข้อตามความถนัด ซึ่งจะเป็นข้อผูกพันกับการเพิ่มจำนวนวิทยาการ ที่มีอยู่และขอเน้นให้ทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่การติวเข้ม แต่เป็นการเสริมวิชาการในสาขาที่เหมือนเรียนสรุปย่อเพื่อการสอบกับ มสธ. นั่นก็คือการสอนเสริม ที่จ่ายเงินจัดโดยสำนักการศึกษาต่อเนื่อง ทบทวนกับสภาวิชาการ เพื่อหาทางดำเนินการ การจ่ายค่าตอบแทนชม.ละ 2,000 5 ,000 บาท หากเป็นเจ้าของตำรา ซึ่งเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสภาพการดำเนินการในการทำงานนั้นผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ไม่ควรที่จะไปทำหน้าที่วิทยากร ทั้งบรรยาย หรือกลุ่มสัมพันธ์ ควรไปทำหน้าที่กำกับดูแล รังสรรค์งาน พัฒนางาน หาวิธีการที่เหมาะสม แปลกใหม่     ติดต่อวิทยากร สถานที่/อำนวยการ ประสานงานจะเหมาะสมกว่า                       ถ้าจะทำงานด้านการฝึกอบรม In-house ให้ได้ดี การไปขอเสนองาน หรือที่บอกว่าการไปเสนอตัวรับงานนั้น ควรมีการจัดหลักสูตรเป็นชุด ๆ เพื่อสะดวกต่อการเลือก หรือเป็นกลุ่มของงาน                กลุ่มอบรมที่จัดเป็นประเภทต่าง ๆ 1.    กลุ่มพัฒนาภาพรวมของงาน2.       การพัฒนาวิชาเฉพาะด้าน3.       การพัฒนาเฉพาะทาง/ เฉพาะคน-   ภาพรวม เช่น หลักสูตร  นบก / นบส.    มีระยะเวลาตั้งแต่ 20 -45 วัน มีการดูงานต่างประเทศ  ค่าอบรมประมาณ 25,000  - 40,000 บาท   หากหลักสูตรดีย่อมเป็นที่น่าสนใจ                -  หลักสูตร  การพัฒนางานบริการ/ การวางแผน/ การบริหารจัดการ/ การเงิน บัญชี/ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอีกหลากหลายรูปแบบที่จัด โดยเฉพาะหลักสูตรการพัฒนาการท่องเที่ยว หรือแม้แต่หลักสูตรประเภท  ติวสอบแข่งขัน สอบบรรจุ                  แนวโน้มของหน่วยงานที่ต้องการพัฒนา คนให้รู้จักคิดเป็นใช้ความรู้ เป็นการจัดแบบทางไกลผสมทางใกล้ ซึ่งอาจจะดีกว่าการใช้เฉพาะทางใดทางหนึ่ง                                 ปัจจัยอะไรบ้างที่จะสามารถทำให้การดำเนินการสำเร็จ                 หน่วยงานที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมต้องมีบุคลากรสำคัญหลัก ๆ ที่จะสนับสนุนในการจัดกิจกรรมแนวใหม่ พร้อมทั้งเครื่องมือที่พร้อมสำหรับงานมี  คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เครื่องส่งโทรสารถ่ายเอกสารสี เครื่องสแกนคุณภาพสูง  เจ้าหน้าที่ต้องมีความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหา ตอบปัญหา  สร้าง Web page เป็นของตนเอง พร้อมรายละเอียดที่แก้ไขได้ตลอดเวลา ความพร้อมของเอกสารการฝึกอบรมที่เป็นปัจจุบัน รูปเล่มดี  สีสันสวยงาม  กระเป๋าเอกสาร  เสื้อรุ่น ทั้งเจ๊กเก็ตและโปโล ที่แสดงความภูมิใจให้แก่ผู้เข้าอบรมเมื่อมาอบรมแล้ว                 บทสรุป                ในโลกของการแข่งขัน คนในองค์กรต้องเป็น Knowledge Worker  เป็น Person Learner ตลอดเวลา ดังนั้นการฝึกอบรมคงจะได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานนั้น ๆ ไปอีกนาน เพราะนโยบายการบริหารประเทศที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา  การที่ใช้ ธรรมาภิบาลเข้ามาจับการทำงาน ราชการก็ต้องใสสะอาด   รวมทั้งการที่พระราชบัญญัติการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 11 ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่ต้องมีการพัฒนาคน  และการจัดการความรู้    ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง ความต้องการเรียนรู้ การพัฒนางาน การสรรหาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ แม้จะมีข้อมูล DATA มากมาย จะค้นหาเองได้ แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งการได้รับฟังผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญชี้แนะจะทำให้การศึกษานั้น ๆ รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้น                จึงสรุปว่าการทำงานด้านการให้บริการการฝึกอบรมนี้จะยังมีอนาคตที่แจ่มใสอยู่นานเท่านานตราบใดที่ยังมีการจัดองค์กรที่มีคนเป็นผู้ทำงาน                        
หมายเลขบันทึก: 34637เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท