เก็บตกจากอินเดียตอนที่ ๖ เห็นอนิจจัง


เก็บตกจากอินเดียตอนที่ ๖ เห็นอนิจจัง

       เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของสัตว์โลก การสูญเสียคนที่รักของครอบครัว ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงของครอบครัว

          เพื่อเป็นการระลึกกันเป็นครั้งสุดท้ายญาติพี่น้อง จำต้องมีการจัดงานศพให้อย่างยิ่งใหญ่

          การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ จึงได้พาคณะไปที่วิษณุบาท ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของศาสนาฮินดู

          วิษณุไม่ใช่เป้าหมายของการไปในครั้งนี้ เนื่องจากภายในวิษณุบาทนั้น เป็นสถานที่ศักสิทธิ์ จึงสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์เท่านั้น

          ที่ประตูทางเข้าจะมีป้ายห้ามคนที่นับถือศาสนาอื่นเข้า แต่ป้ายขนาดเล็กจึงทำให้มองไม่เห็น แม้ทางเจ้าหน้าเฝ้าประตู จะมาสอบถามว่าเป็นชาวพุทธ หรือเปล่า เมื่อรู้ว่าเป็นชาวพุทธก็อนุญาตให้เข้า แต่ไม่อยากละเมิดข้อห้ามทางศาสนาจึงได้พาคณะไปดูสิ่งที่สร้างความสลดใจ

          ด้านหลังของวิษณุบาท เป็นสถานที่เผาศพของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองพุทธคยาและใกล้เคียง

                   ผ้าห่อศพ

          เมื่อมีคนในบ้านเสียชีวิตลง ญาติพี่น้องจะใส่คานหามมายังสถานที่แห่งนี้ ผู้ทีเสียชีวิตเป็นผู้ชายจะห่อศพด้วยผ้าสีขาว ส่วนผู้หญิงจะเป็นผ้าสีสดใส

           ไม้จันทน์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพ

          วันนี้มีศพมารอเผา ๓ ศพ เป็นของผู้หญิงทั้งสิ้น  มีคนในครอบครัวเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มาร่วมพิธีศพ

              ญาติพี่น้องในครอบครัวร่ำลาผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย

          เมื่อทำพิธีกรรมตามเชื่อศพจะถูกนำขึ้นสู่กองฟืนที่เตรียมไว้ จากนั้นศพจะถูกเผา เมื่อเผาศพไหม้หมดแล้วจะมีการเก็บเถ้าถ่านไปทิ้งในแม่น้ำเนรัญชรา

                        แห่ศพไปสู่ที่เผา

 

          เพื่อให้เป็นการให้เกียรติ แก่ผู้เสียชีวิตและญาติ คณะของเราจึงไม่ถ่ายรูปพิธีกรรมการเผาศพ เพียงแค่ยืนปลงว่าชีวิตของมนุษย์ของมนุษย์ มีเพียงเท่านี้ มุ่งตักตวงผลประโยชน์ไปเพื่ออะไร สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรเลยเหมือนกับซากศพทั้งสาม ที่เขาเอามาเผาไฟและนำเถ้าถ่านไปทิ้ง

          บัดนี้คงเหลือแต่ความดีที่ลูกหลานจะได้จดจำและเล่าขาน เพียงแค่๒-๓ อายุคน ทุกสิ่งทุกอย่างก็สูญสลายไปจากโลกนี้

              อีกศพที่รอพิธีกรรมเผา

          อนิจท่านทั้งหลายอย่างมัวเมาในสิ่งกำลังเกิดขึ้นในขณะนี้เลยจงสร้างคุณงามความดี ลูกหลายภายภาคหน้าจะได้จดจำและระลึกถึงไปตลอดการ.

หมายเลขบันทึก: 346023เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2010 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ที่อินเดียนี้

ได้เห็นกันจะจะโดยเฉพาะการเผาศพ

จึงทำให้เกิดสังเวชสลดทันที

เมื่อครั้งอยู่กุสินารา

ไปป่าช้าริมแม่น้ำที่เผาศพหลายครั้วง

ไปค้นหาความจริงของใจตนเองค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่าที่ประทับใจ

สวัสดีครับ ตันติราพันธ์

เพิ่งเดินกลับทางอินเดีย ทุกอย่างยังคงประใจเช่นเดิม

ขอบคุณมากที่มาทักทายครับ

สวัสดีครับ

อนิจจัง จะๆ ชัดเจนดีนะครับ

บ้านเรา สมัยก่อน เผาศพก็เห็นกันชัด

พอมีเมรุมิดชิด ก็เลยไม่ค่อยจะได้มีโอกาสเห็น..

Ico32
สวัสดีครับธ.วั ช ชั ย
เป็นบรรยากาศที่ทำให้เห็นถึงความอนิจจังของสังขารครับ

ที่อินเดียจัดงานศพกี่วันคะ

สวัสดีครับ ปวันรัตน์ 


ปกติคนเดียจะไม่นิยมจัดงานศพเหมือนเมืองไทย  ถ้ามีคนเสียชีวิตจะนำไปเผาทันทีครับ

 

ดูวิธีเผาศพแบบอินเดียได้ที่นี่ ๐๔ แสวงบุญพุทธอินเดีย พิธีเผาศพ คลิก


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท